คำศัพท์ที่มักพบในข่าวเกี่ยวกับทองคำ
-
หน้าแรก
-
บทความ
-
บทความ คำศัพท์ที่มักพบในข่าวเกี่ยวกับทองคำ
เผยแพร่เมื่อ วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563
ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีการลงทุนจากนักลงทุนทั่วโลก และมักได้รับผลกระทบจากนโยบายเศรษฐกิจของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่นสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป รวมถึงแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ก็มีผลกระทบต่อราคาทองคำเช่นกัน ดังนั้น ข่าวสารเกี่ยวกับทองคำจึงมักพบว่ามีชื่อบุคคลสำคัญ ชื่อหน่วยงาน นโยบายและตัวเลขต่างๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจ กองทุน หรือตลาดหลักทรัพย์ประเทศต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ซึ่งหากเราทราบความหมายของคำย่อหรือคำศัพท์เหล่านี้ ก็จะทำให้เข้าใจเนื้อหาของข่าวสารได้ดียิ่งขึ้น และยังทำให้เราเข้าใจโลกของทองคำที่นับวันจะมีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจและระบบการเงินของโลกมากขึ้นได้เป็นอย่างดี
- SPDR หรือ SPDR Gold Trust เป็นกองทุนเปิดดัชนีที่จดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (Exchange Traded Fund : ETF) เป็นกองทุนที่ลงทุนในทองคำแท่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อสร้างผลตอบแทนของกองทุนหลังหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการจัดการ ให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของราคาทองคำในตลาดลอนดอน คือ London Gold PM Fix Price มีนโยบายลงทุนในทองคำแท่งโดยตรงโดยไม่มีการใช้ตราสารอนุพันธ์หรือมีการให้ยืมทองคำแท่งกับผู้ลงทุน SPDR Gold Trust มีผู้เก็บรักษาทองคำแท่งให้ ได้แก่ ธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ สหรัฐอเมริกา (HSBC Bank USA, N.A.) กองทุน SPDR Gold Trust จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ 4 แห่ง ได้แก่ นิวยอร์ก สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น กองทุน Feeder Fund หลายกองทุนในประเทศต่างๆ ก็มีนโยบายลงทุนใน SPDR Gold Trust อีกทีหนึ่ง ซึ่งรวบรวมคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนจากนักลงทุนรายย่อย หรือสถาบันในประเทศนั้นๆ มาอีกทอดหนึ่ง ระดับการถือครองทองคำที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของ SPDR Gold Trust จึงเป็นตัวสะท้อนมุมมองต่อทองคำของนักลงทุนจากทั่วโลก
- FED (Federal Reserve Bank) ธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งนายเจอโรม โพเวลล์ เป็นประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ คนปัจจุบัน เนื่องจากระบบเศรษฐกิจและการเงินของสหรัฐฯ มีขนาดใหญ่ นโยบายทางการเงินและภาษีของสหรัฐฯ จึงมีผลอย่างมากต่อตลาดเงินและตลาดทุน รวมถึงทรัพย์สินอื่นๆ ทั่วโลก ดังนั้นเราจึงมักพบชื่อของนายเจอโรม โพเวลล์ อยู่บ่อยครั้งในข่าวสารเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุน รวมถึงทองคำด้วย
- FOMC (The Federal Open Market Committee) การประชุมของ FED เกี่ยวกับทิศทางนโยบายทางการเงินระยะสั้น เช่น นโยบายดอกเบี้ยระยะสั้น ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึง ภาพรวมของเศรษฐกิจในช่วงนั้นๆ ว่ามีความแข็งแกร่งหรืออ่อนแอมากน้อยเพียงใด หรือแม้กระทั่งสะท้อนภาวะเงินเฟ้อในช่วงนั้นๆ FOMC จะมีขึ้นทุกๆ 6 สัปดาห์หรือปีละ 8 ครั้ง
- ECB (European Central Bank) ธนาคารกลางแห่งยุโรป มีประธานฯ คนปัจจุบันคือนางคริสตีน ลาการ์ด เป็นผู้กำหนดนโยบายการเงินของยุโรโซน
- BOE (Bank of England) ธนาคารกลางอังกฤษ ปัจจุบันมีนายแอนดรูว์ เบลลีย์ เป็นผู้ว่าการฯ และกำหนดนโยบายการเงินของอังกฤษ
- IMF (International Monetary Fund) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ให้ประเทศต่างๆ กู้ยืมเงิน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวและดุลยภาพของการค้าและการเงินระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีนางคริสตาลินา จอร์เจียวาเป็นผู้อำนวยการผู้อำนวยการกองทุน
เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!
Array
(
[cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV
[Secure-PHPSESSID] => jqlgkit55nmlcaq8oa7c9uoj9o
)
Array
(
[sesCAFXXSLAT] => 1732330078
[CAFXSI18NX] => th
[_csrf] => b84c2de24518b40b09e804bbf1791adf
[CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=th&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2Fvocabularygold.html
)
Array
(
[content] => vocabularygold
)
Array
(
)