บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

สงครามการค้า “สหรัฐฯ-จีน” แบบหมัดต่อหมัดพร้อมวิเคราะห์ผลกระทบ

สงครามการค้า “สหรัฐฯ-จีน” แบบหมัดต่อหมัดพร้อมวิเคราะห์ผลกระทบ

เผยแพร่เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2562


สงครามไม่เคยทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัว มีแต่ทำให้ชะลอตัวเท่านั้น เหมือนกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน “สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน” และนักวิเคราะห์หลายคนมองว่าไม่จบง่ายๆ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดมาจากคนคนเดียวคือ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เริ่มหาเสียงด้วยแคมเปญ ” America Great Again” ในการเลือกตั้งของสหรัฐฯในปี 2559  และเข้าได้ก้าวเข้ามาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯคนที่ 45

โดยวิธีที่ทรัมป์จะทำให้ America Great Again ต้องลดการขาดดุลของสหรัฐฯให้ได้ก่อน จึงก่อเกิดสงครามการค้าอย่างที่ในเห็นในปัจจุบัน ซึ่ง 5 ประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ อย่าง จีน ,เม็กซิโก ,แคนาดา ,ญี่ปุ่น ,เยอรมนี และตอนนี้สหรัฐฯได้เปิดสงครามการค้ากับประเทศเหล่านี้หมดแล้ว แต่สงครามการค้าที่รุนแรงสุดคือ การเปิดสงครามการค้ากับจีน ทำให้เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบมากที่สุด ทีนี้เราจะย้อนดูว่า หมัดแรกถึงหมัดล่าสุดระหว่างสหรัฐฯ-จีน เกิดอะไรขึ้นบ้าง และเราจะใช้เหตุการณ์ดังกล่าวเพื่อคาดการณ์แนวโน้มสงครามการค้าและนักลงทุนทองคำจะได้ปรับตัวหากสงครามการค้ารุนแรงมากขึ้น หรือ การจบสงครามการค้า จะทำให้ราคาทองคำขึ้นหรือลงจะได้ปรับตัวทัน

โดยสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน เปิดฉากในปี 2561

  • เริ่มด้วยหมัดแรกจากสหรัฐฯ ในวันที่ 6 ก.ค. 2561 สหรัฐฯประกาศเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน 25% ในสินค้า 818 รายการ มูลค่า 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ สินค้าที่โดนขึ้นภาษีเช่น เครื่องจักร ,และอุปกรณ์-ชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมพลังงาน และต้นตอของการขึ้นภาษีจีนเราคาดว่าสหรัฐฯไม่พอใจที่จีนกำลังจะก้าวมาเป็นพี่ใหญ่ทางเศรษฐกิจโลกแทนที่สหรัฐฯ เพราะจีนมีการหนุนรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลก ประกอบกับมีความก้าวหน้าเรื่องการพัฒนาเทคโลยีที่รวดเร็ว และความก้าวหน้าดังกล่าวทำให้สหรัฐฯมองว่าจีนขโมยเทคโลยีสหรัฐฯแน่นอนและทันทีที่สหรัฐฯขึ้นภาษีจีนสวนด้วยหมัดที่โต้กลับทันทีในวันเดียวกัน โดยจีนเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ 25% เช่นเดียวกับที่สหรัฐฯทำกับจีน มูลค่า 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ในสินค้า 55 รายการ ได้แก่ ผลผลิตทางการเกษตรและทะเล ,รวมถึงรถยนต์
  • ส่วนหมัดที่ 2 ของสหรัฐฯ วันที่ 10 ก.ค.เป็นหมัดหลอกโดยขู่ว่าจะเก็บภาษีเพิ่มจากจีน 10% ในสินค้า 6,000 รายการ มูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ และจีนก็สวนด้วยการขู่จะขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯ 5,207 รายการ มูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในวันที่ 3 ส.ค. 2561

หลังจากนั้นการแลกหมัดเริ่มรุนแรงมากขึ้นสหรัฐฯรู้สึกได้ว่าจีนไม่ยอมง่ายๆ สหรัฐฯจึงงัดลูกไม้เก่าโดยการขึ้นภาษีสินค้าจีน 25% ในสินค้าเกี่ยวกับ เหล็ก ,เครื่องจักรไฟฟ้า ,และชิ้นส่วนรถไฟ มูลค่า 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ในวันที่ 23 ส.ค. 2561 ขณะที่จีนสวนหมัดกลับ โดยการขึ้นภาษีสินค้า 25% มูลค่า 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ในวันเดียวกัน

จากการขึ้นภาษีมาแล้วประเทศละ 2 ครั้ง ในช่วงนี้จึงเกิดการเจรจานำโดยสหรัฐฯเชิญจีนมาเจรจาที่สหรัฐฯ พร้อมให้เงื่อนไขว่า หากเจรจากันไม่ลงตัว สหรัฐฯจะขึ้นภาษีสินค้ามูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ ในวันที่ 12 ก.ย. 2561 ซึ่งทำให้จีนมองว่าสหรัฐไม่มีความจริงใจในการเจรจาการค้า จีนจึงตอบปฏิเสธในการเจรจาการค้า ทำให้จบยกที่ 1 ไปค้างคา

ต่อกันต้นยกที่ 2 เกิดการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ-จีน เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2561 โดยทรัมป์และสีได้เจรจากันได้ข้อสรุปว่า สหรัฐฯจะเลื่อนกำหนดการขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ ในเดือน ก.พ. 2562 แทนที่จะเป็นเดือนธ.ค. 2561  และต่อด้วยการเจรจาเมื่อเดือนต้น ธ.ค.ทำให้วันที่ 14 ธ.ค. จีนเริ่มลดการป้องกันลง โดยการประกาศลดภาษีรถยนต์จากเดิม 25% ลดเหลือ 15% และซื้อถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ 1.5 ล้านต้น ทำให้บรรยากาศสงครามการค้าเบาลง จบยกที่ 2 แบบมีไมตรีระหว่างสหรัฐฯกับจีน

เริ่มต้นยกที่ 3 เกิดการเจรจาการค้าในวันที่ 7 – 9 ม.ค. 2562 แต่ไม่สามารถตกลงในประเด็นที่สหรัฐฯกล่าวหาว่าจีนจะต้องไม่ขโมยเทคโลยีสหรัฐฯ ซึ่งจีนก็บอกว่าไม่ได้ขโมย ทำให้ในยกนี้จีนต้องแก้สถานการณ์โดยยื่นไมตรีที่เสนอว่าจะซื้อถั่วเหลือง 5 ล้านต้น ในวันที่ 30 – 31 ม.ค. 2562 ทำให้สหรัฐฯพอใจและเลื่อนการเก็บภาษี 2 แสนล้านดอลลาร์ที่จะใช้ในเดือน ก.พ. เลื่อนเป็น พ.ค. แทน ระหว่างนั้นก็อยู่ระหว่างการเจรจา

เข้าถึงยกที่ 4 การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯออกหมัดแบบนับไม่ทันในปลายยก 3 เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2562 โดยประกาศว่าจะขึ้นภาษีสินค้าจีน 25% มูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ มีผลในวันที่ 10 พ.ค. 2562 และจีนออกหมัดสวนจีนประกาศขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯ 5-25% ในสินค้า 5,140 รายการ มูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์ มีผลวันที่ 1 มิ.ย. 2562

หลังจากจบยกที่ 4 ในปลายยกนั้นสหรัฐฯออกหมัดแต่ไม่แน่ใจว่าเข้าเป้าหรือไม่ แต่ในสายตาเราว่าเข้าเป้าแล้วและกำลังเริ่มยกที่ 5 ซึ่งเป็นยกนี้วันที่ 2 ส.ค. ทรัมป์ประกาศว่าจะขึ้นภาษีสินค้าจีนอีก 10% ในสินค้า 3,812 รายการ มูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์ มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ก.ย. และในช่วงปลายยกที่ 5 ในวันที่ 13 ส.ค. ทรัมป์มีอาการแปลกๆ เนื่องจากเขาประกาศว่าจะเลื่อนกำหนดการขึ้นสินค้าจีนจากเดิมจะเก็บในวันที่ 1 ก.ย. ไปเป็นสันที่ 15 ธ.ค. แทนทำเอาผู้ชมอย่างเรางงไปตามๆกัน ทำให้สงครามการค้ากลับมาเบาลงอีกครั้ง  ซึ่งเรามองว่าการชกครั้งนี้มีโอกาสไปถึงยกที่ 9(Q3/20) หรืออาจครบยกเลยก็ได้ เพราะการชกครั้งนี้สหรัฐฯเดิมพันสูง คือ ผู้นำเศรษฐกิจโลก ฉะนั้นแล้วสหรัฐฯจะชกแบบระวังมากๆ เพราะการพลาดเพียงครั้งเดียวอาจทำให้เสียแชมป์ได้ทันที

แล้วก็มาถึงหัวข้อสำคัญสงครามการค้าส่งผลอย่างไรต่อราคา Gold Spot

จากกราฟเราสังเกตได้ 3 จุด

  1. การเก็บภาษีหรือการขู่จะขึ้นภาษีระหว่างสหรัฐฯ-จีน มีโอกาสทำให้ทองคำขึ้น 100% และขึ้นเฉลี่ย 0.84%
  2. การเลื่อนเก็บภาษีระหว่างสหรัฐฯ-จีน มีความเสี่ยงทำให้ทองคำลง 75% ซึ่งลงเฉลี่ย 0.38%
  3. หากจีนมีมาตรการตอบโต้สหรัฐฯราคาทองคำขึ้นเฉลี่ย 1.19% และหากสหรัฐฯขึ้นภาษีจีน ราคาทองคำจะขึ้นเฉลี่ย 1.05% แสดงว่าการส่งสัญญาณขึ้นภาษีจากจีนมีผลกระทบที่ทำให้ราคาทองคำมากกว่าสหรัฐฯขึ้นภาษี

มาถึงคำถามสำคัญคือ แนวทางเดินเกมของสหรัฐฯและจีนเป็นอย่างไร ?

เริ่มที่สหรัฐฯมาในรูปแบบการรุกเต็มที่ มีหมัด 2 แบบ คือ

  1. หมัดแย็บซ้าย โดยการขู่จะขึ้นภาษีในหลายรูปแบบ จะคว่ำบาตรภาคเอกชนของจีน
  2. ขวาตรง ใช้การขึ้นภาษีสินค้านำเข้าเป็นหลัก
  3. หมัดหลอก คือ ทรัมป์ชอบขู่ว่าจะขึ้นภาษี

ส่วนจีนมาในรูปแบบรับรอยกที่ 10 ถึง 12 ซึ่งจีนคาดว่าสหรัฐฯจะหมดแรงจากการที่รุกมาโดยตลอด

  1. ชกรบกวน เป็นการขึ้นภาษีสินค้าของสหรัฐฯเล็กๆน้อยๆ
  2. ก้มหลบต่ำ เป็นการทำเป็นซื้อสินค้าหรือลดภาษีจากสหรัฐฯ เพื่อให้สหรัฐฯเลื่อนการขึ้นภาษี เพิ่มรอเวลาเลือกตั้งสหรัฐฯในวันที่ 3 พ.ย. 2563
  3. หมัดน็อค หากสหรัฐนพลายมาเมื่อไร จีนพร้อมที่จะเปลี่ยนเกมในทันที

จากกราฟจะสังเกตได้ว่า การลดดอกเบี้ยทำให้ Unemployment Rate ลดลงและ ดัชนี Dow Jones เพิ่มขึ้นนั่นเอง

แล้วผลลัพธ์ที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ต้องการคือ อะไร

  1. ทรัมป์พยายามบีบให้เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED)ลดดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจาก FED มีเงื่อนไขในการลดดอกเบี้ยคือ ความเสี่ยงที่กระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างสงครามการค้าแล้วเหตุใดทรัมป์จึงอยากให้ FED ลดดอกเบี้ยนักหนา เราขอตอบผ่านกราฟดอกเบี้ยนโยบายเมื่อเทียบกับ ดัชนี Dow Jones และ Unemployment Rate จะพบว่า การลดดอกเบี้ยจะทำให้ Dow Jones ปรับขึ้น และ Unemployment Rate ลดลง ตามหลักทางเศรษฐศาสตร์
  2. ทรัมป์กำลังสร้างคะแนนนิยมโดยดำเนินนโยบาย America Great Again เพราะในวันที่ 3 พ.ย. ปี 2020 จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เราอาจได้เห็นการลดดอกเบี้ย 2- 3 ครั้ง และจบสงครามการค้าก่อนเลือกตั้งสหรัฐฯ เพื่อที่ทรัมป์จะได้เคลมว่าเพราะเขาทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯแข็งแกร่งได้ขนาดนี้เลยนะ

    และจีนรับมือกับสงครามการค้าที่สหรัฐฯก่อขึ้นอย่างไร ?

    สิ่งที่จีนทำคือ พยายามให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และรอการตั้งเลือกของสหรัฐฯ ซึ่งหวังว่าทรัมป์จะไม่ได้ในสมัยที่ 2 จะได้จบสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และระหว่างที่โดนสหรัฐฯขึ้นภาษีสินค้าเข้า จีนได้ทำก็คือ การลอยค่าเงินหยวนให้อ่อนค่าแตะ 7 หยวนต่อดอลลาร์ เพื่อลดราคาสินค้าของจีนให้ถูกลงเมื่อซื้อด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

แล้วสงครามการค้ามีแนวโน้มที่จะจบอย่างไร เรามองว่าไว้ 3 แนวทาง

  1. สงครามการค้าอาจจบลงในปี 2020 เนื่องจากทรัทป์ต้องใช้ในหาเสียงเพื่อต้องประธานาธิบดีสมัยที่ 2 โดยชูความสำเร็จที่ทรัมป์สามารถทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯกลับมาเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจโลกแบบจริงๆจังๆ
  2. สงครามการค้าอาจจบหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯในปี 2020 เนื่องจากทรัมป์ไม่ได้อยู่ต่อสมัยที่สอง เพราะสอบตก และประธานาธิบดีคนใหม่อาจไม่มีความคิดที่จะใช้กำแพงภาษีต่อสินค้าจีนนั่นเอง
  3. สงครามการค้าอาจจบลงหลัง 2021 -2024 เนื่องจากทรัมป์นโยบายว่า จะมีใครสู้กับจีนได้ดีเท่าเขาอีกแล้ว ทำคล้ายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 43 นายจอร์จ วอล์กเกอร์ บุช ที่ชูนโยบายสงครามต้านก่อการร้าย เพื่อต่อต้านภัยคุกคามกันก่อนที่อเมริกาจะถูกโจมตี ซึ่งทรัมป์อาจใช้เหตุผลแนวๆนี้เพื่อขอโอกาสทำให้ America Great Again

และนี่คือ มุมมองที่เราคาดว่าสงครามการค้ามีแนวโน้มจะจบปีไหน และสุดท้ายเมื่อมีการเริ่มต้น ก็ต้องมีจุดสิ้นสุดในกรณีนี้น่าจะจบก่อนปี 2024

แหล่งข้อมูลประกอบการวิเคราะห์

https://www.bot.or.th/Thai/BOT_Magazine/Pages/Theknowledge_ARM0162.aspx

- Aspen

- bloomberg.com

- reuters.com

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!
Array
(
    [Secure-PHPSESSID] => 5nnvrn6iqpnmh3uibnh3mhq8n7
    [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1732374580
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => ccda0dae4406e322c964199f8ad391dc
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=th&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2Fusa-chinatradewarpunchtopunch.html
)
		
Array
(
    [content] => usa-chinatradewarpunchtopunch
)
		
Array
(
)