บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

BEAUTY นางฟ้าหรือนางมารร้าย?

BEAUTY นางฟ้าหรือนางมารร้าย?

เผยแพร่เมื่อ วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562


หากเรามองย้อนไปในปี พ.ศ. 2559 บริษัท บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ BEAUTY ที่ทุกคนต่างก็เรียกกันว่า เป็นหุ้นนางฟ้าในขณะนั้น ด้วยเทรนด์ดูแลตัวเองและความสวยความงามของผู้หญิงที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า BEAUTY จะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต ส่งผลให้ราคาในเดือน พ.ค. 2559 พุ่งขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว จากราคา 5.50 บาท พุ่งไปทำจุดสูงสุด ที่ราคา 23.70 บาท ในเดือน เม.ย. 2561 หากนักลงทุนที่จับเทรนด์ของ BEAUTY และถือลงทุนตั้งแต่ช่วงนั้น ท่านจะทำกำไรได้มากถึง 330% โดยใช้เวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น หากเทียบกับหุ้นที่ทำธุรกิจคล้ายกันอย่าง KAMART ที่แม้ว่าราคาปรับตัวขึ้นถึง 200% แต่ราคาไม่สามารถยืนระยะเวลาได้ยาวนานเท่ากับ BEAUTY เพราะมีการปรับตัวลงตั้งแต่ปี 2560

หลังจากนั้น เหตุการณ์ที่นักลงทุนไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น ราคาหุ้น BEAUTY ที่ทำจุดสูงสุดได้ไม่นาน มีการปรับตัวลดลงหลุดแนวรับสำคัญ 21 บาท มาปิดที่ 17.50 บาทในเดือน พ.ค. 2561 และปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงต่อเนื่อง ไฮไลท์สำคัญ คือ ราคาลงไปแตะที่ฟลอร์ (Floor) ถึง 2 ครั้ง รวมแล้วมีการปรับตัวลดลงสูงสุดถึง 72% โดยใช้เวลาเพียง 3 เดือน

ล่าสุด ราคาหุ้น BEAUTY ณ วันที่ 17 พ.ค. 2562 ปรับตัวลดลงเหลือเพียง 4.24 บาท หลังจากประกาศผลประกอบการQ1/2562 กำไรสุทธิอยู่ที่ 69 ล้านบาท ลดลง 75.37% เมื่อเทียบแบบ YoY ที่ 282 ล้านบาท และลดลง 44.28% เมื่อเทียบแบบ QoQ ที่ 123 ล้านบาท

” แล้วสาเหตุอะไรที่ทำให้ราคาหุ้น BEAUTY ปรับตัวลดลงแรง?

ถ้าถือหุ้นที่มีลักษณะเดียวกันกับ BEAUTY นักลงทุนควรรับมืออย่างไร?

เราจะมาตอบให้ชัดทุกประเด็นในบทความนี้ “

กล่าวถึงการประกอบธุรกิจ และโครงสร้างรายได้ BEAUTY กันก่อน

บริษัท บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจค้าปลีกผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและบำรุงผิวโดยจัดจำหน่ายผ่านช่องทางที่ BEAUTY ให้บริการที่โดดเด่น 3 ที่ ได้แก่ Beauty Buffett จำนวน 276 สาขา, Beauty Cottage จำนวน 80 สาขา และ Beauty Market จำนวน 7 สาขา

โครงสร้างรายได้จำแนกตามช่องทางจัดจำหน่าย (ตามรายงานประจำปี 2561)

  • รายได้จาก Beauty Buffett
  • รายได้จาก Beauty Cottage
  • รายได้จาก Beauty Market
  • รายได้จากการจำหน่ายในต่างประเทศ
  • รายได้จากแฟรนไชส์
  • รายได้จากคอนซูมเมอร์โปรดัคส์
  • รายได้จากการขายผ่าน E-Commerce

จุดเริ่มต้นสู่การเป็นนางฟ้า

การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาหุ้น BEAUTY เป็นผลมาจากรายได้ที่เติบโตต่อเนื่อง 4 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2557-2560 มีรายได้เฉลี่ย 2,346.33 ล้านบาท การเติบโตของรายได้โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 39.78% เนื่องจากหลายปัจจัยหนุน ได้แก่ กระแสผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับความสวยความงามเพิ่มขึ้นจากการที่คนส่วนใหญ่ใส่ใจในเรื่องการดูแลตัวเองมากขึ้น, การขยายสาขาและเพิ่มช่องทางจัดจำหน่าย ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) และการที่ผลิตภัณฑ์ของ BEAUTY ได้รับความสนใจจากลูกค้าชาวต่างชาติ ทั้งนักท่องเที่ยวหรือการขายส่งผ่านตัวแทนในต่างประเทศโดยเฉพาะจีน ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ทำให้นักลงทุนคาดว่า BEAUTY จะเติบโตต่อไป

นางมารร้ายแผลงฤทธิ์ 

เข้าสู่ปี 2561 รายได้ BEAUTY ยังคงเติบโตต่อเนื่อง พร้อมกับราคาหุ้นที่ทำ New High ต่อเนื่อง นักลงทุนยังคงคาดว่ารายได้และกำไรสุทธิจะเติบโตต่อไปในอนาคต แต่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น มีหลายปัจจัยที่เข้ามากดดัน BEAUTY เป็นเหตุให้กำไรสุทธิไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ ดังนี้

  1. ปัจจัยกดดันจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีการปราบปรามผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้เครื่องสำอางมากขึ้น
  2. ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของ BEAUTY เป็นที่นิยมสูงมากในหมู่นักท่องเที่ยวจีน การที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลงทำให้ปริมาณการซื้อสินค้าลดลง ส่งผลให้รายได้ Q4/2561 ลดลงกว่า 40% เมื่อเทียบกับ Q3/2561 (QoQ)
  3. ต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง อยู่ที่ 65.34% เมื่อเทียบปี 2560 ที่ 67.44% และอัตรากำไรจากการดำเนินงานลดลงอยู่ที่ 35.21% เมื่อเทียบปี 2560 ที่ 41.05%
  4. จำนวนคู่แข่งในตลาด และสินค้าทดแทน เนื่องจากร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อความสวยงามมีจำนวนมาก อีกทั้งเครื่องสำอางและครีมก็มีผลิตภัณฑ์ยี่ห้ออื่นที่ทดแทนกันได้ ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์จึงมีทางเลือกในการใช้บริการจากร้านอื่นๆและใช้ผลิตภัณฑ์อื่นแทน BEAUTY
  5. ธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วจนเข้าสู่ขั้นอิ่มตัว เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่มีผลกระทบในเชิงลบ เนื่องจากสินค้าเป็นที่นิยมในตลาดผ่านช่วงของการเติบโตไปแล้ว เมื่อวิเคราะห์จากรายได้ที่เติบโตลดลงจึงประเมินได้ว่า BEAUTY อยู่ในขั้นของการอิ่มตัว เพื่อรอการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด หากขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บริษัทก็จะเข้าสู่ขั้นถดถอยในที่สุด

ปัจจัยที่กล่าวมานี้ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้กำไรสุทธิในปี 2561 ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2560 ถึง 20% และสะท้อนไปยังราคาหุ้นอ้างอิง BEAUTY ตามที่เราได้กล่าวไปแล้วในส่วนแรกของบทความ

มองเป็นโอกาสลงทุนในฝั่ง Short

กลับมามองที่ภาพในทางเทคนิค (รายสัปดาห์ ย้อนหลังถึงปี 2558) จะเห็นว่าเทรนด์ขาขึ้นของ BEAUTY เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2559 ที่ราคาบริเวณ 5.50 บาท และขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 23.70 บาทในปี 2561 จากนั้นก็ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องหลังจากทำจุดสูงสุดได้ไม่นาน จุดเริ่มต้นเทรนด์ขาลงเริ่มจากการหลุดแนวรับสำคัญใน time–frame รายสัปดาห์ บริเวณ 21 บาท แม้ว่ามีการทดสอบบริเวณนั้นอีกครั้งก็ไม่สามารถขึ้นต่อได้ ตรงนี้เป็นโอกาสสำคัญในการสร้างกลยุทธ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงหรือเก็งกำไรฝั่ง Short สำหรับนักลงทุนที่มีหุ้นอยู่ในพอร์ทสามารถ Short BEAUTY บนกระดาน TFEX ในสัดส่วนเท่ากันกับที่ท่านถือ (1 สัญญา = 1,000 หุ้น) เพื่อป้องกันความเสี่ยงการปรับตัวลดลงจนทำให้กำไรในพอร์ทหุ้นหดหายไป หรือนักลงทุนที่ต้องการเก็งกำไร ก็สามารถเข้าสถานะ Short เนื่องจากมีพื้นที่ในปรับตัวลงได้มาก และ Stop Loss สั้น

ท่านนักลงทุนสามารถใช้กลยุทธ์นี้ได้กับหุ้นอ้างอิงที่มีลักษณะคล้ายกันกับ BEAUTY ได้แก่ มีปัจจัยลบกระทบรายได้หรือกำไรสุทธิ หรือเป็นเหตุให้พื้นฐานบริษัทเปลี่ยนแปลง ประกอบกับทางเทคนิคที่ราคามีการหลุดแนวรับสำคัญลงมา เท่านี้พอร์ทลงทุนของท่านก็จะมีการป้องกันความเสี่ยง และโอกาสในการทำกำไรได้มากขึ้น

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!
Array
(
    [Secure-PHPSESSID] => egu1jbdn80l1go7og9j79tokle
    [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1732237041
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => 392de8783d9297aac4d40501c523afaf
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=th&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2Fbeauty-angel-or-devil-woman.html
)
		
Array
(
    [content] => beauty-angel-or-devil-woman
)
		
Array
(
)