เผยแพร่เมื่อ วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2566
ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) วันที่ 2 ส.ค.66 มีมติ ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น 0.25% แตะ 2.25% สูงสุดในรอบ 9 ปี เพราะ กนง. คาดเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องและอัตราเงินเฟ้อเสี่ยงกลับมาขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น โดย
เศรษฐกิจไทย ได้แรงหนุนจากการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน แม้การส่งออกจะหดตัวในระยะสั้นจาก คำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่ชะลอตัว แต่คาดสามารถกลับมาขยายตัวได้ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ยังต้องระวังความไม่แน่นอนของการเมืองไทย
ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ขยายตัวลดลงในระยะสั้น เป็นการลดลงจากราคาพลังงานที่ปรับตัวลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อเสี่ยงกลับมาขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง จากต้นทุนราคาอาหารที่เสี่ยงปรับเพิ่มสูงขึ้น หากปรากฏการณ์เอลนีโญ รุนแรงมากขึ้น กระทบผู้ประกอบการปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการ ดันเงินเฟ้อขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ผู้ช่วยว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย แม้ส่งสัญญาณใกล้ยุติการปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่ การปรับดอกเบี้ยในการประชุม กนง. ครั้งต่อไปวันที่ 27 ก.ย.66 ยังต้องติดตามข้อมูลทางเศรษฐกิจ
ดังนั้นคำถามในบทความนี้คือ “กนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% กระทบหุ้นกลุ่มไหน”
หุ้นกระทบเชิงบวก
แน่นอน กลุ่มหุ้นที่รับผลบวกโดยตรงคงไม่พ้นกลุ่มธนาคาร แม้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มสูงขึ้น แต่ธนาคารสามารถปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ได้เช่นกัน สร้างโอกาสให้ส่วนต่างดอกเบี้ย(NIM) ของหุ้นกลุ่มธนาคารเพิ่มสูงขึ้น ส่งรายได้หุ้นกลุ่มธนาคารเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เป็นบวกต่อหุ้น BBL, KBANK, KTB, KKP, SCB, TISCO, TTB
หุ้นที่เราสนใจในฝั่งซื้อมากที่สุดคือ BBL เพราะมีการตั้งสำรองต่อหนี้เสียสูงที่สุด แตะ 287.1% และลูกหนี้เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ และลูกหนี้ส่วนใหญ่มีอสังหาฯ เป็นหลักประกันทำให้ความเสี่ยงเกิดหนี้เสี่ยต่ำ โดยกลยุทธ์การลงทุน BBLZ23 ฝั่งซื้อที่ราคา 165.50 บาท เป้าหมายที่ 172.00-182.00 บาท จุดตั้งตัดสิ้นวัน 162.00 บาท วางหลักประกันเพียง 7,945 บาทหรือ Block Trade เริ่มต้น 20 สัญญา วางหลักประกัน 158,900 บาทเท่านั้น
นอกจากหุ้นกลุ่มธนาคาร หุ้นที่จะได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ กนง. คือหุ้นกลุ่มนำเข้า ทั้งการนำเข้าวัตถุดิบและพลังงาน PTT, PTTEP, PTTGC, TOP, IVL, SPRC รวมถึงหุ้นที่มีการกู้ยืมเงินในกลุ่มเงินต่างประเทศ AAV, BA, BGRIM, RATCH, GPSC, GULF เพราะจะทำให้ต้นทุนการซื้อวัตถุดิบและต้นทุนในการชำระดอกเบี้ยลดลง จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น หลังแนวโน้มผลตอบแทนเงินฝากเพิ่มสูงขึ้น สร้างโอกาสให้เงินไหลเข้าเงินบาทมากขึ้น
หุ้นกระทบเชิงลบ
แนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่า จะกระทบความสามารถในการแข่งขันของหุ้นกลุ่มส่งออก CPF, DELTA, GFPT, HANA, KCE, STA, STGT, TKN, TU เพราะราคาสินค้าของหุ้นกลุ่มส่งออกจะสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในต่างประเทศ เสี่ยงคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง กดรายได้หุ้นกลุ่มส่งออกชะลอตัว
การที่ กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% แตะ 2.25% ทำให้ต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น สร้างความเสี่ยงให้กำไรภาคธุรกิจลดลง เป็นลบต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีก BJC, CPALL, CRC โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มลิสซิ่ง SAWAD, MTC, TIDLOR, THANI เพราะแนวโน้มดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มสูงขึ้นในอนาคตทำให้มีต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น กระทบผลการดำเนินงาน เสี่ยงปรับตัวลดลง
โดยหุ้นที่เราสนใจในฝั่งขายมากที่สุดคือ THANI เพราะรายได้กว่า 80% มาจากธุรกิจเช่าซื้อ ซึ่ง ธปท. ออกมาตรการดูแลธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งบังคับใช้วันที่ 1 ม.ค.67 เป็น Sentiment เชิงลบต่อหุ้น THANI โดยกลยุทธ์การลงทุน THANIU23 ฝั่งขายเมื่อหลุด ราคา 3.06 บาท เป้าหมาย 2.88-2.94 บาท จุดตัดใจสิ้นวัน 3.20 บาท วางหลักประกัน 280 บาท หรือ Block Trade เริ่มต้น 500 สัญญา วางหลักประกัน 140,000 บาทเท่านั้น
Array ( [Secure-PHPSESSID] => 27j5jmbj9n5vte4a6b2q52c8k1 [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732447157 [CAFXSI18NX] => th [_csrf] => ee49c01aef390c8bf6c54fc0b8752ce3 [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=th&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2Fanalyze-risinginterest-stock-2023.html )
Array ( [content] => analyze-risinginterest-stock-2023 )
Array ( )