บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

KTC หมดปัจจัยบวกจากงบ จบขาขึ้น ถึงเวลา Short หรือยัง?

KTC หมดปัจจัยบวกจากงบ จบขาขึ้น ถึงเวลา Short หรือยัง?

เผยแพร่เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564


เข้าสู่เดือนของการประกาศผลการดำเนินงานปี 2563 ที่นักลงทุนทุกคนรอคอย ด้วยสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับปี 62 นักลงทุนจึงต้องมาจับตากันว่าผลการดำเนินงาน Q4 เป็นอย่างไร และสะท้อนไปสู่ราคาหุ้นในรูปแบบไหน

อย่างกรณีของหุ้น KTC หรือ บมจ.บัตรกรุงไทย ที่ได้ประกาศผลการดำเนินงานปี 63 ไปเป็นที่เรียบร้อย และค่อนข้างเซอร์ไพรส์ตลาดพอสมควร เพราะอย่างที่เราทราบกันว่า การระบาดของโควิด-19 ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจชะลอตัวลง และน่าจะส่งผลให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมการให้บริการด้านสินเชื่อแย่ลงไปด้วย เรามาดูกันก่อนว่าผลการดำเนินงานของ KTC ปี 63 เป็นอย่างไร
KTC รายงานกำไรสุทธิปี 63 ไว้ที่ 5,332 ล้านบาท ลดลงจากปี 62 ที่มีกำไรสุทธิ 5,524 ล้านบาท หรือลดลงเพียง -3.46% เท่านั้น โดยสาเหตุของการลดลงของกำไรสุทธิหลักๆ เป็นผลกระทบจากโควิด-19 ที่ส่งผลให้การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตลดลงใน Q2/63 แล้วค่อยๆทยอยฟื้นตัว ทั้งนี้ รายได้ของ KTC ปี 63 อยู่ที่ 22,056 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 62 ที่มีรายได้ 22,625 ล้านบาท

เมื่อวิเคราะห์ลงมาในส่วนของรายได้รวมใน Q4/63 พบว่า KTC มีรายได้รวม 5,566 ล้านบาท ลดลงจาก Q4/62 ที่มีรายได้จำนวน 5,927 ล้านบาท แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ Q3/63 ที่มีรายได้รวม 5,412 ล้านบาท เท่ากับว่าแนวโน้มการดำเนินธุรกิจของ KTC เป็นไปในทิศทางฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่อง

กุญแจสำคัญอันต่อไปของ KTC คือ ผลขาดทุนด้านเครดิตหรือหนี้สูญ ที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดใน Q2 และลดลงจนถึง Q4 ทำให้ภาพรวมกำไรสุทธิเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาสของปี 63 มีทิศทางดีขึ้นต่อเนื่อง ส่วน NPL ต่อเงินให้สินเชื่ออยู่ที่ระดับ 1.8% ใน Q4 สะท้อนคุณภาพพอร์ตสินเชื่อของ KTC และการบริการลูกหนี้ที่ดี บวกกับอานิสงส์จากการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ และการผ่อนปรนการจัดชั้นลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่ให้ตกสู่ระดับ NPL จึงทำให้ภาพรวม NPL อยู่ในระดับต่ำ

ด้านกำไรสุทธิ Q4/63 KTC รายงานไว้ที่ 1,321 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ Q4/62 ที่มีกำไรสุทธิ 1,319 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ Q3/63 ที่มีกำไรสุทธิ 1,211 ล้านบาท สะท้อนการเติบโตเมื่อเทียบแบบ QoQ ได้ดี สอดคล้องกับการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจหลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19

จากตัวเลขผลการดำเนินงานดังกล่าว เราสรุปและประเมินได้ในระดับหนึ่งว่า KTC มีแนวโน้มฟื้นตัวหลังจากรับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งในส่วนของรายได้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากภาพรวมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตกลับมา ทำให้พอร์ตสินเชื่อขยายตัวขึ้นเล็กน้อย ด้านผลขาดทุนจากเครดิตที่คาดว่าจะเกิด มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจาก Q2 และ NPL ในระดับ 1.8% ซึ่งถือว่าต่ำ สะท้อนคุณภาพพอร์ตสินเชื่อและการบริหารลูกหนี้ที่มีประสิทธิภาพมาก

กลับมาที่ราคาหุ้นของ KTC จะเห็นว่า ราคาหุ้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นไปก่อนที่ผลการดำเนินงานจะประกาศออกมาในวันที่ 19 ม.ค. 64 และปรับตัวลงหลังจากนั้น คาดว่าเป็นเอฟเฟคของการ Sell on Fact หรือการเทขายเพื่อสะท้อนข้อเท็จจริง หลังจากที่ปรับตัวขึ้นไปตามคาดการณ์ผลการดำเนินงานที่ดีก่อนหน้านี้ และมีความเป็นไปได้ว่าจบขาขึ้นแล้ว เนื่องจากราคาหลุด 70 บาทลงมา

เมื่อวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิค และพบว่าราคาหุ้น KTC มีแนวโน้มเป็นขาลง เราจึงให้คำแนะนำการซื้อขาย Single Stock Futures ของ KTC ในฝั่ง Short บริเวณ 65-66 บาท มีจุด Stop Loss ที่ 68 บาท ทั้งนี้ สิ่งที่เป็นความเสี่ยงของการถือสถานะ Short ใน KTC คือ ปัจจัยบวกที่อาจเกิดขึ้นกับหุ้นกลุ่ม Finance ไม่ว่าจะเป็นนโยบายจาก ธปท. หรือภาครัฐ ซึ่งจะทำให้เกิด Sentiment เชิงบวกตามมา ดังนั้น อย่าลืมเตรียมแผนรับมือในส่วนนี้ไว้ด้วย


หมายเหตุ: ราคาหุ้น ณ วันที่ 3 ก.พ. 64

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!
Array
(
    [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV
    [Secure-PHPSESSID] => 01n7rob6kosrf4goc8ldpa9skf
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1732345255
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => e2a474e3df159d4b435e4836545f85ea
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=th&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2Fanalyze-ktc-stock-2021.html
)
		
Array
(
    [content] => analyze-ktc-stock-2021
)
		
Array
(
)