บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

ลูกไม้เดิมๆกับประเด็นยูเครน

ลูกไม้เดิมๆกับประเด็นยูเครน

เผยแพร่เมื่อ วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565


นักลงทุนกลับมากังวลประเด็นยูเครนที่มีแนวโน้มความตึงเครียดเพิ่มขึ้น เนื่องจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน เตือนว่า ตอนนี้มีความเสี่ยงสูงมากที่รัสเซียจะทำการโจมตียูเครน และสิ่งนี้จะเกิดขึ้นในอีกเพียงไม่กี่วันเพราะรัสเซียยังคงส่งกำลังทหารประชิดชายแดนยูเครน และสหรัฐฯมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าพวกเขากำลังจัดฉากเพื่อหาเหตุโจมตียูเครน 

ประเด็นที่ไบเดนกล่าวถึงการจัดฉาก คือ การเกิดเหตุการณ์ที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในยูเครนตะวันออก (ภูมิภาคดอนบัส)ที่มีรัสเซียหนุนหลัง กล่าวหาว่ากองทัพยูเครนเปิดฉากยิงในดินแดนกลุ่มของตนถึง 4 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา แต่ทางการยูเครนออกแถลงการณ์ปฏิเสธข่าวดังกล่าว

ขอขยายความเข้าใจในพื้นที่ยูเครนตะวันออก(ภูมิภาคดอนบัส) ตั้งอยู่บนพื้นที่บริเวณตะวันออกของแม่น้ำนีเปอร์ และมีพื้นที่ชายแดนติดกับรัสเซีย มีประชากรอาศัยอยู่ราว 8.8 ล้านคน  และมีอุตสาหกรรมหลัก เป็นการทำเหมือง ทั้งนี้ภูมิภาคดอนบัสสนับสนุนประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินและรัฐบาลรัสเซีย ซึ่งภูมิภาคดอนบัสมีจังหวัดที่สำคัญสองจังหวัด คือ โดเนสค์และลูฮันสค์

ถามว่า เหตุการณ์ดังกล่าวจะนำไปสู่ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น เพราะสภาผู้แทนราษฎรรัสเซีย(สภาดูมา) ได้ให้การอนุมัติก่อนหน้านี้ต่อร่างกฎหมายรับรองสถานะการเป็นรัฐอิสระของสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์-ลูฮันสก์ 

นายยาเชสลาฟ โวโลดิน ประธานสภาดูมา กล่าวว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้จะถูกส่งต่อไปยังประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินโดยทันทีเพื่อลงนามเป็นกฎหมาย ซึ่งจะเป็นการรับรองสถานะการเป็นรัฐอิสระและมีอธิปไตยของสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์-ลูฮันสก์ 

เหตุการณ์ดังกล่าวกำลังคล้ายกับ ปี 2557 ที่สาธารณรัฐไครเมียประกาศเอกราชจากประเทศยูเครน และแสวงการรับรองจากองค์การสหประชาชาติ พร้อมร้องขอเข้าร่วมกับสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งประเทศรัสเซียรับรองว่าเป็นสาธารณรัฐของรัสเซีย พร้อมนำกำลังทหารเข้าสาธารณรัฐไครเมีย ใช้เหตุผลว่าเข้ามาปกป้อง

มุมมองของเรากับประเด็นดังกล่าว

รัสเซียพยายามที่จะเพิ่มพื้นที่กันชนระหว่างรัสเซียกับนาโต้ และเพิ่มทรัพยากร ส่วนสหรัฐฯและยุโรปพยายามกำจัดพื้นที่ของรัสเซีย และเพิ่มสมาชิกนาโต้ ซึ่งวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของนาโต้คือ เพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามจากรัสเซียที่แผ่ขยายอำนาจเข้าไปในยุโรป

หากวิเคราะห์ประเด็นการลงทุน เรากำลังจะเปิดสถิติของราคาทองคำ,น้ำมัน ในช่วงปัญหาไครเมียที่เกิดขึ้นระหว่าง 1 พ.ย. 2556 – 17 มี.ค. 2557

ที่เลือกเป็นช่วงเวลานี้เนื่องจากชนวนความขัดแย้ง ระหว่างรัสเซียกับชาติตะวันตก เกิดจากการแย่งชิงอำนาจในยูเครนที่เริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2556 หลังสหภาพยุโรปและยูเครนได้ประชุมแผนรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ แต่ประธานาธิบดียูเครนอย่าง “วิกตอร์ ยากูโนวิช” ได้ปฏิเสธแผนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกับสหภาพยุโรป

ส่วนวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557 สาธารณรัฐไครเมียประกาศเอกราชจากประเทศยูเครน และแสวงการรับรองจากองค์การสหประชาชาติ พร้อมร้องขอเข้าร่วมกับสหพันธรัฐรัสเซียในวันเดียวกัน ซึ่งประเทศรัสเซียรับรองว่าเป็นสาธารณรัฐของรัสเซีย ขัดกับนานาประเทศที่ไม่เห็นด้วย

จากกราฟในช่วงเวลาดังกล่าวส่งให้ราคา Gold Spot ขึ้นมากกว่า 8% และราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 3-5% กลับในปัจจุบันราคาทองคำปรับขึ้นเพียง 2.66% เท่านั้น หากเปรียบกับรอบก่อนจะเห็นว่า มีช่องว่างให้ราคาทองคำปรับขึ้นได้อีก

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!

บทความที่เกี่ยวข้อง

Array
(
    [Secure-PHPSESSID] => 2i3hdrb2og04315p34ndr66972
    [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1732561830
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => e4ff0559b2bcff623015c148135bcfbb
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=th&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2Fanalyze-gold-2022.html
)
		
Array
(
    [content] => analyze-gold-2022
)
		
Array
(
)