บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

6 เหตุผลที่อาจส่งผลต่อราคาทองคำปี 63

6 เหตุผลที่อาจส่งผลต่อราคาทองคำปี 63

เผยแพร่เมื่อ วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2562


6 สิ่งกระทบราคาทองคำปี 63

ราคาทองคำในปี 63 มีหลากหลายประเด็นสำคัญที่กระทบราคาทองคำ โดยประเด็นใหญ่ที่สุด คือ

ประเด็นที่ 1 การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่ในปี 62 สามารถทำข้อตกลงการค้าระยะแรกในระดับรัฐมนตรี

โดยการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนระยะแรก กรอบกว้างๆ คือ สหรัฐฯตกลงกับจีนว่า จะยกเลิกการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนที่เดิมจะมีผลบังคับในวันที่ 15 ธ..ค และลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจีนวงเงิน 1.2 แสนล้านดอลลาร์

ส่วนจีนตกลงที่จะนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ มูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี และระงับแผนการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการจากสหรัฐฯ

ทำให้เราเห็นว่าสิ่งที่เหลือจากข้อตกลงระยะแรก ได้แก่

1.) ข้อตกลงเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

2.) การดูแลค่าเงินหยวน

3.) การถ่ายเทคโนโลยีจากจีนไปสหรัฐฯ

4.) สหรัฐฯจะยังคงเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 25% จากสินค้าจีนมูลค่าราว 2.5 แสนล้านดอลลาร์ต่อไป

ซึ่ง 4 สิ่งนี้อาจเป็นเงื่อนไขในเจรจาการค้าระยะที่สองระหว่างสหรัฐฯ-จีน หากเราวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการเจรจาการค้าระยะที่สองเริ่มหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ เนื่องจากหากย้อนดูการเจรจาการค้าระยะแรกที่ข้อตกลงไม่ยาก ยังใช้เวลานานถึง 18 เดือน หากการเจรจาระยะที่สองใช้เวลานานจะทำให้ทองคำบวก และทำให้ตลาดหุ้นผันผวน

 

หากวิเคราะห์ผลกระทบจากสงคราม สิ่งที่เห็นชัดสุด คือ GDP สหรัฐฯ-จีน และการเคลื่อนไหวของทองคำ

โดยกราฟที่นักลงทุนได้เห็น แสดงข้อมูลของ GDP สหรัฐฯ,จีน และราคาทองคำในช่วงระหว่างปี 2560-2562 จะได้ข้อสังเกตว่าในช่วงปี 61 การเจรจาการค้ายังไม่รุนแรงนัก ทำให้ GDP สหรัฐฯปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้ประโยชน์จากเจรจาการค้าเพราะทำให้สหรัฐฯลดการขาดดุลจากจีน โดยการขึ้นกำแพงภาษีต่อสินค้าจีนทำให้สินค้าของสหรัฐฯและจีนมีระดับราคาที่ใกล้เคียงกัน ส่งผลกระทบต่อบริษัทสหรัฐฯสามารถแข่งขันกับจีนได้อย่างสูสี นำมาสู่การลดนำเข้าสินค้าจากจีน ทำให้ส่งออกจีนลดลงแตะ GDP จีนชะลอตัว ส่งผลให้ราคาทองคำปรับลดจาก GDP สหรัฐฯขยายตัว

ขณะที่ในปี 2562 GDP ของสหรัฐฯกับจีนชะลอตัวจากที่การเจรจาการค้าไม่คืบหน้า และมีการขึ้นภาษีระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่รุนแรงมากขึ้นจากในปี 61 มาตรการภาษีมีมูลค่าเพียง หมื่นล้านดอลลาร์ แต่ในปี 62 มาตรการภาษีขึ้นไปแตะหลักแสนล้านดอลลาร์ ทำให้นักลงทุนมองทองคำเป็น Safe Haven ทองคำจึงปรับขึ้น 13.2% เพราะคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯตกต่ำ

สรุปการขึ้นกำแพงภาษีระหว่างสหรัฐฯกับจีนมีผลบวกต่อราคาทองคำหากเจรจาการค้ามีความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น และเป็นผลลบเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ-จีน

ขณะที่ประเด็นที่ 2 เศรษฐกิจโลกปี 2020 มีความเสี่ยงเหมือนปี 1930

ความเสี่ยงที่เรากล่าวถึงอ้างอิงบางบทความของคุณเรย์ ดาลิโอผู้ก่อตั้ง Bridgewater เฮดฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มองเศรษฐกิจโลกอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า “ดำดิ่ง” และต้นเหตุของคำว่า “ดำดิ่ง” เกิดจากหนี้สาธารณะของสหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากนโยบายhealth care ประกอบกับสหรัฐฯใช้มาตรการทางภาษีนำเข้าต่อนานาประเทศซึ่งสภาวะเศรษฐกิจโลกตอนนี้เหมือนปี 1930

แล้วในปี 1930 เกิดอะไรขึ้น

โดยในปี 1929-1930 เกิดวิกฤติ Depression เพราะ

1.) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเกิดฟองสบู่ และธนาคารกลางสหรัฐฯตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นแตะ 6% นับเป็นระดับที่สูง  กระทบต่อทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของโลกเป็นขาขึ้น ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มขึ้น ไม่จูงใจให้กู้ทำธุรกิจ ส่งผลต่อเม็ดเงินในการลงทุนลดลง รวมถึงอัตราการว่างงานของสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยในปี 1930 แตะ 8.7% ,ปี 1931 พุ่งสู่ระดับ 15.9%,และในปี 1932 ทะยานสู่ 23.6%

2.) มีการก่อหนี้สาธารณะของโลกเพิ่มขึ้น ทำให้ประเทศต่างๆชะลอการซื้อสินค้าและบริการ กดราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ กระทบต่อประเทศส่งออก ส่งให้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลดลง

3.) การตอบโต้ทางการค้า โดยสหรัฐฯใช้นโยบายขึ้นภาษีสินค้านำเข้าในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ ทำให้ยุโรปและประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายมีการตอบโต้โดยการใช้นโยบายกำแพงภาษีต่อสินค้าที่มาจากสหรัฐฯกระทบต่อ GDP สหรัฐฯในปี 1930 ติดลบ 8.5% สวนในปี 1931 ติดลบ 6.4% และปี 1932 ลบ 12.9%
หลังจากปี 1930ถึง ปี 1931 ดัชนี Dow Jones ปรับลงแรงโดยลบไปถึง 48%

สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจโลกตอนนี้คล้ายกับปี 1930 อย่างมาก เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯแม้ว่าจะลดดอกเบี้ยแต่ก็ยังใช้ดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นในระดับสูง ,หนี้สาธารณะของสหรัฐฯขึ้นไปแตะ 22 ล้านล้านดอลลาร์ ,ภาคการผลิตในประเทศส่งออกกำลังลดลง และสหรัฐฯใช้มาตรการภาษีสินค้านำเข้ากับนานาประเทศ จึงทำให้นักลงทุนต้องจับตาความเสี่ยงนี้ หากเกิด Depression มีโอกาสที่ราคาทองคำจะพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว และดัชนี Dow Jones มีความเสี่ยงปรับลงแรงๆ

ปัจจัยที่ 3 ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังจะถดถอยจาก 4 สัญญาณ

กล่าวได้ว่าความเสี่ยงนี้มีต้นตอมาจาก สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่เริ่มขึ้นในปี 2018 โดย 4 สิ่งที่เป็นสัญญาณความเสี่ยงได้แก่ 1.ดัชนีรายรับและรายจ่าย , 2.ดัชนีภาคการผลิต และภาคบริการโดย ISM , 3.GDP และสุดท้ายตัวที่ 4.ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดย ม.มิชิแกน ซึ่งทั้ง 4 ตัวเลขที่เรากล่าวไปแล้วจะบอกถึงความเสี่ยงอย่างไร

เริ่มที่ดัชนีรายรับและรายจ่ายของสหรัฐฯ แสดงถึงความเสี่ยงในด้านกำลังการซื้อของประชาชน เนื่องจากดัชนีรายรับมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ แต่ดัชนีรายจ่ายปรับเพิ่มขึ้น ทำให้เห็นว่ากำลังการบริโภคของประชาชนลดลงอย่างมาก เป็นผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน ทำให้ต้นทุนของผู้ผลิตเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตผลักภาระภาษีไปสู่ผู้บริโภค ราคาสินค้าในสหรัฐฯจึงเพิ่มสูงขึ้น

หลังจากกำลังการบริโภคของประชาชนสหรัฐฯ ได้ส่งผลกระทบต่อดัชนีภาคการผลิต และ.ดัชนีภาคบริการชะลอตัวตามกำลังซื้อของภาคประชาชนที่ลดลง ส่งผลต่อยอดการขายสินค้าของภาคเอกชน และเอกชนมีโอกาสชะลอการลงทุนเพิ่ม

ซึ่งตัวเลขเศรษฐกิจทั้งสองตัวแรกจึงกระทบต่อตัวเลขที่ 3 GDP โดยกำลังการบริโภคหรือที่เราเรียกว่า Consumption (C) ลดลง และการลงทุนภาคเอกชน Investment (I) มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากดัชนีภาคการผลิต และดัชนีภาคบริการ ชะลอตัวตามกำลังซื้อที่ลดลง ทำให้ GDP ลดลงหมายความว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจและมูลค่าของเศรษฐกิจของสหรัฐฯกำลังลดลง แสดงถึงความเสี่ยงในการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

และสุดท้ายดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เป็นตัวเลขจากการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภครายเดือนจัดทำโดย University of Michigan ใช้เป็นสิ่งบ่งชี้ที่สำคัญ ของสถานภาพทางการเงินของผู้บริโภค ประกอบด้วย 2 ส่วน: ความรู้สึก (ประมาณ 40% ของดัชนีทั้งหมด) และความคาดหวัง (อีก 60%) โดยสำรวจประมาณ 500 คน ซึ่งในปัจจุบันดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง ถือเป็นสัญญาณของการเจริญเติบโตที่ชะลอตัวของเศรษฐกิจนั่นเอง

โดย 4 สัญญาณความเสี่ยงของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่กำลังจะถดถอย จะมีการกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯของนักลงทุน เพราะนักลงทุนไม่อยากถือสินทรัพย์ที่มีมูลค่าลดลงเรื่อยๆ ทำให้มูลค่าลดลงอย่างรวดเร็ว และทำให้สินทรัพย์ Safe Haven อย่างทองคำมีโอกาสที่ราคาจะเพิ่มสูงขึ้น

ประเด็นที่ 4 แนวโน้มการใช้นโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED)

การใช้นโยบายทางการเงินของ FED ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยดังนี้

  • แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอ

  • หากอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น

  • อัตราเงินเฟ้อไม่ถึง 2%

  • ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่น สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ,สหรัฐฯ-ยุโรป

ซึ่งแนวโน้มการเจรจาการค้าระยะที่สองมีโอกาสยืดเยื้อ มีความเสี่ยงทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัว ทำอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น กดให้อัตราเงินเฟ้อไม่ถึง 2%และสร้างความเสี่ยงให้กับเศรษฐกิจสหรัฐฯ เราอาจได้เห็นการลดดอกเบี้ยอีก 2-3 ครั้งในปีหน้า

ทั้งนี้ FED ได้คาดการณ์ 3 อย่าง คือ

1.) GDP คาดการณ์ปี 62แตะ 2.2% ,ปี 63 ลดลงสู่ระดับ 2% ,ปี 64 ที่ 1.9% ,และปี 65 ที่ 1.8%

2.) คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 62 สู่ระดับ 1.6% ,ปี 2563 ที่ 1.9% และปี64 ที่ระดับ 2.0%

3.) คาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานปี 62 และ 63 อยู่ที่ระดับ 3.5% จนถึงปีหน้า และปี 64 เพิ่มขึ้นสู่ 3.6%

สิ่งที่ FED คาดการณ์แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และ FEDคาดว่าการเจรจาการค้าอาจไม่จบง่ายๆ

ประเด็นที่ 5 แนวโน้มที่ทรัมป์จะถูกถอดถอน

โดย Timeline การถอดถอนมีดังนี้

1.) ส.ส. ยื่นญัตติถอดถอน

2.) ส.ส.พิจารณาและลงมติ ต้องใช้เสียง 51% ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ(ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนนี้)(พรรคเดโมแครตมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร)

3.) ประธานผู้พิพากษาศาลสูงสุด เริ่มกระบวนการไต่สวน

4.) จบการไต่สวน ส.ว. ลงมติต้องใช้เสียง 67%)(พรรคริพับลิกันมีเสียงข้างมากในวุฒิสภา) มีแนวโน้มที่ทรัมป์จะไม่ถูกถอดถอน

ในขั้นตอนที่ 3 กับ 4 จะเกิดขึ้นในเดือน ม.ค.

สิ่งที่ผลักดันให้ทรัมป์เดินมาสู่การถอดถอน คือ ปธน.ทรัมป์ได้สนทนาทางโทรศัพท์กับนายโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน เพื่อกดดันให้มีการสอบสวนนายโจ ไบเดน อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐ และบุตรชายของเขา ซึ่งมีการทำธุรกิจในยูเครน โดยการกระทำดังกล่าวถูกมองว่าเป็นการเปิดทางให้รัฐบาลต่างชาติเข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้งในสหรัฐฯ

ซึ่งนายไบเดนเป็นหนึ่งในผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรคเดโมแครต และถือเป็นคู่แข่งคนสำคัญของปธน.ทรัมป์ หากปธน.ทรัมป์ประสบความสำเร็จในการสกัดนายไบเดนออกจากการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ปธน.ทรัมป์ก็มีแนวโน้มสูงที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอีกสมัย

สรุปมีแนวโน้มลงน้อยที่ทรัมป์จะโดนถอดถอน เนื่องจากขั้นตอนสุดท้ายที่จะถอดถอนทรัมป์ต้องใช้เสียงของ ส.ว. ลงมติต้องใช้เสียง 67% ซึ่งพรรคริพับลิกัน พรรคต้นสังกัดของทรัมป์มีเสียงข้างมากในวุฒิสภา  ระหว่างการถอดถอนทรัมป์มีโอกาสเห็นการอ่อนค่าของ US Dollar เพราะการถอดถอนกระทบต่อความต่อเนื่องของนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งระหว่างทางมีโอกาสทำให้ราคาทองคำปรับขึ้น แต่หากเราคาดการณ์ผิดค่าเงิน US Dollar มีโอกาสอ่อนค่าอย่างรุนแรง จะทำให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว

ส่วนประเด็น 6 การเลือกตั้งสหรัฐฯที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 3 พ.ย. 63

คนที่ยืน 1 ในการเลือกตั้งปี 63 ของสหรัฐฯคือ ทรัมป์ เพราะ

1.ทำให้อัตราการว่างงานสหรัฐฯต่ำสุดในรอบ 50 ปี

2.สามารถลดการขาดดุลจากจีน

3.Dow Jones ทำ All Time High

จากผลงานของสหรัฐฯเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่เป็นประธานาธิบดีในสมัยที่ 2 จะมาสานต่อการเจรจาการค้า ซึ่งทำให้ตลาดทองคำผันผวนได้อีกเยอะ

ขณะที่แนวโน้มการลงทุนทองคำในปี 63

มอง Sideway Up มีกรอบล่าง 1,390 กรอบบน 1,575 มีโอกาสย่อลงไปก่อน

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!
Array
(
    [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV
    [Secure-PHPSESSID] => g08bbnjpfhl7hlcgifrrsik9v0
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1732363502
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => 03dc0ab1a59315097cff62fb2eb4ba7e
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=th&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2F6-Impacts-on-Gold-Price%2CYear-63.html
)
		
Array
(
    [content] => 6-Impacts-on-Gold-Price,Year-63
)
		
Array
(
)