Posted on Monday, February 25, 2019
เนื่องจาก หลายๆคนที่เข้ามาในตลาด TFEX ไม่ว่าจะเข้ามาเพื่อเก็งกำไรหรือว่าเข้ามาลงทุนระยะยาว โดยส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยจะรู้จักจุด Stop loss ว่าควรจะทำที่จุดไหนดี ทำให้นักลงทุนหลายคนเกิดการขาดทุนที่หนัก จนบางครั้งถึงขั้น ล้างพอร์ตไปเลยก็มี ดังนั้น วันนี้ ผมจะมาแนะนำเทคนิคการ Stop loss ด้วย ATR เพื่อไปปรับใช้ให้เหมาะกับกลยุทธ์การเทรดให้ดียิ่งขึ้น
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับคำว่า Stop Loss กันก่อน Stop Loss หมายถึง จุดตัดขาดทุนที่เรายอมรับได้ในการที่จะตัดการขาดทุนโดยไม่ปล่อยให้การขาดทุนดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนทำให้พอร์ต หรือเงินลงทุนของเราสูญเสีย ไปมากกว่าเดิม และเหลือเงินเพื่อสำหรับการลงทุนในครั้งต่อหลังจากตัดขาดทุน
ดังนั้นการ Stop Loss จึงเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราไม่ขาดทุนมากจนเกินไปและ ทำให้เราสามารถ วางแผนการเทรดได้อย่างชัดเจน และเป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ทุกคน จะต้องมี โดยวีธีการนี้จะกำหนดจุด Stop Loss จากค่าความผันผวน หรือ Volatility ซึ่งค่าความผันผวน นั้นไม่ได้บอกให้เรารู้ถึงทิศทางของราคาว่าจะขึ้นหรือลง แต่บอกให้เรารู้ถึงความรุนแรงของการเคลื่อนไหวของราคาโดยเราจะใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า ATR เป็นตัวชี้วัด
ATR หรือ Average True Range เป็นอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคตัวหนึ่ง ซึ่งใช้วัดระดับความผันผวนของราคา โดย ATR นั้นจะคำนวณมาจาก การนำค่าที่มากที่สุด (Max) ระหว่าง
ของแต่ละวันมาหาค่าเฉลี่ย โดยปกติมักใช้ค่ามาตรฐานกันที่ 14 วัน หรือ ATR(14) ซึ่งจะมีการ พิจารณาดังต่อไปนี้
1.จากรูป ถ้าค่า ATR ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจะบ่งชี้ถึงความรุนแรงของทิศทางที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ
2. จากรูปถ้า ATR อยู่ในระดับต่ำจะบ่งชี้ว่าราคามีโอกาสเคลื่อนไหวแบบ Sideway ในกรอบแคบๆได้
3.จากรูปถ้า ATR ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ราคาไม่มีทิศทางที่ชัดเจน เราคาดการณ์ได้ว่าราคาจะเคลื่อนไหว Sideway ออกด้านข้างกินระยะเวลายาวนาน
ดังที่กล่าวมาข้างเป็นเพียงการพิจารณาตัว ATR ในเบื้องต้นเท่านั้น
ส่วนการคำนวณหาจุด Stop Lossนั้นเราจะแบ่งเป็น2กรณีดังนี้
สิ่งที่เราต้องทำในการ Stop loss ด้วย ATR กรณี Long Position คือ
สมมติตัวอย่าง ว่า เรา Open Long ITDM19 ที่ราคา 2.56 บาท แต่เราไม่รู้ว่าควรที่จะ Stop Loss ที่ราคาเท่าไรดี ดังนั้นเราจึงใช้ สมการข้างต้นในการหาจุดหา Stop Loss ของราคา ITDM19 เพื่อหาจุดที่เหมาะสมในการตัดขาดทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยที่นำราคาต้นทุนของ ITDM19 ที่เราได้ คือ 2.56 บาท มาลบด้วย [2 x ATR)] หรือ 2 x 0.037 จะได้ดังนี้ 2.56-[2 x 0.037)] =2.48 บาท ดังนั้นจุด Stop Loss ของ ITDM19 คือ 2.48บาท นั้นเอง
สิ่งที่เราต้องทำในการ Stop loss ด้วย ATR กรณี Long Position คือ
สมมติตัวอย่าง ว่า เรา Open Short PTTM19 ที่ราคา 47.65 บาท แต่เราไม่รู้ว่าควรที่จะ Stop Loss ที่ราคาเท่าไรดี ดังนั้นเราจึงใช้ สมการข้างต้นในการหาจุดหา Stop Loss ของราคา ITDM19 เพื่อหาจุดที่เหมาะสมในการตัดขาดทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยที่นำราคาต้นทุนของ PTTM19 ที่เราได้ คือ 47.65 บาท มาลบด้วย [2 x ATR)] หรือ 2 x 0.037 จะได้ดังนี้
47.65+[2 x 0.717)] =49.08 บาท ดังนั้นจุด Stop Loss ของ PTTM19 คือ 49.08บาท นั้นเอง
ดังนั้น ในการเข้าเทรดแต่ละครั้งเราควรมองหาจุดตัดขาดทุนที่เรายอมรับได้ ในการที่เราจะตัดการขาดทุนโดยไม่ปล่อยให้การขาดทุนดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนทำให้พอร์ต หรือเงินลงทุนของเราสูญเสีย ไปมากกว่าเดิม สิ่งสำคัญที่นักลงทุนควรจะทำอย่างมีวินัย นั่นก็คือ การมีเป้าทำกำไรที่ชัดเจนและ การ Stop loss อย่างมีระบบ เพื่อเป็นการปกป้องเงินทุนให้สามารถกลับทำกำไรได้อีกครั้ง จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดเราจะเห็นแล้วว่าการหาจุด Stop loss สามารถทำได้อย่างง่ายๆและไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด เราสามารถนำวีธีการข้างต้นไปปรับใช้ให้เข้ากับกลยุทธ์การลงทุนของเราเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการทำกำไร
Array ( [Secure-PHPSESSID] => b9qbfcm2jhke4kbhvam7b7mbj4 [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732493477 [CAFXSI18NX] => en [_csrf] => 8055c060407b0c32fb56314de0c28535 [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=en&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2Fstop-loss-atr.html )
Array ( [content] => stop-loss-atr )
Array ( )