Posted on Thursday, September 8, 2022
หลังจากเดือน ส.ค. เราวิเคราะห์ราคาน้ำมันมีโอกาสปรับลงจาก 3 ปัจจัยเมื่อกลางเดือน ส.ค. อย่าง 1.เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันราคาน้ำมันดับให้ต่ำลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า , 2.การผลิตน้ำมันของรัสเซียแข็งแกร่ง ปัจจัยกดดันราคาน้ำมันผ่านอุปทานที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ชาติตะวันตกคว่ำบาตรพลังงานจากรัสเซีย แต่รัสเซียได้เจรจากับจีนและอินเดียในการขายน้ำมันให้ในราคาต่ำกว่าตลาด,และ 3.จีนขุดพบแหล่งน้ำมันและก๊าซแห่งใหม่แต่ในเดือน ก.ย. ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมันใหม่เนื่องจาก
1.ประชุม G7 (แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ) เห็นพ้องกันในการประชุมวันศุกร์ที่ 2 ก.ย. เพื่อกำหนดเพดานราคาน้ำมันของรัสเซีย โดยมีเป้าหมายบั่นทอนฐานะทางการคลังของรัสเซีย เพื่อไม่ให้นำรายได้ไปสนับสนุนการทำสงครามกับยูเครน และสกัดการพุ่งขึ้นของราคาพลังงานในตลาดโลก โดยมาตรการกำหนดเพดานราคาน้ำมันดิบรัสเซียจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 ธ.ค.2565 ขณะที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 ก.พ.2566 หลังจากจบการประชุม G7 รัฐบาลรัสเซียยืนยันว่าจะไม่ส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (ยูโรโซน) จนกว่าพันธมิตรชาติตะวันตกจะยกเลิกการคว่ำบาตรที่มีต่อรัสเซียทั้งหมด การที่รัสเซียเริ่มหยุดส่งออกน้ำมันไปยังประเทศใด ๆ ที่พยายามคว่ำบาตรรัสเซีย จะกระทบอุปสงค์และอุปทานน้ำมันทั่วโลก ทั้งนี้รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) เตรียมจัดการประชุมฉุกเฉินในวันที่ 9 ก.ย. 2565 เพื่อหาแนวทางรวมถึงวางมาตรการฉุกเฉินเพื่อควบคุมต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากวิกฤตพลังงานของยูโรโซนได้ทวีความรุนแรง
2.ประชุมโอเปกพลัสซึ่งประกอบด้วยกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส มีมติลดกำลังการผลิต 100,000 บาร์เรล/วัน เริ่มเดือน ต.ค. จากที่เริ่มเห็นโอเปกพลัสเริ่มลดลดในปี 66 มีแนวโน้มอาจลดเพิ่ม เพราะความกังวลงว่าเศรษฐโลกทั่วโลกจะชะลอตัว
จาก 2 ปัจจัยที่กล่าวมาทำให้ราคาน้ำมันขึ้นได้ระยะสั้น ทั้งนี้นักลงทุนต้องจับตาการเดินเกมของรัสเซียและยุโรปต่อจากนี้จะมีทางออกในประเด็นพลังงานอย่างไร แต่หากรัสเซียยังไม่ส่งพลังงานให้ยุโรปนานถึงขั้นทำให้เศรษฐกิจยุโรปถึงขั้นถดถอย ซึ่งนักลงทุนสามารถวิเคราะห์เศรษฐกิจยุโรปถดถอยหรือไม่ หากได้จาก 6 อย่าง ได้แก่ 1.GDP ,2.อัตราการว่างงาน ,3.เงินเฟ้อ ,4.ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ,5.ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ ,และ6.ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ทั้งนี้หากเศรษฐกิจยุโรปเริ่มถดถอยเมื่อใดแนวโน้มความต้องการน้ำมันจะเริ่มลดลง และเป็นจุดเริ่มต้นของน้ำมันขาลง และหุ้นที่ได้ประโยชน์ได้แก่ กลุ่มโรงไฟฟ้า,กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ,กลุ่มเกษตร-อาหาร ,และกลุ่มบรรจุภัณฑ์ ขณะที่หุ้นกลุ่มที่เสียประโยชน์ คือ กลุ่มผู้ประกอบการผลิตและสำรวจน้ำมัน
Array ( [Secure-PHPSESSID] => 5fi0ma1lg4g00gspvv6n5cvmce [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732242841 [CAFXSI18NX] => en [_csrf] => 7f2ce127a4eee1c5eef4e619831cab3e [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=en&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2Foli-price-change-2022.html )
Array ( [content] => oli-price-change-2022 )
Array ( )