Classic Ausiris Investment Advisory Securities Co., Ltd

ขั้นตอนการซื้อขาย TFEX

ขั้นตอนการซื้อขาย TFEX

Posted on Saturday, January 26, 2019


การซื้อขาย TFEX หรือ เทรด TFEX ที่ได้ยินกันบ่อยๆ นั้นคือการซื้อซื้อขาย Futures หรือ Options ในตลาด TFEX นั้นเอง ซึ่งวิธีการซื้อขายและขั้นตอนก็มีความคล้ายคลึงกันกับหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อยู่ทีเดียว แต่การเทรด TFEX นั้นสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง อีกทั้งยังใช้เงินลงทุนที่น้อยกว่าด้วย แต่ก่อนอื่นเรามาดู 6 ขั้นตอนสำคัญที่ทำให้นักลงทุน TFEX มือใหม่ กลายเป็นมือโปรกันได้เลย.. 

(1) ศึกษาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการลงทุนใน TFEX

นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวของกับการลงทุน TFEX อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์ ต่างๆในตลาด TFEX ขั้นตอนวิธีการซื้อขาย กลยุทธ์การลงทุนต่างๆ รวมถึงข่าวสารการลงทุนต่างๆ  เนื่องจากผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนนั้นตามมาด้วยความเสี่ยงอยู่เสมอ (High Risk High Return) ฉะนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพื่อให้ความรู้เหล่านั้นสามารถลดความเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะความเสี่ยงจากการไม่รู้ออกไปให้หมด (อาจจะไม่หมดแต่ควรจะทำให้ได้มากที่สุด) จนถึงระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนสามารถรับได้เพื่อผลตอบแทนที่คาดหวัง อย่างที่เราเคยได้ยินบ่อยๆว่า #การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจ จะได้ไม่เจ็บตัวกันที่หลังเนอะ

(2) เปิดบัญชีซื้อขายกับโบรกเกอร์ ผู้ให้บริการ

การเปิดบัญชชีซื้อขาย TFEX นั้นนักลงทุนต้องเปิดกับผู้ให้บริการซึ่งต้องเป็นผู้ให้บริการที่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นสมาชิกของตลาดอนุพันธ์ (Classic Ausiris ก็เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านการซื้อขาย TFEX ครบวงจรและเป็นสมาชิกของตลาดอนุพันธ์ด้วยนะ) เพื่อความปลอดภัย น่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้ ทำให้นักลงทุนสามารถลงทุนใน TFEX อย่างปลอดภัย และมั่นใจในคุณภาพที่ได้รับอย่างมีมาตรฐาน และเป็นไปตามกฏหมายคุ้มครอง ซึ่งเป็นประโยชนสูงสุดแก่ตัวผู้ลงทุนเอง

(3) เตรียมเงินหลักประกันให้พร้อมสำหรับการซื้อขาย TFEX

การซื้อขาย TFEX นั้นจะไม่ต้องชำระราคาสินทรัพย์เต็มมูลค่าเหมือนกับการซื้อขายหุ้น แต่จะวางเพียงแค่เงินหลักประกันส่วนหนึ่งหรือเงิน Margin นั้นเอง

ซึ่ง เงิน Margin หรือ หลังประกัน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

1.Initial Margin : IM (หลักประกันขั้นต้น)  เป็นหลักประกันที่นักลงทุนต้องนำเงินส่วนหนึ่งมาวางไว้กับบริษัทผู้ให้บริการเพื่อการซื้อขาย TFEX  ซึ่งจำนวนเงินของหลักประกันขั้นต้นนั้น จะแตกต่างกันออกไปตามสินค้านั้นๆ โดยถูกจำนวนเงินของหลักประกันขั้นต้นจะถูกกำหนดโดยตลาดซื้อขายล่วงหน้า

2.Maintenance Margin : MM (หลักประกันรักษาสภาพ)  เป็นหลักประกันที่เปรียบเสมือนระดับยอดเงินคงเหลือต่ำสุดของเงินหลักประกัน (70% ของ IM) หากยอดเงินคงเหลือของหลักประกันลดต่ำกว่าระดับนี้ นักลงทุนจะถูกเรียกให้วางเงินประกันเพิ่ม (Margin Call) โดยต้องวางเพิ่มให้กลับไปเท่ากับ IM ในครั้งแรก

3.Force Margin : FM (หลักประกันปิดสถานะ)  เป็นระดับหลักประกันที่ต่ำที่สุด (30% ของ IM) ในกรณีที่นักลงทุนถูกเรียก Margin Call แล้วยังไม่นำเงินมาวางภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยจะปิดสถานะที่นักลงทุนถืออยู่เพื่อให้หลักประกันคงเหลือไม่ต่ำไปว่าระดับ FM

(4) เริ่มส่งคำสั่งซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ได้เลย

นักลงทุนสามารถส่งคำสั่งการซื้อขายได้เองผ่านโปรแกรมต่างๆ ที่ทางตลาดอนุพันธ์และโบรกเกอร์ผู้ให้บริการรับรอง และยังสามารถติดต่อผู้แนะนำการลงทุนเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำและส่งคำสั่งการซื้อขาย TFEX ผ่านผู้แนะนำการลงทุนได้อีกด้วย  โดยการส่งคำสั่งซื้อขายจะไม่นิยมใช้คำว่า ซื้อ (Buy) หรือ ขาย (Sell) แต่จะเป็น แต่จะใช้คำว่า Long และ Short

  • Long Position คือ ฐานะซื้อ หรือสัญญาว่าผู้ที่ถือสัญญาจะซื้อสินทรัพย์อ้างอิงที่ราคาและเวลาที่กำหนด ซึ่งต่างกันการซื้อสินทรัพย์นั้นๆทันที
    ตัวอย่าง  หากนักลงทุนคิดว่าราคาของ SET50Index จะปรับตัวขึ้นใน 1 เดือนข้างหน้า นักลงทุนจะเลือก เปิด Long Position หากราคาปรับตัวขึ้นตามที่นักลงทุนคาดการณ์นักลงทุนก็จะไดรับกำไรจากส่วนต่างราคาที่ตกลงไว้ แต่หากราคาปรับตัวลดลงผิดจากที่คาดการณ์ไว้นักลงทุนก็จะได้รับผลขาดทุนแทน
  • Short Position คือ ฐานะขาย หรือสัญญาว่าผู้ที่ถือสัญญาจะขายสินทรัพย์อ้างอิงที่ราคาและเวลาที่กำหนด ซึ่งต่างกันการขายสินทรัพย์ในทันที
    ตัวอย่าง  หากนักลงทุนคิดว่าราคาของทอคำ จะปรับตัวลดลงใน 1 เดือนข้างหน้า นักลงทุนจะเลือก เปิด Short Position หากราคาปรับตัวลดลงตามคาดการณ์นักลงทุนก็จะไดรับกำไรจากส่วนต่างราคาที่ตกลงไว้ แต่หากราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นผิดจากที่คาดการณ์ไว้นักลงทุนก็จะได้รับผลขาดทุน

(5) ตรวจสอบสถานะคงค้างและผลกำไร (ขาดทุน) ในแต่ละวัน

ในตลาด TFEX นักลงทุนควรตรวจสอบผลกำไร (ขาดทุน) รวมถึงสถานะคงค้างของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากในทุกๆสิ้นวัน สำนักหักบัญชีภายใต้ตลาดอนุพันธ์จะมีการคำนวณเงินกำไรขาดทุนของทุกๆสิ้นวัน หรือ Mark to Market หากได้กำไรจะมีการโอนเงินส่วนกำไรเข้าบัญชีอนุพันธ์ของท่านในวันทำการถัดไป ในกรณีกลับกันหากเกิดผลขาดทุนทางสำนักหักบัญชีจะหักเงินประกันที่ได้ฝากไว้แทน และหากเกิดผลขาดทุนจนเกินระดับ หลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin) ทางโบรกเกอร์จะเรียกเก็บเงินหลักประกันเพิ่ม (Margin Call) โดยนักลงทุนต้องวางเงินประกันให้กลับเข้าไปเท่ากับหลักประกันขั้นต้นอีกครั้ง

(6) ทบทวนกลยุทธ์และวินัยตนเองอย่างสม่ำเสมอ

นักลงทุนที่ลงทุนในตลาด TFEX ควรตรวจสอบกลยุทธ์ของตนเองอย่างสม่ำเสมอว่า กลยุทธ์ที่นักลงทุนใช้ไปนั้นตรงกับที่ท่านได้ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ และผลตอบแทนของนักลงทุนอยู่ในระดับที่นักลงทุนต้องการหรือไม่ เพราะอะไร ? เปรียบเสมือนการทำการบ้านปิดท้ายอีกครั้ง เพื่อมองหาจุดอ่อนจุดแข็งของนักลงทุนแต่ละคน เพื่อพัฒนาการเทรด TFEX ต่อไปในอนาคต เทรดเสร็จแล้วอย่าลืมทบทวนทำการบ้านจะทำให้เรายิ่งเทรดยิ่งได้ประสบการณ์ (แต่ก็ควรที่จะได้เงินเพิ่มๆขึ้นไปด้วยนะ)

Open Account TFEX
Get Special Offers Now!!
Array
(
    [Secure-PHPSESSID] => 1um9riicm1o99gdfrqbo96snad
    [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1732418084
    [CAFXSI18NX] => en
    [_csrf] => 9777a9064e015c6bc4b8a59b1388040f
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=en&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2Fhow-to-play-tfex.html
)
		
Array
(
    [content] => how-to-play-tfex
)
		
Array
(
)