Classic Ausiris Investment Advisory Securities Co., Ltd

ส่องปัจจัยก่อนการประชุม FOMC ขึ้นหรือคงดอกเบี้ย

ส่องปัจจัยก่อนการประชุม FOMC ขึ้นหรือคงดอกเบี้ย

Posted on Thursday, September 14, 2023


   เชื่อว่านักลงทุนหลายคนกำลังติดตามผลการประชุม FOMC วันที่ 21 ก.ย.66 เวลา 01:00น.(เวลาไทย) ครั้งที่ 6 ปี 66 เพราะเป็นปัจจัยที่เข้ามากระทบการลงทุนตลาดหุ้นไทย วันนี้เราจึงวิเคราะห์ 3 ปัจจัยที่ FED ให้ความสำคัญและมุมมองของเจ้าหน้าที่ FED เพื่อคาดการณ์ผลการประชุม FOMC

1.อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ

ล่าสุด CPI ส.ค.66 ขยายตัวเพิ่มขึ้นแตะ 3.7% จาก ก.ค.66 ที่ 3.2% ,PCE ก.ค.66 ขยายตัวเพิ่มขึ้นแตะ 3.3% จาก มิ.ย.66 ที่ 3.0% สูงกว่าเป้าหมายเฉลี่ยของ FED ที่ 2% และแนวโน้มเงินเฟ้อเสี่ยงขยายตัวมากขึ้นหลังราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นเพราะความกังวลปริมาณน้ำมันเสี่ยงขาดตลาดในครึ่งหลังปี 66  โดย EIA คาด สต๊อกน้ำมันทั่วโลกจะลดลงกว่าครึ่งล้านบาร์เรลต่อวันในครึ่งหลังปี 66 ดันราคาน้ำมัน BRENT แตะ 93 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลใน Q4/66

2.ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ
อ้างอิงแบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ของ FED สาขาแอตแลนตาคาด GDPQ3/66ขยายตัวเพิ่มขึ้นแตะ 5.6% จาก Q2/66 ขยายตัว 2.1% และมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ปี 66 ขยายตัวแตะ 1.9% เดิม 1.1% นอกจากนี้โกลด์แมน แซคส์ได้ลดคาดการณ์โอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าถดถอยเหลือ 15% เดิม 20%
เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องและโอกาสในการที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ถดถอยลดลง แสดงถึง เศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่ง

3.ตลาดแรงงานสหรัฐฯ
แม้การจ้างงานนอกภาคการเกษตร ส.ค.66 เพิ่มสูงขึ้นแตะ 187K มากกว่า ก.ค. 66 ที่ 157K  แต่อัตราการว่างงานส.ค. 66 เพิ่มขึ้นแตะ 3.8% เดิม 3.5% และตำแหน่งงานว่างนอกภาคการเกษตร ก.ค.66 ลดลงเหลือ 8.83B จาก มิ.ย.66 ที่ 9.165B นอกจากนี้ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่อชั่วโมงนอกภาคการเกษตร ส.ค.66 ขยายตัวลดลงเหลือ 0.2% จาก ก.ค.66 ที่ขยายตัว 0.4%
ตลาดแรงงานสหรัฐฯเริ่มผ่อนคลายมากขึ้น บ่งชี้แรงงานว่างงานมากขึ้นและตำแหน่งงานที่ลดลง รวมถึงค่าจ้างแรงงานที่ชะลอการขยายตัว

มุมมองเจ้าหน้าที่ FED ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง
นายเจอโรม พาวเวล ประธาน FED เผยมุมมองการใช้นโยบายการเงินไว้ในงานแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ว่าแม้อัตราเงินเฟ้อชะลอการขยายตัว แต่ยังขยายตัวอยู่ระดับที่สูงเกินไป และพร้อมที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป หากมีความเหมาะสมและจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงเข้าสู่เป้าหมายเฉลี่ยที่ 2%

นายจอห์น วิลเลียมส์ FED สาขานิวยอร์กและนางลอรี โลแกน FED สาขาดัลลัส ยอมรับว่าอัตราเงินเฟ้อขยายตัวลดลงและเศรษฐกิจสมดุลมากขึ้น ทำให้อาจเห็นการคงดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 20 ก.ย.66 แต่ FED อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป หากมีความจำเป็น

นางมิเชล โบว์แมน เจ้าหน้าที่ FED มีมุมมองว่า FED ปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเพื่อกดเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมายเฉลี่ยที่ 2% เพราะเงินเฟ้อยังอยู่ระดับสูง การใช้จ่ายของผู้บริโภคยังแข็งแกร่ง ตลาดที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มฟื้นตัว และตลาดแรงงานตึงตัว ทำให้เงินเฟ้อมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น

นายแพทริก ฮาร์เกอร์ FED สาขาฟิลาเดลเฟีย มีมุมมองการใช้นโยบายการเงินของ FED เข้มงวดเพียงพอแล้ว และคาด FED ไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก แต่ยังไม่เห็นแนวโน้มที่ FED จะปรับลดดอกเบี้ยเพราะต้องรอให้เงินเฟ้อผ่อนคลายลงมากกว่านี้

สรุป
ปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯขยายตัวมากกว่าเป้าหมายเฉลี่ย 2% ของ FED และมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นและเศรษฐกิจสหรัฐฯยังแข็งแกร่ง แต่เริ่มเห็นสัญญาณการอ่อนแอของตลาดแรงงานสหรัฐฯ ประกอบกับมุมมองของเจ้าหน้าที่ FED ผสมผสานทั้งสนับสนุนการปรับขึ้นดอกเบี้ยและคงดอกเบี้ย แต่ทั้งหมดยังไม่ส่งสัญญาณในการปรับลดดอกเบี้ยเร็วนี้ และพร้อมที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อหากเงินเฟ้อกลับมาขยายตัวอีกครั้ง

   ดังนี้เราจึงคาดการณ์ผลการประชุม FOMC ครั้งที่ 6 ปี 66 วันที่ 21 ก.ย.66 เวลา 01:00น.(เวลาไทย) FED จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% แต่อาจส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุม FOMC ครั้งที่ 7 ในวันที่ 2 พ.ย.66(เวลาไทย) เป็นปัจจัยเข้ามากดดันตลาดหุ้นไทย

 

Open Account TFEX
Get Special Offers Now!!
Array
(
    [Secure-PHPSESSID] => ir28hn1pbt5u7ffnhsotn00rrg
    [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1732205911
    [CAFXSI18NX] => en
    [_csrf] => 0ca2795de554fd3637d43b7e72639ce8
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=en&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2Ffed-fomc-66.html
)
		
Array
(
    [content] => fed-fomc-66
)
		
Array
(
)