Posted on Monday, June 20, 2022
มุมมองเศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอย
JPMorgan
JPMorgan quant guru Marko Kolanovic คาดว่า มีโอกาสราว 85% ในปีนี้ เพราะมองว่า อัตราเงินเฟ้อจะกระทบพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชากร ประกอบกับแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้อีก เนื่องจากต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น
Conference Board
Conference Board บริษัทวิจัยธุรกิจเปิดเผยผลสำรวจครั้งใหม่บ่งชี้ว่า ซีอีโอมากกว่า 60% คาดว่า เศรษฐกิจจะถดถอยในช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากสิ้นปี 2564 ที่มีซีอีโอเพียง 22% ที่คาดว่า เศรษฐกิจจะถดถอย โดยโอกาสที่เศรษฐกิจจะถดถอยซีอีโอ มองว่าเกิดจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อผ่านทางความผันผวนของราคาพลังงาน และต้นทุนที่สูงขึ้นสำหรับปัจจัยการผลิตที่ขาดแคลน เกิดความวิตกเกี่ยวกับผลกำไรทางธุรกิจที่ลดลง
แบงก์ออฟอเมริกา
นักเศรษฐศาสตร์ของแบงก์ออฟอเมริกา ซีเคียวริตีส์ (BofAS) คาดว่า มีโอกาสราว 40% ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า และคาดว่า การขยายตัว GDP ของสหรัฐฯจะชะลอลงสู่ระดับเกือบ 0% ภายในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า เนื่องจากผลกระทบของภาวะการเงินที่ตึงตัวจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง และคาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจจะดีดตัวขึ้นเพียงเล็กน้อยในปี 2567
สัปดาห์นี้ลุ้นประธาน FED แถลงการณ์ครึ่งปีต่อคองเกรส
นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (FED) เตรียมแถลงการณ์รอบครึ่งปีว่าด้วยนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯต่อสภาคองเกรสในวันพุธนี้ และจับตาการกล่าวถึง 4 ประเด็น
1.ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
2.อัตราเงินเฟ้อ
3.แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ย
4.อัตราการว่างงาน
จาก 4 อย่างที่เรากล่าวถึง จะแสดงภาพของ stagflation ว่ามีแนวโน้มจะเกิดในสหรัฐฯหรือไม่ หากเกิด stagflation ในสหรัฐฯจะเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ
ราคายางพาราเตรียมปรับลงรับ 2 ปัจจัย
1.นักลงทุนวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยหลังธนาคารกลางหลายแห่งอย่าง สหรัฐฯ,นิวซีแลนด์,UK,แคนาดา,และออสเตรเลีย ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อ ส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน เพราะต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น ชะลอการลงทุนและการผลิตของอุตสาหกรรม
2.บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประกาศจะระงับสายการผลิตรถยนต์เพิ่มเติมที่โรงงานในญี่ปุ่นเป็นเวลาถึง 11 วัน เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ และซัพพลายเออร์รายหนึ่งของโตโยต้าในนครเซี่ยงไฮ้ถูกปิดชั่วคราว เพราะจีนเผชิญเการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้จีนประกาศล็อกดาวน์เซี่ยงไฮ้
สัญญาณเยนอ่อนต่อ
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ (Ultraeasy Monetary Policy) ที่ระดับ -0.1% และคงเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีไว้ที่ประมาณ 0% สวนทางกับคู่สกุลเงินดอลลาร์ที่ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยของ FED ในปีนี้ถึง 3.5% ส่งให้ค่าเงินดอลลาร์ยังแข็งต่อเนื่อง และกดราคาทองคำ
อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งให้เยนอ่อนเพิ่ม เพราะดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของญี่ปุ่นในเดือนพ.ค. 2565 มีแตะ 2.1% มองการอ่อนค่ารอบนี้เยนจะอ่อนเพิ่มทุกครั้งที่ FED ประกาศขึ้นดอกเบี้ยใครอยากเก็บเงินเยนเพื่อไปเที่ยวญี่ปุ่นต้องช่วงนี้เท่านั้น
Array ( [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV [Secure-PHPSESSID] => ra8hk44ugsr6vud69ga7c8h4e4 )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732267840 [CAFXSI18NX] => en [_csrf] => 63bcf2cf41a619e648b8b0fce34b1efc [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=en&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2Fcaf-date-20-06-65.html )
Array ( [content] => caf-date-20-06-65 )
Array ( )