Classic Ausiris Investment Advisory Securities Co., Ltd

BEAUTY นางฟ้าหรือนางมารร้าย?

BEAUTY นางฟ้าหรือนางมารร้าย?

Posted on Wednesday, May 22, 2019


หากเรามองย้อนไปในปี พ.ศ. 2559 บริษัท บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ BEAUTY ที่ทุกคนต่างก็เรียกกันว่า เป็นหุ้นนางฟ้าในขณะนั้น ด้วยเทรนด์ดูแลตัวเองและความสวยความงามของผู้หญิงที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า BEAUTY จะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต ส่งผลให้ราคาในเดือน พ.ค. 2559 พุ่งขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว จากราคา 5.50 บาท พุ่งไปทำจุดสูงสุด ที่ราคา 23.70 บาท ในเดือน เม.ย. 2561 หากนักลงทุนที่จับเทรนด์ของ BEAUTY และถือลงทุนตั้งแต่ช่วงนั้น ท่านจะทำกำไรได้มากถึง 330% โดยใช้เวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น หากเทียบกับหุ้นที่ทำธุรกิจคล้ายกันอย่าง KAMART ที่แม้ว่าราคาปรับตัวขึ้นถึง 200% แต่ราคาไม่สามารถยืนระยะเวลาได้ยาวนานเท่ากับ BEAUTY เพราะมีการปรับตัวลงตั้งแต่ปี 2560

หลังจากนั้น เหตุการณ์ที่นักลงทุนไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น ราคาหุ้น BEAUTY ที่ทำจุดสูงสุดได้ไม่นาน มีการปรับตัวลดลงหลุดแนวรับสำคัญ 21 บาท มาปิดที่ 17.50 บาทในเดือน พ.ค. 2561 และปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงต่อเนื่อง ไฮไลท์สำคัญ คือ ราคาลงไปแตะที่ฟลอร์ (Floor) ถึง 2 ครั้ง รวมแล้วมีการปรับตัวลดลงสูงสุดถึง 72% โดยใช้เวลาเพียง 3 เดือน

ล่าสุด ราคาหุ้น BEAUTY ณ วันที่ 17 พ.ค. 2562 ปรับตัวลดลงเหลือเพียง 4.24 บาท หลังจากประกาศผลประกอบการQ1/2562 กำไรสุทธิอยู่ที่ 69 ล้านบาท ลดลง 75.37% เมื่อเทียบแบบ YoY ที่ 282 ล้านบาท และลดลง 44.28% เมื่อเทียบแบบ QoQ ที่ 123 ล้านบาท

” แล้วสาเหตุอะไรที่ทำให้ราคาหุ้น BEAUTY ปรับตัวลดลงแรง?

ถ้าถือหุ้นที่มีลักษณะเดียวกันกับ BEAUTY นักลงทุนควรรับมืออย่างไร?

เราจะมาตอบให้ชัดทุกประเด็นในบทความนี้ “

กล่าวถึงการประกอบธุรกิจ และโครงสร้างรายได้ BEAUTY กันก่อน

บริษัท บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจค้าปลีกผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและบำรุงผิวโดยจัดจำหน่ายผ่านช่องทางที่ BEAUTY ให้บริการที่โดดเด่น 3 ที่ ได้แก่ Beauty Buffett จำนวน 276 สาขา, Beauty Cottage จำนวน 80 สาขา และ Beauty Market จำนวน 7 สาขา

โครงสร้างรายได้จำแนกตามช่องทางจัดจำหน่าย (ตามรายงานประจำปี 2561)

  • รายได้จาก Beauty Buffett
  • รายได้จาก Beauty Cottage
  • รายได้จาก Beauty Market
  • รายได้จากการจำหน่ายในต่างประเทศ
  • รายได้จากแฟรนไชส์
  • รายได้จากคอนซูมเมอร์โปรดัคส์
  • รายได้จากการขายผ่าน E-Commerce

จุดเริ่มต้นสู่การเป็นนางฟ้า

การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาหุ้น BEAUTY เป็นผลมาจากรายได้ที่เติบโตต่อเนื่อง 4 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2557-2560 มีรายได้เฉลี่ย 2,346.33 ล้านบาท การเติบโตของรายได้โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 39.78% เนื่องจากหลายปัจจัยหนุน ได้แก่ กระแสผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับความสวยความงามเพิ่มขึ้นจากการที่คนส่วนใหญ่ใส่ใจในเรื่องการดูแลตัวเองมากขึ้น, การขยายสาขาและเพิ่มช่องทางจัดจำหน่าย ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) และการที่ผลิตภัณฑ์ของ BEAUTY ได้รับความสนใจจากลูกค้าชาวต่างชาติ ทั้งนักท่องเที่ยวหรือการขายส่งผ่านตัวแทนในต่างประเทศโดยเฉพาะจีน ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ทำให้นักลงทุนคาดว่า BEAUTY จะเติบโตต่อไป

นางมารร้ายแผลงฤทธิ์ 

เข้าสู่ปี 2561 รายได้ BEAUTY ยังคงเติบโตต่อเนื่อง พร้อมกับราคาหุ้นที่ทำ New High ต่อเนื่อง นักลงทุนยังคงคาดว่ารายได้และกำไรสุทธิจะเติบโตต่อไปในอนาคต แต่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น มีหลายปัจจัยที่เข้ามากดดัน BEAUTY เป็นเหตุให้กำไรสุทธิไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ ดังนี้

  1. ปัจจัยกดดันจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีการปราบปรามผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้เครื่องสำอางมากขึ้น
  2. ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของ BEAUTY เป็นที่นิยมสูงมากในหมู่นักท่องเที่ยวจีน การที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลงทำให้ปริมาณการซื้อสินค้าลดลง ส่งผลให้รายได้ Q4/2561 ลดลงกว่า 40% เมื่อเทียบกับ Q3/2561 (QoQ)
  3. ต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง อยู่ที่ 65.34% เมื่อเทียบปี 2560 ที่ 67.44% และอัตรากำไรจากการดำเนินงานลดลงอยู่ที่ 35.21% เมื่อเทียบปี 2560 ที่ 41.05%
  4. จำนวนคู่แข่งในตลาด และสินค้าทดแทน เนื่องจากร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อความสวยงามมีจำนวนมาก อีกทั้งเครื่องสำอางและครีมก็มีผลิตภัณฑ์ยี่ห้ออื่นที่ทดแทนกันได้ ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์จึงมีทางเลือกในการใช้บริการจากร้านอื่นๆและใช้ผลิตภัณฑ์อื่นแทน BEAUTY
  5. ธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วจนเข้าสู่ขั้นอิ่มตัว เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่มีผลกระทบในเชิงลบ เนื่องจากสินค้าเป็นที่นิยมในตลาดผ่านช่วงของการเติบโตไปแล้ว เมื่อวิเคราะห์จากรายได้ที่เติบโตลดลงจึงประเมินได้ว่า BEAUTY อยู่ในขั้นของการอิ่มตัว เพื่อรอการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด หากขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บริษัทก็จะเข้าสู่ขั้นถดถอยในที่สุด

ปัจจัยที่กล่าวมานี้ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้กำไรสุทธิในปี 2561 ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2560 ถึง 20% และสะท้อนไปยังราคาหุ้นอ้างอิง BEAUTY ตามที่เราได้กล่าวไปแล้วในส่วนแรกของบทความ

มองเป็นโอกาสลงทุนในฝั่ง Short

กลับมามองที่ภาพในทางเทคนิค (รายสัปดาห์ ย้อนหลังถึงปี 2558) จะเห็นว่าเทรนด์ขาขึ้นของ BEAUTY เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2559 ที่ราคาบริเวณ 5.50 บาท และขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 23.70 บาทในปี 2561 จากนั้นก็ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องหลังจากทำจุดสูงสุดได้ไม่นาน จุดเริ่มต้นเทรนด์ขาลงเริ่มจากการหลุดแนวรับสำคัญใน time–frame รายสัปดาห์ บริเวณ 21 บาท แม้ว่ามีการทดสอบบริเวณนั้นอีกครั้งก็ไม่สามารถขึ้นต่อได้ ตรงนี้เป็นโอกาสสำคัญในการสร้างกลยุทธ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงหรือเก็งกำไรฝั่ง Short สำหรับนักลงทุนที่มีหุ้นอยู่ในพอร์ทสามารถ Short BEAUTY บนกระดาน TFEX ในสัดส่วนเท่ากันกับที่ท่านถือ (1 สัญญา = 1,000 หุ้น) เพื่อป้องกันความเสี่ยงการปรับตัวลดลงจนทำให้กำไรในพอร์ทหุ้นหดหายไป หรือนักลงทุนที่ต้องการเก็งกำไร ก็สามารถเข้าสถานะ Short เนื่องจากมีพื้นที่ในปรับตัวลงได้มาก และ Stop Loss สั้น

ท่านนักลงทุนสามารถใช้กลยุทธ์นี้ได้กับหุ้นอ้างอิงที่มีลักษณะคล้ายกันกับ BEAUTY ได้แก่ มีปัจจัยลบกระทบรายได้หรือกำไรสุทธิ หรือเป็นเหตุให้พื้นฐานบริษัทเปลี่ยนแปลง ประกอบกับทางเทคนิคที่ราคามีการหลุดแนวรับสำคัญลงมา เท่านี้พอร์ทลงทุนของท่านก็จะมีการป้องกันความเสี่ยง และโอกาสในการทำกำไรได้มากขึ้น

Open Account TFEX
Get Special Offers Now!!
Array
(
    [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV
    [Secure-PHPSESSID] => 46it7n69eattnn2qos3qahlc1e
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1732240071
    [CAFXSI18NX] => en
    [_csrf] => f4527342b5e683c37876287ee82cb5fd
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=en&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2Fbeauty-angel-or-devil-woman.html
)
		
Array
(
    [content] => beauty-angel-or-devil-woman
)
		
Array
(
)