Posted on Wednesday, September 22, 2021
เชื่อว่าก่อนหน้านี้ นักลงทุนหลายท่านอาจจะไม่คุ้นหน้าคุ้นตากับหุ้น VNG หรือ บมจ.วนชัย กรุ๊ป จนกระทั่งเข้าสู่ปีนี้ที่ราคาหุ้น VNG พุ่งจากระดับ 3.30 บาทเมื่อปลายปีที่แล้ว สู่ระดับเหนือ 9 บาท ตั้งแต่วันที่ 17 ก.ย. ที่ผ่านมา คิดเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นมากกว่า 180% เมื่อเทียบกับต้นปี คำถามคือ อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาหุ้น VNG ปรับตัวขึ้นได้มากขนาดนี้ และเรามีคำแนะนำอย่างไร?
ก่อนอื่น VNG ทำธุรกิจอะไร? ธุรกิจของ VNG และบริษัทย่อย คือ การผลิตและจำหน่ายแผ่นไม้ (Panel Board) เพื่อใช้ทดแทนไม้ธรรมชาติ ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท คือ แผ่นเอ็มดีเอฟ และแผ่นปาร์ติเกิ้ล มีการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยมีรายได้จากการขายแผ่นเอ็มดีเอฟ และแผ่นปาร์ติเกิ้ลในสัดส่วน 64% และ 16% ตามลำดับ นอกจากนั้นเป็นรายได้จากแผ่นไม้ประเภทอื่น และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง
ลูกค้าของ VNG ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ทำอุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ทั้งในและต่างประเทศ รวมไปถึงร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างประเภทไม้ โดยในครึ่งแรกของปี 64 VNG มีรายได้จากการขายจำนวน 5,855 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีรายได้จากการขายในครึ่งปีแรกจำนวน 3,962 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47.78% YoY
ด้านกำไรสุทธิครึ่งแรกของปี 64 VNG รายงานไว้ที่ 472 ล้านบาท พลิกจากที่ขาดทุนในปี 63 จำนวน 218 ล้านบาท โดยรายได้จากการขายและกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขายแผ่นปาร์ติเกิ้ลราว 145% และราคาขายโดยเฉลี่ยของแผ่นเอ็มดีเอฟและแผ่นปาร์ติเกิ้ลเพิ่มขึ้นราว 25% จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก หลังจากการระบาดของโควิด-19 เริ่มควบคุมได้ในหลายประเทศ ทำให้ความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ของ VNG กลับมา
อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์ผลการดำเนินงานย้อนหลังของ VNG พบว่าบริษัทมีการขาดทุนสุทธิมาตั้งแต่ปี 61 ซึ่งเป็นผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ทำให้บริษัทได้รับผลกระทบด้านต้นทุนขายที่เพิ่มขึ้น เมื่อเข้าสู่ปี 62 บริษัทก็ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งทำให้ความต้องการซื้อลดลง กระทบด้านรายได้จากการขาย ส่งผลให้การดำเนินงานมีผลขาดทุนสุทธิ 2 ปีติดต่อกัน
ทั้งนี้ การพลิกผลการดำเนินงานกลับมาเป็นฝั่งกำไรสุทธิได้ ก็ถือเป็นสัญญาณ Turnaround ของบริษัท จึงทำให้นักลงทุนเข้าเก็งกำไรในหุ้น VNG นับตั้งแต่ผลการดำเนินงาน Q1/64 ประกาศออกมามีกำไรสุทธิ 129 ล้านบาท ต่อเนื่องมาจนถึงผลการดำเนินงาน Q2/64 ที่มีการประกาศกำไรสุทธิ 343 ล้านบาท รวมกำไรสุทธิครึ่งปีแรกที่ 472 ล้านบาท ด้วยเหตุผลตามที่กล่าวไปก่อนหน้านี้
ด้านราคาหุ้น มีการปรับตัวขึ้นไปตามแรงเก็งกำไร โดยเพิ่มขึ้นจากต้นปีที่ 3.30 บาท สู่ระดับ 9.40 บาท (ในช่วงพักกลางวันของวันที่ 22 ก.ย. 64) โดยเพิ่มขึ้นมาแล้ว 184% YTD อีกทั้ง ราคาหุ้นยังคงรักษาแนวโน้มขาขึ้นได้เป็นอย่างดี จากการปรับฐานบริเวณ 7 บาทแล้วไม่ต่ำกว่าจุดดังกล่าว ก่อนจะเทคตัวขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 9.75 บาท ทำ New High ในรอบ 3 ปี นับตั้งแต่ปี 61
ด้านกลยุทธ์สำหรับหุ้น และ Single Stock Futures ของ VNG ที่ระดับราคา 9.40 บาท เราแนะนำให้รอการพักตัวบริเวณ 9 บาท เพื่อเปิดสถานะ Long โดยมีจุด Stop Loss ที่ 8.70 บาท และไม่แนะนำให้เปิดสถานะ Short เนื่องจากเป็นการสวนเทรนด์ขาขึ้น ยกเว้นในกรณีที่ราคาร่วงหลุด 8.50 บาท จึงจะส่งสัญญาณขาลงและทำให้ฝั่งขา Short เริ่มได้เปรียบ
หมายเหตุ: ราคาหุ้น ณ วันที่ 22 ก.ย. 64
Array ( [Secure-PHPSESSID] => jjfd7r67ilf8h2fv6vmvg41l69 [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732312075 [CAFXSI18NX] => en [_csrf] => 89dc88cbb9bdb637bf53f0db6fac6b92 [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=en&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2Fanalyze-vng-2-stock-2021.html )
Array ( [content] => analyze-vng-2-stock-2021 )
Array ( )