Posted on Thursday, January 20, 2022
สัปดาห์หน้า (24-28 ม.ค. 65) นักลงทุนกำลังจะเจอการประชุม FOMC การประชุมที่จะกำหนดนโยบายการเงินของสหรัฐฯ มาพร้อมกับความกังวลของนักลงทุนที่คาดการณ์ว่าการประชุม FOMC จะลด QE และส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย เราจึงมีคำถามว่าอะไรคือปัจจัยกดดันให้คณะกรรมการ FOMC ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย
เราคาดการณ์ว่าปัจจัยกดดันใน การประชุม FOMC เดือน ม.ค. 65 ให้ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย เพราะอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นแตะ 7.04% เผื่อใครยังไม่รู้ว่า เงินเฟ้อ คืออะไร เราขออธิบายว่า เป็นภาวะเศรษฐกิจที่ระดับราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง หรือหากพิจารณาจากค่าของเงิน “เงินเฟ้อ” หมายถึง ภาวะเศรษฐกิจที่ค่าเงินมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง กระทบต่อการซื้อของชิ้นเดิมนั้นต้องใช้เงินมากกว่าเดิม
กลับมาที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯในเดือน ธ.ค. 64 พุ่งแตะ 7.04% นำโดยการปรับขึ้นของราคาสินค้า พลังงานปรับขึ้นถึง 29.3% ส่วนอาหารและเครื่องดื่มขึ้นเพียง 6.3% ขณะที่เจาะลึกในหมวดอาหารของสหรัฐฯนำโดย เนื้อวัวเพิ่ม 20.1% ,เนื้อหมูเพิ่ม 14.1% ,ไข่ไก่ขึ้น 11.6% และเนื้อไก่พุ่ง 8.8% รวมผลกระทบจากห่วงโซ่อุปทานหรือที่ใครหลายคนเรียกว่า (Supply Chain) นับการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า ปัจจุบันสหรัฐฯขาดคนในภาคการขนส่งทำให้จัดหาสินค้าไม่ได้ตามความต้องการของประชากรจึงดันราคาสินค้าให้เพิ่มสูงขึ้น
แต่เงินเฟ้อที่ร้อนแรงเป็นเงื่อนไขสำคัญของธนาคารกลางสหรัฐฯต้องปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อ โดยหุ้นที่เรามองว่า จะหาประโยชน์จากสถานการณ์นี้ คือ หุ้นกลุ่มธนาคาร เนื่องจากแนวโน้มดอกเบี้ยของสหรัฐฯขาขึ้นรอบนี้ จะกระทบต่อนโยบายการเงินทั่วโลก มีโอกาสที่ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ปรับขึ้นตาม จึงเป็นผลบวกต่อหุ้นกลุ่มธนาคาร ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น จูงใจให้ธนาคารทำโปรโมชั่นเพื่อดึงเงินฝากจากประชาชน โดยประชาชนจะได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยในการฝากเงิน และธนาคารเองจะมีวงเงินในการปล่อยเงินกู้เพิ่มขึ้น
เราอยากให้ลองคิดตามว่า ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากราวๆ 1-2% 9 ต่อปี แต่ธนาคารจะปล่อยกู้กับ ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Minimum Loan Rate) 5.47% ต่อปี ,ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate) 5.84% ต่อปี , และลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate) 5.97% ต่อปี
จากวิธีนี้จะเห็นภาพ ธนาคารจะได้เงินระยะสั้น (เงินฝาก) ไปปล่อยกู้ระยะยาว ทำให้ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากเพียง 1-2% ต่อปี แต่การปล่อยกู้ได้ดอกเบี้ยราว 5-6% ต่อปี ส่วนต่างที่ธนาคารจะได้ราว 3- 4% และนี่ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมที่ธนาคารจะได้
เราจึงแนะนำเข้าในหุ้น SCB เพราะได้รับปัจจัยบวกจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ประกอบกับการเคลื่อนไหวของราคา SCB เป็น Sideway กรอบ 120-135 บาท การเคลื่อนไหวต่างจากหุ้นธนาคารอื่นๆ หากสนใจซื้อ SCB แนะนำ Long 122-124 บาท ส่วนเป้าการทำกำไรบริเวณ 130-135 บาท และมีจุด Stop Loss 120 บาท
Array ( [Secure-PHPSESSID] => uq7pbpnu1vq5n2hdll4b7v1s3g [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732512663 [CAFXSI18NX] => en [_csrf] => 1ea8d36429c733f9ab03cb0e21fec79e [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=en&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2Fanalyze-scb-stock-2022.html )
Array ( [content] => analyze-scb-stock-2022 )
Array ( )