Posted on Thursday, July 7, 2022
อัตราเงินเฟ้อไทยเดือน มิ.ย. 2565 ขึ้นมาแตะ 7.66% นับเป็นเงินเฟ้อของไทยที่สูงสุดในรอบ 13 ปี ทำให้นักลงทุนต้องวิเคราะห์ว่า เงินเฟ้อมาจากไหนบ้าง จะได้กำหนดทิศทางการลงทุนหลังจากนี้
โดยอัตราเงินเฟ้อเกิดขึ้นจาก 2 ส่วน ได้แก่ 1.เงินเฟ้อเกิดจาก ต้นทุนสินค้า หรือ เงินเฟ้อด้านอุปทาน (Cost - Push Inflation) มาจากต้นทุนการผลิตสินค้า และ2.เงินเฟ้อ ด้านอุปสงค์ (Demand-Pull Inflation) มาจากความต้องการใช้จ่าย ซึ่งเงินเฟ้อไทยในเดือน มิ.ย. เพิ่มจาก Cost - Push Inflation เพราะราคาพลังงาน +39.9%, ,ค่าไฟฟ้า +45.41% ,น้ำมัน 39.45% ,ก๊าซหุงต้ม +12.63% ทั้งนี้ราคาอาหารก็เพิ่มขึ้นจากน้ำมันที่เป็นต้นทุนแฝงในกระบวนการผลิตสินค้าอาหารทุกขั้นตอน ตลอดจนเป็นต้นทุนโลจิสติกส์ และราคาวัตถุดิบทั้งหมด
ซึ่งแนวโน้มราคาพลังงานที่ปรับขึ้นจาก 2 ส่วน ได้แก่ 1.เกิดจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ทำให้ชาติตะวันตกหาทางแบนรายได้หลักของรัสเซีย โดยรายได้หลักของพลังงาน โดยปัจจุบัน สหรัฐฯและอังกฤษได้แบนพลังงานจากรัสเซียไปแล้ว และการแบนพลังงานกำลังลามไปยังยุโรปผ่านการประชุม G-7
ทั้งนี้ JP Morgan กังวลว่า ราคาน้ำมันดิบอาจพุ่งขึ้น 240% แตะระดับ 380 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หากรัสเซียลดกำลังการผลิตน้ำมัน 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพราะสัปดาห์ที่ผ่านมากลุ่ม G7 ได้ประชุมเพิ่มหาทางลดรายได้ของรัสเซียหนึ่งในรายได้หลักคือ น้ำมัน หากรัสเซียลดกำลังการผลิตน้ำมัน 5 ล้านบาร์เรลต่อวันจะทำให้อุปทาน และอุปสงค์ไม่ได้อยู่ในจุดดุลยภาพ มีแนวโน้มที่ราคาน้ำมันดิบ Brent จะปรับขึ้นทันที 50% และหากรัสเซียลดกำลังการผลิตน้ำมัน 5 ล้านบาร์เรลต่อวันซึ่งสะสมไปเรื่อยๆ ราคาน้ำมันดิบจะขึ้นถึง 380 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และหากรัสเซียลดกำลังการผลิตน้ำมัน 3 ล้านบาร์เรลต่อวัน จะดันราคาน้ำมันให้อยู่ที่ 190 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นักลงทุนต้องจับตาว่า กลุ่ม G-7 จะหาทางที่จะแบนน้ำมันจากรัสเซียอย่างไร หรือรัสเซียจะเป็นผู้ที่เริ่มงดการส่งออกก่อน ไม่ว่าทางไหนก็ถือว่าเป็นหายนะทางเศรษฐกิจทั้งนั้น
2.กำแพงภาษีสินค้านำเข้าจากจีนที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนที่ 45 สร้างขึ้นมีมูลค่ามากถึง 360,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ราคาวัตถุดิบของสหรัฐฯเพิ่มขึ้น ต้องจับตาว่า ไบเดนกำลังหาทางลดราคาวัตถุดิบได้หรือไม่ เรียกได้ว่า ปัญหาเงินเฟ้อจะเขย่าอำนาจของไบเดน เพราะอดีตที่ผ่านมาในสหรัฐฯ หากเกิดเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ ไม่เคยมีประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใดสามารถอยู่ต่อสมัยที่สองได้เลย
หากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังเพิ่มขึ้น อาจทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมเงินเฟ้อ ซึ่งส่งให้ดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้เพิ่ม ,ต้นทุนทางการเงินเพิ่ม ประชาชนลดการลงทุนและบริโภค , ภาคธุรกิจมีต้นทุนจากดอกเบี้ยที่เพิ่ม ,ดอกเบี้ยเงินฝากที่สูง จูงใจให้ประชาชนฝากเงินเพิ่ม ภาคสุดท้าย คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะลดลง และเงินเฟ้อกดลง
จากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทำให้กังวลว่า หุ้นที่เกี่ยวกับการขายสินค้าอย่าง กลุ่มค้าปลีก อาจมียอดขายตกและแนะนำว่า อย่าได้ถือในช่วงนี้(BJC ,CPALL ,และCRC ) และหุ้นที่จะได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อ คือ ส่งออก เพราะค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯอ่อน อย่าง CPF และ GFPT
Array ( [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV [Secure-PHPSESSID] => bt0nmt1tpk5gba180n828bd1qk )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732495655 [CAFXSI18NX] => en [_csrf] => 5a9019ad95763701872e5b5714c56a13 [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=en&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2Fanalyze-inflation-thai.html )
Array ( [content] => analyze-inflation-thai )
Array ( )