Posted on Wednesday, November 23, 2022
การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED) ในปี 2565 ขึ้นมาแล้วถึง 6 ครั้ง กระทบต่อดอกเบี้ยสหรัฐฯให้ขึ้นไปแตะระดับ 4% นับเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินไหลกลับเข้าตลาดการเงินสหรัฐฯมากขึ้น กดดันให้ธนาคารกลางนานาประเทศต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งในปี 2565 ดอลลาร์แข็งค่าถึง +11% และกดดันราคาทองคำให้ลงไปถึง -4.3% กำลังจะอธิบายว่าการแข็งของดอลลาร์มีผลต่อราคาทองคำในทางตรงกันข้าม ดังนั้นนักลงทุนทองคำควรสนใจค่าเงินดอลลาร์ และบทความนี้จะอธิบายที่มาที่ไปของอัตราดอกเบี้ยนโยบายคืออะไร ,เหตุผลที่ FED ต้องขึ้นดอกเบี้ย ,เงินเฟ้อมาจากไหน ,แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ,เงื่อนไขการขึ้นดอกเบี้ยของ FED และสถิติทองคำขณะที่ FED ขึ้นดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย คือ อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดโดยธนาคารกลาง เป็นอัตราที่ธนาคารกลางจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารพาณิชย์ที่นำเอาเงินมาฝาก หรือเป็นอัตราที่ธนาคารกลางเก็บดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์ที่มากู้เงิน อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์คิดกับลูกค้าที่เป็นผู้กู้หรือผู้ฝากเงินต่อไป สรุปอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่กำหนดโดยธนาคารกลางจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจ
และปัจจุบันธนาคารกลางสหรัฐฯได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยแตะ 4% ทำให้ธนาคารพาณิชย์จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ตาม ต้นทุนทางการเงินในสหรัฐฯจึงเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของประชาชน กระทบราคาสินค้าและบริการ ลดความต้องการผลิตของภาคธุรกิจ และมีความเสี่ยงการลดต้นทุน อาจลดการจ้างงาน ส่งผลให้ภาพใหญ่อย่าง การบริโภค(C)และการลงทุน(I)ลดลง
ทำไม FED ต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพราะอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขออธิบายที่มาของเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงจะเป็นเงินเฟ้อ โดยมาจาก 2 ปัจจัย
1.Demand Pull Inflation เงินเฟ้อที่เกิดจากความต้องการซื้อสินค้าและบริการของประชากร อธิบายอย่างง่ายๆ เหมือนกับ กระเป๋า BrandName อื่นๆที่มีการผลิตจำกัด แต่ความต้องการมากกว่าการผลิต ทำให้ราคากระเป๋า BrandName เพิ่มขึ้นตามความต้องการของผู้ซื้อ
2.Cost - Push Inflation เงินเฟ้อที่เกิดจากผู้ผลิต แบ่งเป็น 3 ส่วน 2.1 ราคาวัตถุดิบอย่างราคาพลังงาน 2.2 การเพิ่มขึ้นของค่าจ้าง 2.3 ความโลภของผู้ผลิต
ปัจจัยทำให้เงินเฟ้อของสหรัฐฯเพิ่มขึ้นจาก 1.ในปีที่ 2560 ทรัมป์ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำของสหรัฐฯ ประธานาธิบดีคนที่ 45 ใช้นโยบาย America Great Again เริ่มใช้มาตรการกำแพงภาษีกับสินค้าจีนในปี 2561 ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าในสหรัฐฯสูงขึ้นส่งให้เงินเฟ้อเพิ่มในส่วน Cost - Push Inflation 2.เกิดการระบาดโควิด-19 ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯประกาศล็อกดาวน์ ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯตกต่ำ จึงทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED) ลดดอกเบี้ยสหรัฐฯเหลือ 0-0.25% และใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative easing = QE) ทำกระทบเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทาง Demand Pull Inflation ทั้งนี้การระบาดโควิด-19 ทุกประเทศใช้การล็อกดาวน์เพื่อปกป้องการระบาดกระทบกับการผลิตสินค้าทั่วโลก จึงเกิดปัญหา ห่วงโซ่อุปทาน (Sustainable Supply Chain) จึงเพิ่มเงินเฟ้อที่เกิดจาก Cost - Push Inflation 3.สถานการณ์ความรุนของรัสเซียกับยูเครนเป็นที่มาของราคาพลังงานและอาหารเพิ่มขึ้นเกิดเงินเฟ้อที่เกิดจาก Cost - Push Inflation
หากสังเกตอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเกิดจาก Cost - Push Inflation โดย Cost - Push Inflation มาทางราคาวัตถุดิบเป็นหลัก
หลังจากเริ่มเข้าใจว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯต้องการขึ้นเพราะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน ,โควิด-19 ,และสถานการณ์ความรุนของรัสเซียกับยูเครน มาถึงคำถามสำคัญ หลังจากนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯจะขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่
คำตอบว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะขึ้นดอกเบี้ยอีกนานจะแสดงผ่าน Implied fed funds target rate ที่กำลังอธิบายมุมมองการใช้ดอกเบี้ยนโยบายของ FED ผ่านสมาชิกคณะกรรมการ FOMC ในเดือน พ.ย. สรุปได้ว่า ความเป็นไปได้ในปี 2565 ดอกเบี้ยแตะ 4.25-4.50% ส่วนปี 2566 ดอกเบี้ยมีโอกาสเห็น 4.50-5.00%
ส่วนเงื่อนไขการขึ้นดอกเบี้ยของ FED 3 อย่าง เรียงตามความสำคัญ คือ 1.อัตราเงินเฟ้อ ,2.เศรษฐกิจ 3.ตัวเลขภาคแรงงาน
1.อัตราเงินเฟ้อ(CPI)
จากกราฟและตารางแสดงถึงข้อมูลของอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯและราคาทองคำโลก กำลังจะสื่อถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาทองคำกับเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เนื่องจาก FED ใช้อัตราเงินเฟ้อในการตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยในช่วงเดือน ส.ค. ทำให้นักลงทุนเริ่มสนใจเงินเฟ้อมากขึ้น และทุกครั้งที่เงินเฟ้อสูง นักลงทุนจะเก็งว่า มีโอกาสที่ FED จะขึ้น
ดอกเบี้ย(-ทอง) และหากเงินเฟ้อเริ่มลดลง นักลงทุนจะเก็งว่า มีโอกาสที่ FED จะลดดอกเบี้ย(+ทอง)
กลับไปที่ประเด็นสำคัญที่สุดสถิติทองคำก่อนและเวลาที่ FED ขึ้นดอกเบี้ยสามารถชมผ่านตารางการขึ้นดอกเบี้ยกับการเปลี่ยนแปลงของราคาทองคำ
เรียกได้ว่า การขึ้นดอกเบี้ยของ FED มีโอกาสลบต่อราคาทองคำมากกว่าบวก ทั้งนี้ราคาทองคำไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากการใช้นโยบายการเงินของสหรัฐฯ และควรจับตาอีก 4 ปัจจัย คือ
1. US Dollar Index เพราะราคาทองคำซื้อขายเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นหลัก หาก US Dollar Index ปรับลง(อ่อนค่า) ราคาทองคำจะมีราคาเพิ่มขึ้น หรือหาก US Dollar Index ปรับขึ้น(แข็งค่า) ราคาทองคำจะปรับลง
2.อุปสงค์ และอุปทานทองคำ ประเด็นอุปสงค์ของทองคำมาจาก 4 ความต้องการได้แก่ เครื่องประดับ(Jewellery) ,เทคโนโลยี(Technology) ,การลงทุน(Investment) ,และการสำรองทองคำของธนาคารแต่ละประเทศ (Central Banks and other institutions) ส่วนอุปทานทองคำ 3 อย่างได้แก่ ผลผลิตจากเหมืองแร่ (Mine Production) ,การขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงของผู้ผลิต (Net Producer Hedging),เศษทองคำเก่าที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ (Recycled Gold)
3.อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เรียกได้ว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯมีความสัมพันธ์กับทองคำ เนื่องจากว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯจะกำหนดให้ US Dollar Index แข็งค่าหรืออ่อนค่า โดยอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นจะกระทบเชิงลงต่อ GDP ของสหรัฐฯ ขออธิบาย GDP เป็นตัวเลขที่ชี้วัด การบริโภค การลงทุนของเอกชนและรัฐ รวมถึงการส่งออกและนำเข้า หาก GDP ลดลงก็เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจน้อยลง และทำให้ US Dollar Index อ่อนค่า ราคาทองคำปรับขึ้น
4.วิกฤติการณ์ระดับโลกเพราะทุกครั้งที่นักลงทุนเจอวิกฤตการณ์ระดับโลกจะกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างรุนแรง ทำให้นักลงทุนต้องหาสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงได้ และหนึ่งในสินทรัพย์นั้นคือ “ทองคำ”
Array ( [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV [Secure-PHPSESSID] => 9505un254rcfikfseggnv9740f )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1733951822 [CAFXSI18NX] => en [_csrf] => b83aa978e169f60c144ec182824af8c4 [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=en&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2Fanalyze-gold-2-stock-2022.html )
Array ( [content] => analyze-gold-2-stock-2022 )
Array ( )