Classic Ausiris Investment Advisory Securities Co., Ltd

ปัจจัยอะไร ?? ที่ทำให้ เงินบาทแข็งค่า และเงินบาทอ่อนค่า

ปัจจัยอะไร ?? ที่ทำให้ เงินบาทแข็งค่า และเงินบาทอ่อนค่า

Posted on Monday, September 23, 2019


เงินบาทแข็งค่า หรือเงินบาทอ่อนค่า เกิดจากความต้องการของมนุษย์เป็นหลักหรือก็คือ ความต้องการซื้อ (อุปสงค์) และความต้องการขาย (อุปทาน) เงินสกุลไหนที่มีความต้องการมากหรือไม่มีความต้องการ ปริมาณเสนอซื้อและเสนอขายก็จะขยับไปตามความต้องการของมนุษย์หมู่มาก โดยจะมีปัจจัยต่างๆที่เข้ามากระทบทำให้ความต้องการของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

ดุลการค่าและการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

– หากประเทศไทยเกินดุลการค้า คือ มีมูลค่าส่งออกมากกว่ามูลค่านำเข้า หรือ มีเงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศมากๆ ประเทศก็จะมีเงินดอลลาร์ฯ “มากขึ้น” เงินทุนที่ย้ายเข้ามาจะถูกแลกจากเงินดอลลาร์ฯเป็นเงินบาท ทำให้อุปสงค์หรือความต้องการเงินบาทเพิ่มขึ้นส่งผลให้เงินบาทมีค่าเพิ่มขึ้น (ค่าเงินบาทแข็งขึ้น)
– ประเทศไทยขาดดุลการค้า คือ มีมูลค่าส่งออกน้อยกว่านำเข้า หรือ มีเงินทุนเคลื่อนย้ายออกจากประเทศมากๆ ก็จะทำให้ประเทศมีเงินดอลลาร์ฯ “น้อยลง” มีความต้องการแลกเงินบาทเป็นเงินดอลลาร์ฯ เพื่อนำออกนอกประเทศมากขึ้น ส่งผลให้เงินบาทมีค่าลดลง (ค่าเงินบาทอ่อนค่า)

อัตราดอกเบี้ย

โดยปกติเงินทุนจะเคลื่อนไหวจากประเทศที่อัตราดอก “เบี้ยต่ำ” กว่าไปประเทศที่อัตราดอกเบี้ย “สูงกว่า” เนื่องจากนักลงทุนมองว่าผลตอบแทนให้มากกว่าจากความเสี่ยงประเภทเดียวกัน แต่ในท้ายที่สุดแล้วอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนของทั้งสองประเทศ เช่น

– หากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกาปรับตัว “ลดลง” จะทำให้อัตราดอกเบี้ยไทย “ไม่ได้เปลี่ยนแปลง” โดยเปรียบเทียบ ทำให้ส่งผลให้มีเงินลงทุนเคลื่อนย้ายเข้าประเทศไทยมากขึ้น เงินทุนที่เคลื่อนย้ายเข้ามาจะถูกแลกเป็นเงินบาททำให้ความต้องการซื้อเงินบาทสูงขึ้น ค่าเงินบาทจึงแข็งค่าขึ้น
– ในทางตรงกันข้าม หากอัตราดอกเบี้ยไทยปรับตัวลดลง ก็จะทำให้อัตราดอกเบี้ยโดยเปรียบเทียบของไทยกับต่างประเทศที่ยัง “ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย” ส่งผลให้มีเงินทุนไหลออก จึงมีความต้องการขายเงินบาทเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินดอลลาร์ฯเพิ่มขึ้นค่าเงินบาทจึงอ่อนค่าลง

นโยบายการเงินของธนาคารกลาง

ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถกำหนดปริมาณเงินบาทในระบบการเงินผ่านมาตรการต่างๆ เช่น มาตรการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง และการดำเนินการผ่านตลาดการเงิน เป็นต้น ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะส่งผลให้อุปสงค์และอุปทานของเงินบาทเปลี่ยนแปลงไป และทำให้ค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลงตาม เช่น
– ธนาคารกลางเห็นว่าเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงเกินไป จึงกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมายเพิ่มขึ้น ทำให้เงิน ที่ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้มีจำนวนลดลง ส่งผลให้ปริมาณเงินบาทในประเทศลดลงตาม จึงเปรียบเสมือนกับการลดอุปทานหรือปริมาณของเงินบาททำให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะแข็งขึ้น
– ธนาคารกลางเห็นว่าเงินฝืดอยู่ในระดับสูงเกินไป จึงกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ลดระดับอัตราดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น เปรียบเสมือนการเพิ่มอุปทานของเงินบาท ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลง

ปัจจัยอื่นๆ

นอกเหนือจากปัจจัยข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อค่าเงินบาท เช่น ความไม่มั่นคงทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และ เสถียรภาพทางการเงินของประเทศ เป็นต้น

อ่านบทความ "เงินบาทผันผวน (แข็งค่าหรืออ่อนค่า) สำคัญอย่างไร"

Open Account TFEX
Get Special Offers Now!!
Array
(
    [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV
    [Secure-PHPSESSID] => p11fa8kbr8nu94076gl7na5qs4
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1732191935
    [CAFXSI18NX] => en
    [_csrf] => 3b70b34a6aaf52418f6bcbe2b8ab7220
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=en&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2FExchange-rate-factors.html
)
		
Array
(
    [content] => Exchange-rate-factors
)
		
Array
(
)