อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ
อีกทางเลือกของการบริหารความเสี่ยงบนอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ว่าค่างเงินจะแข็งค่าหรืออ่อนค่า
เงินบาทจะ แข็งค่า หรือ อ่อนค่า ก็สามารถเก็งกำไรหรือบริหารความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ โดยที่ไม่ต้องมีการถือครองเงินสกุลดอลลาร์จริงๆ
เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ และหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยสามารถบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้
เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ทำธุรกิจส่งออกนำเข้า ที่มีความเสี่ยงในเรื่องของค่าเงินในแต่ละวัน โดยเป็นทางเลือกใหม่สำหรับบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
ทุกข้อมูลสำคัญ ที่ทำให้การตัดสินใจลงทุนของคุณเป็นเรื่องง่าย โดยทีมนักวิเคราะห์คุณภาพจากออสสิริส
หัวข้อ | ลักษณะของสัญญา |
---|---|
สินค้าอ้างอิง | อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ |
ชื่อย่อสัญญา | USD |
ขนาดของสัญญา | 1,000 USD |
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ | เดือนปฏิทินที่ต่อเนื่องเรียงลำดับกัน 3 เดือนที่ใกล้ที่สุด และเดือนสุดท้ายของไตรมาสที่ถัดไป (มีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม) อีก 1 เดือน |
ราคาเสนอซื้อขาย | เป็นเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอเมริกา โดยมีจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง |
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ | 0.01 หรือเทียบเท่ากับ 10 บาทต่อสัญญา |
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ของราคาสูงสุดแต่ละวัน | + 2% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด โดยหากมีการซื้อขายที่ Ceiling & Floor จะหยุดการซื้อขายชั่วคราว และจะขยาย Daily Price Limit เป็น ± 4% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด |
เวลาซื้อขาย | Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Morning session:
09:45 น. - 12:30 น.
Pre-open:
13:15 น. - 13:45 น.
Afternoon session:
13:45 น. - 16:55 น.
Pre-open:
18:45 น. - 18:50 น.
Night session:
18:50 น. - 03:00 น. (ของวันถดไป)
|
จำนวนการถือครองสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสูงสุด | ห้ามมีฐานะสุทธิใน USD Futures ที่หมดอายุเดือนใดเดือนหนึ่ง หรือทั้งหมด เกิน 10,000 สัญญา |
วันซื้อขายวันสุดท้าย | วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่ชำระราคา หรือส่งมอบของสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น โดยในวันนั้นสัญญาที่สิ้นสุดอายุจะซื้อขายได้ถึงเวลา 11:00 น. |
ราคาที่ใช้ชำระราคาในวันซื้อขายวันสุดท้าย | ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่ประกาศ โดย Thomson Reuters ณ เวลา 11:00 น. ในวันสุดท้ายของการซื้อขาย |
วิธีการส่งมอบ/ชำระราคา | ชำระราคาเป็นเงินสด |
หลักประกันสองประเภทหลักๆ ที่ผู้ลงทุนควรให้ความสนใจก่อนซื้อขาย ได้แก่ หลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) และหลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin) เนื่องจากในการซื้อขายอนุพันธ์ ผู้ลงทุนต้องวางเงินประกันขั้นต้นตามระดับที่โบรกเกอร์อนุพันธ์กำหนดไว้ก่อนการซื้อขาย และหลังจากซื้อขายแล้ว โบรกเกอร์จะคำนวณกำไรขาดทุนให้ผู้ลงทุนทุกวันทำการ ทำให้เงินในบัญชีของผู้ลงทุนอาจเคลื่อนไหว เพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามราคาฟิวเจอร์สที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน
ทั้งนี้ อัตราหลักประกันที่โบรกเกอร์เรียกเก็บจากผู้ลงทุน จะใช้แนวทางที่ชมรมผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (FI Club) กำหนดใน มาตรฐานการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักประกันซึ่งปัจจุบันสำหรับผู้ลงทุนทั่วไปกำหนด 1.9 เท่า และ ผู้ลงทุนสถาบันกำหนด 1.35 เท่า ของอัตราที่บริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Thailand Clearing House (TCH) กำหนด
Array ( )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732170275 [CAFXSI18NX] => th [_csrf] => 73ebda0021dfec3d99b2aaf61819cdc1 [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/product/usd-futures.html )
Array ( [type] => usd-futures )
Array ( )