บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

ผลิตภัณฑ์ RSS3 Futures

RSS3 Futures
โอกาสในการทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคา

เนื่องจากราคามีการเคลื่อนไหวขึ้น-ลงอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นสินค้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมที่หลากหลายจึงมีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคายางพารา ทำให้เป็นโอกาสของนักลงทุนที่สามารถเข้าไปหาโอกาสทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาได้

เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงสำหรับผู้ประกอบการ

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาก็สามารถเข้าซื้อหรือขายใน RSS3 Futures ตามที่ท่านเห็นแนวโน้มของราคาจะเป็นไปในทิศทางใด จากนั้นก็สามารถนำผลกำไรหรือขาดทุนที่ได้จาก Futures ไปชดเชยได้

ไม่ต้องมีสินค้าจริงก็สามารถซื้อขายได้อย่างคล่องตัว

ผู้ที่เข้ามาซื้อขายสัญญาล่วงหน้าไม่จำเป็นต้องมีสินค้าจริง หรือไม่ต้องอยู่ในธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยางพาราก็สามารถเข้ามาใช้ตลาดและหาโอกาสในการทำกำไรจากสินค้า RSS3 Futures ได้เช่นกัน

การวางหลักประกันความเสี่ยง RSS3 FUTURES


ตัวอย่าง การคำนวณกำไรขาดทุนจากส่วนต่างของราคา และการคำนวณ Margin เบื้องต้น คำนวณเพื่อสามารถวางแผนการวางเงินหลักประกันที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้

บทวิเคราะห์ประจำวัน

ทุกข้อมูลสำคัญ ที่ทำให้การตัดสินใจลงทุนของคุณเป็นเรื่องง่าย โดยทีมนักวิเคราะห์คุณภาพจากคลาสสิก ออสสิริส

หมายเหตุ: ลักษณะของสัญญาข้างต้น ได้มีการปรับปรุงเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ผู้สนใจสามารถดูแบบของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว ตามกฎเกณฑ์ของ การจัดให้มีการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
หัวข้อ ลักษณะของสัญญา
สินค้าอ้างอิง ยางแผ่นรมควันชั้น 3 (Natural Rubber Ribbed Smoked Sheet No.3: RSS3) ตามมาตรฐาน Green Book ทั้งนี้สินค้าที่ส่งมอบต้องเป็นสินค้าที่ได้มาตตราฐานและผลิตจากผู้ผลิตตามหลักเกณฑ์ที่สานักหักบัญชีกาหนด
ชื่อย่อสัญญา RSS3
ขนาดของสัญญา 5,000 กิโลกรัม (5 ตัน)
ขนาดการรับมอบ/ส่งมอบ 20,000 กิโลกรัม (20 ตัน) หรือเทียบเท่า 4 สัญญา
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ ทุกเดือนปฏิทินที่ต่อเนื่องเรียงลาดับกัน 7 เดือนที่ใกล้ที่สุด
ราคาเสนอซื้อขาย บาทต่อยางแผ่นรมควัน 1 กิโลกรัม
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ 0.05 บาท (คิดเป็น 250 บาทต่อสัญญา)
ช่วงการเปลี่ยนแปลง
ของราคาสูงสุดแต่ละวัน
±10% ของราคาที่ใช้ชาระราคาล่าสุด
เวลาซื้อขาย
Pre-open:
09:15 น. - 09:45 น.
Open session:
09:45 น. - 16:55 น.
การจำกัดฐานะ 1. สัญญาที่หมดอายุในเดือนที่ส่งมอบหรือชำระราคาใกล้ที่สุดไม่เกิน 1,000 สัญญา
2. สัญญาที่หมดอายุในเดือนใดเดือนหนึ่งหรือทุกเดือนรวมกันไม่เกิน 10,000 สัญญา
วันซื้อขายวันสุดท้าย วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่ส่งมอบหรือชำระราคาของสัญญาหมดอายุ
วิธีการส่งมอบสินค้า ให้ทำการส่งมอบสินค้าภายในระยะเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด โดยผู้ซื้อสามารถเลือกเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่าง
1.การส่งมอบสินค้าแบบ Free On Board (F.O.B.) ณ ท่าเรือกรุงเทพ หรือ ท่าเรือแหลมฉบัง หรือ ท่าเรืออื่นๆ ตามที่ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากำหนด
2.การส่งมอบสินค้าในประเทศ ณ คลังสินค้าหรือโรงงานสถานที่ที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันในเขตกรุงเทพมหานคร นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร
สระบุรี ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี หรืออื่นๆ ตามที่สำนักหักบัญชีกำหนด ทั้งนี้ สินค้าที่ส่งมอบต้องเป็นสินค้าที่ได้มาตรฐานและผลิตจากผู้ผลิตตามหลักเกณฑ์ที่สำนักหักบัญชีกำหนด
วิธีการส่งมอบ/ชำระราคา 1.ให้ชำระราคาด้วยการส่งมอบสินค้า (Physical Delivery) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักหักบัญชีกำหนด
ทั้งนี้ ราคาสำหรับการส่งมอบสินค้าให้เป็นไปตามที่ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากำหนด
2.กรณีที่ไม่สามารถจับคู่รับมอบ/ส่งมอบ หรือผู้ลงทุนไม่มีความสามารถในการรับมอบ/ส่งมอบสินค้า หรือไม่ยื่นความจำนงในการรับมอบ/ส่งมอบสินค้า ให้ชำระราคาเป็นเงินสด
(Cash Settlement) ด้วย Final Settlement Price
3.Final Settlement Price จะใช้ราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามปริมาณการซื้อขาย (Volume Weighted Average Price: VWAP)
ในวันซื้อขายวันสุดท้าย Last Trading Day หากการซื้อขายมีปริมาณขั้นต่ำตามที่ตลาดกำหนด (กำหนดจำนวนสัญญาขั้นต่ำและ/หรือสัดส่วนจากสถานะคงค้าง)
กรณีปริมาณการซื้อขายไม่ถึงระดับที่กำหนด ให้ใช้ราคาเฉลี่ย 3 วันสุดท้ายของ Daily Settlement Price

    หลักประกันสองประเภทหลักๆ ที่ผู้ลงทุนควรให้ความสนใจก่อนซื้อขาย ได้แก่ หลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) และหลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin) เนื่องจากในการซื้อขายอนุพันธ์ ผู้ลงทุนต้องวางเงินประกันขั้นต้นตามระดับที่โบรกเกอร์อนุพันธ์กำหนดไว้ก่อนการซื้อขาย และหลังจากซื้อขายแล้ว โบรกเกอร์จะคำนวณกำไรขาดทุนให้ผู้ลงทุนทุกวันทำการ ทำให้เงินในบัญชีของผู้ลงทุนอาจเคลื่อนไหว เพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามราคาฟิวเจอร์สที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน

    ทั้งนี้ อัตราหลักประกันที่โบรกเกอร์เรียกเก็บจากผู้ลงทุน จะใช้แนวทางที่ชมรมผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (FI Club) กำหนดใน มาตรฐานการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักประกันซึ่งปัจจุบันสำหรับผู้ลงทุนทั่วไปกำหนด 1.9 เท่า และ ผู้ลงทุนสถาบันกำหนด 1.35 เท่า ของอัตราที่บริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Thailand Clearing House (TCH) กำหนด

Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1737542948
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => a8354aec9000d5ec17d82a88d5105124
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/product/rss3-futures.html
)
		
Array
(
    [type] => rss3-futures
)
		
Array
(
)