บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

ขั้นตอนการซื้อขาย TFEX

ขั้นตอนการซื้อขาย TFEX

เผยแพร่เมื่อ วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2562


การซื้อขาย TFEX หรือ เทรด TFEX ที่ได้ยินกันบ่อยๆ นั้นคือการซื้อซื้อขาย Futures หรือ Options ในตลาด TFEX นั้นเอง ซึ่งวิธีการซื้อขายและขั้นตอนก็มีความคล้ายคลึงกันกับหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อยู่ทีเดียว แต่การเทรด TFEX นั้นสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง อีกทั้งยังใช้เงินลงทุนที่น้อยกว่าด้วย แต่ก่อนอื่นเรามาดู 6 ขั้นตอนสำคัญที่ทำให้นักลงทุน TFEX มือใหม่ กลายเป็นมือโปรกันได้เลย.. 

(1) ศึกษาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการลงทุนใน TFEX

นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวของกับการลงทุน TFEX อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์ ต่างๆในตลาด TFEX ขั้นตอนวิธีการซื้อขาย กลยุทธ์การลงทุนต่างๆ รวมถึงข่าวสารการลงทุนต่างๆ  เนื่องจากผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนนั้นตามมาด้วยความเสี่ยงอยู่เสมอ (High Risk High Return) ฉะนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพื่อให้ความรู้เหล่านั้นสามารถลดความเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะความเสี่ยงจากการไม่รู้ออกไปให้หมด (อาจจะไม่หมดแต่ควรจะทำให้ได้มากที่สุด) จนถึงระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนสามารถรับได้เพื่อผลตอบแทนที่คาดหวัง อย่างที่เราเคยได้ยินบ่อยๆว่า #การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจ จะได้ไม่เจ็บตัวกันที่หลังเนอะ

(2) เปิดบัญชีซื้อขายกับโบรกเกอร์ ผู้ให้บริการ

การเปิดบัญชชีซื้อขาย TFEX นั้นนักลงทุนต้องเปิดกับผู้ให้บริการซึ่งต้องเป็นผู้ให้บริการที่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นสมาชิกของตลาดอนุพันธ์ (Classic Ausiris ก็เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านการซื้อขาย TFEX ครบวงจรและเป็นสมาชิกของตลาดอนุพันธ์ด้วยนะ) เพื่อความปลอดภัย น่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้ ทำให้นักลงทุนสามารถลงทุนใน TFEX อย่างปลอดภัย และมั่นใจในคุณภาพที่ได้รับอย่างมีมาตรฐาน และเป็นไปตามกฏหมายคุ้มครอง ซึ่งเป็นประโยชนสูงสุดแก่ตัวผู้ลงทุนเอง

(3) เตรียมเงินหลักประกันให้พร้อมสำหรับการซื้อขาย TFEX

การซื้อขาย TFEX นั้นจะไม่ต้องชำระราคาสินทรัพย์เต็มมูลค่าเหมือนกับการซื้อขายหุ้น แต่จะวางเพียงแค่เงินหลักประกันส่วนหนึ่งหรือเงิน Margin นั้นเอง

ซึ่ง เงิน Margin หรือ หลังประกัน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

1.Initial Margin : IM (หลักประกันขั้นต้น)  เป็นหลักประกันที่นักลงทุนต้องนำเงินส่วนหนึ่งมาวางไว้กับบริษัทผู้ให้บริการเพื่อการซื้อขาย TFEX  ซึ่งจำนวนเงินของหลักประกันขั้นต้นนั้น จะแตกต่างกันออกไปตามสินค้านั้นๆ โดยถูกจำนวนเงินของหลักประกันขั้นต้นจะถูกกำหนดโดยตลาดซื้อขายล่วงหน้า

2.Maintenance Margin : MM (หลักประกันรักษาสภาพ)  เป็นหลักประกันที่เปรียบเสมือนระดับยอดเงินคงเหลือต่ำสุดของเงินหลักประกัน (70% ของ IM) หากยอดเงินคงเหลือของหลักประกันลดต่ำกว่าระดับนี้ นักลงทุนจะถูกเรียกให้วางเงินประกันเพิ่ม (Margin Call) โดยต้องวางเพิ่มให้กลับไปเท่ากับ IM ในครั้งแรก

3.Force Margin : FM (หลักประกันปิดสถานะ)  เป็นระดับหลักประกันที่ต่ำที่สุด (30% ของ IM) ในกรณีที่นักลงทุนถูกเรียก Margin Call แล้วยังไม่นำเงินมาวางภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยจะปิดสถานะที่นักลงทุนถืออยู่เพื่อให้หลักประกันคงเหลือไม่ต่ำไปว่าระดับ FM

(4) เริ่มส่งคำสั่งซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ได้เลย

นักลงทุนสามารถส่งคำสั่งการซื้อขายได้เองผ่านโปรแกรมต่างๆ ที่ทางตลาดอนุพันธ์และโบรกเกอร์ผู้ให้บริการรับรอง และยังสามารถติดต่อผู้แนะนำการลงทุนเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำและส่งคำสั่งการซื้อขาย TFEX ผ่านผู้แนะนำการลงทุนได้อีกด้วย  โดยการส่งคำสั่งซื้อขายจะไม่นิยมใช้คำว่า ซื้อ (Buy) หรือ ขาย (Sell) แต่จะเป็น แต่จะใช้คำว่า Long และ Short

  • Long Position คือ ฐานะซื้อ หรือสัญญาว่าผู้ที่ถือสัญญาจะซื้อสินทรัพย์อ้างอิงที่ราคาและเวลาที่กำหนด ซึ่งต่างกันการซื้อสินทรัพย์นั้นๆทันที
    ตัวอย่าง  หากนักลงทุนคิดว่าราคาของ SET50Index จะปรับตัวขึ้นใน 1 เดือนข้างหน้า นักลงทุนจะเลือก เปิด Long Position หากราคาปรับตัวขึ้นตามที่นักลงทุนคาดการณ์นักลงทุนก็จะไดรับกำไรจากส่วนต่างราคาที่ตกลงไว้ แต่หากราคาปรับตัวลดลงผิดจากที่คาดการณ์ไว้นักลงทุนก็จะได้รับผลขาดทุนแทน
  • Short Position คือ ฐานะขาย หรือสัญญาว่าผู้ที่ถือสัญญาจะขายสินทรัพย์อ้างอิงที่ราคาและเวลาที่กำหนด ซึ่งต่างกันการขายสินทรัพย์ในทันที
    ตัวอย่าง  หากนักลงทุนคิดว่าราคาของทอคำ จะปรับตัวลดลงใน 1 เดือนข้างหน้า นักลงทุนจะเลือก เปิด Short Position หากราคาปรับตัวลดลงตามคาดการณ์นักลงทุนก็จะไดรับกำไรจากส่วนต่างราคาที่ตกลงไว้ แต่หากราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นผิดจากที่คาดการณ์ไว้นักลงทุนก็จะได้รับผลขาดทุน

(5) ตรวจสอบสถานะคงค้างและผลกำไร (ขาดทุน) ในแต่ละวัน

ในตลาด TFEX นักลงทุนควรตรวจสอบผลกำไร (ขาดทุน) รวมถึงสถานะคงค้างของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากในทุกๆสิ้นวัน สำนักหักบัญชีภายใต้ตลาดอนุพันธ์จะมีการคำนวณเงินกำไรขาดทุนของทุกๆสิ้นวัน หรือ Mark to Market หากได้กำไรจะมีการโอนเงินส่วนกำไรเข้าบัญชีอนุพันธ์ของท่านในวันทำการถัดไป ในกรณีกลับกันหากเกิดผลขาดทุนทางสำนักหักบัญชีจะหักเงินประกันที่ได้ฝากไว้แทน และหากเกิดผลขาดทุนจนเกินระดับ หลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin) ทางโบรกเกอร์จะเรียกเก็บเงินหลักประกันเพิ่ม (Margin Call) โดยนักลงทุนต้องวางเงินประกันให้กลับเข้าไปเท่ากับหลักประกันขั้นต้นอีกครั้ง

(6) ทบทวนกลยุทธ์และวินัยตนเองอย่างสม่ำเสมอ

นักลงทุนที่ลงทุนในตลาด TFEX ควรตรวจสอบกลยุทธ์ของตนเองอย่างสม่ำเสมอว่า กลยุทธ์ที่นักลงทุนใช้ไปนั้นตรงกับที่ท่านได้ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ และผลตอบแทนของนักลงทุนอยู่ในระดับที่นักลงทุนต้องการหรือไม่ เพราะอะไร ? เปรียบเสมือนการทำการบ้านปิดท้ายอีกครั้ง เพื่อมองหาจุดอ่อนจุดแข็งของนักลงทุนแต่ละคน เพื่อพัฒนาการเทรด TFEX ต่อไปในอนาคต เทรดเสร็จแล้วอย่าลืมทบทวนทำการบ้านจะทำให้เรายิ่งเทรดยิ่งได้ประสบการณ์ (แต่ก็ควรที่จะได้เงินเพิ่มๆขึ้นไปด้วยนะ)

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!
Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1711700783
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => cf0ef7a55a32d5b028108080cc1db9bb
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/how-to-play-tfex.html
)
		
Array
(
    [content] => how-to-play-tfex
)
		
Array
(
)