เผยแพร่เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563
ช่วงแรกคิดว่าเป็นศึกสองฝ่ายระหว่างซาอุฯกับรัสเซีย ที่เปิดศึกหลังจบการประชุมโอเปกและนอกโอเปก ต้นเดือนมีนาคมซึ่งทำให้ราคาน้ำมันลงไปมากกว่า 30% ประเด็นที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง เพราะรัสเซียไม่อยากที่จะลดลงกำลังการผลิตน้ำมันอีกต่อไป เนื่องจากลดไปก็ไม่ได้ประโยชน์ อ้าว..แล้วทำไมการลดกำลังการผลิตน้ำมัน หรือที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า อุปทานลดลงแต่ความต้องการน้ำมันเท่าเดิม น่าจะทำให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นสิ
แต่หากนำข้อมูลการผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก 3 อันดับแรกปรากฎว่า ผู้ผลิตน้ำมันสูงสุดไม่ใช่ซาอุฯกับรัสเซีย แต่เป็นสหรัฐฯที่ผลิตน้ำมันต่อวันมากถึง 12.8 ล้านบาร์เรล รองลงมาเป็นรัสเซียผลิตได้ 11.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และอันดับ 3 ซาอุฯผลิต 9.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน
จากข้อมูลที่นำเสนอ ทำให้เห็นว่าการลดกำลังการผลิตน้ำมันระหว่างกลุ่มโอเปกที่มีซาอุฯเป็นผู้นำกับรัสเซีย ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2559 ลดกำลังการผลิตน้ำมันเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี โดยลดลงกำลังการผลิต 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และกลุ่มโอเปกกับรัสเซียลดกำลังการผลิตถึงเดือนมีนาคม ปี 2563 แต่ราคาน้ำมันในช่วงนี้ไม่มากเท่าไหร่เมื่อเทียบกับการลดกำลังการผลิต 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับไม่มากเท่ากับการลดกำลังผลิต เพราะสหรัฐฯคือผู้ผลิตน้ำมันเบอร์หนึ่งของโลก
พยายามชี้ให้เห็นว่าการจับมือระหว่างโอเปกกับรัสเซียช่วยกันลดกำลังผลิตได้ประสิทธิภาพไม่ตรงตามต้องการ เพราะมีรายใหญ่อย่างสหรัฐฯนั่นเอง
กลับมาที่ประเด็นสามก๊กสงครามราคาน้ำมันโลก มองว่าทั้งสามก๊กคือ สหรัฐฯ ,รัสเซีย ,และซาอุฯ มีกำลังการผลิตและต้นทุนน้ำมันดังนี้
จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้ผมคิดว่า สามก๊ก โดยก๊กที่ผลิตน้ำมันได้เยอะสุดเป็น สหรัฐฯ รองลงมารัสเซีย และสุดท้ายเป็นซาอุฯ ซึ่งจริงๆ แล้วซาอุฯมีกำลังการผลิตน้ำมันมากที่สุด และมีต้นทุนที่ต่ำมาก แต่กลับมาเป็นลูกน้องสหรัฐฯ เนื่องจากต้องการให้สหรัฐฯ คุ้มครองตนที่อยู่ในตะวันออกกลาง มีเสือ สิงห์ กระทิง แรด รอบตัวทำให้ต้องเชื่อสหรัฐฯ แต่รายได้หลักของซาอุฯ มาจากน้ำมันแต่จะผลิตน้ำมันมากก็กลัวโดนสหรัฐฯเท
จึงเกิดความขัดแย้งที่เล่าไปเมื่อต้นบทความที่ซาอุฯกับรัสเซียที่เปิดศึกราคาน้ำมันโดยซาอุประกาศเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันให้ถึงระดับ 12 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมผลิตอยู่ที่ 9.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน พร้อมลดราคาขายน้ำมันดิบตลาดเอเชียลง 4-6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และลด 7 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในตลาดสหรัฐฯ จะเริ่มลดราคาและเพิ่มกำลังการผลิตในเดือน เม.ย. และรัสเซียเพิ่มกำลังการผลิต 5% จากเดิมผลิต 11.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จะเพิ่มเป็น 11.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้ราคาน้ำมันลดลงต่ำกว่าต้นทุนการผลิตของสหรัฐฯ แต่เกมนี้จะพึ่งการผลิตน้ำมันเพิ่มอย่างเดียวไม่ได้ ต้องพึ่งการลดความต้องการน้ำมันด้วย ซึ่งได้การระบาดของโควิด-19 เข้ามาช่วยทำให้ความต้องการน้ำมันลดอย่างมาก
โดยสำนักงานพลังงานสากล(IEA) คาดว่า ความต้องการน้ำมันทั่วโลก อาจลดลงถึง 20 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ S&P คาดว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจโลกอาจลดลงถึง 30 ใน Q2/63 ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันอาจลดลงวันละ 15 ล้านบาร์เรล
จากข้อมูลดังกล่าว หากเปรียบเทียบกับสามก๊ก โดยรัสเซียและซาอุฯกำลังจับมือกัน ร่วมกันสร้างปัจจัยลบต่อราคาน้ำมันโดยการทะเลาะกันเพื่อดึงสหรัฐฯให้ร่วมวงลดการผลิตด้วยกัน
แผนนี้จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้
1.แนวโน้มการแพร่ระบาดของโควิด-19 หากระบาดมากจะลดความต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น ทำให้สหรัฐฯขึ้นโต๊ะเจรจาเร็วขึ้น
2.ยิ่งราคาน้ำมันต่ำกว่าต้นทุนของสหรัฐฯ อาจเห็นสหรัฐฯทำทุกทางรวมถึงการเจรจาเพื่อทำให้ราคาน้ำมันปรับขื้น
3.ผู้ที่ผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ คือ เอกชนหากราคาน้ำมันลงต่ำกว่าต้นทุน เอกชนจะหยุดผลิตและที่ร้ายกว่านั้น อาจเห็นเอกชนที่ผลิตน้ำมันปิดตัว หากเยอะมากสหรัฐฯต้องทำอะไรสักอย่างแน่
" หากรัสเซียและซาอุฯสามารถลากสหรัฐฯร่วมโต๊ะเจรจาการลดการผลิตน้ำมันได้ ราคาน้ำมันปรับขึ้นแน่ แต่หากสหรัฐฯเปิดสงครามราคาด้วย ทีนี้ราคาน้ำมันคงต่ำกว่า 20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล "
Array ( )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732338146 [CAFXSI18NX] => th [_csrf] => dcd89efcc05fbe1c5c5f4e8ad195c74d [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/world-oil-price-war.html )
Array ( [content] => world-oil-price-war )
Array ( )