เผยแพร่เมื่อ วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563
ในสัปดาห์ที่สองของมีนาคมปี 2563 ราคาน้ำมันปรับลงแตะ 31 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นับเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี จากปัจจัยกดดัน เพราะการแตกคอระหว่างซาอุฯกับรัสเซีย หลังการประชุมโอเปกและรัสเซีย ที่ประชุมเพื่อการพยุงราคาน้ำมันโลก หลังจากราคาน้ำมันในต้นปี 2563 จนถึง ก่อนการประชุมโอเปก(1 ม.ค. 63 ถึง 2 มี.ค. 63) ปรับลดลงกว่า 20% แต่จนแล้วจนรอดการประชุมดังกล่าวกลุ่มโอเปกไม่สามารถจูงใจรัสเซียพยุงราคาน้ำมันโลก เนื่องจากรัสเซียมองว่า การพยุงราคาน้ำมันโลกของโอเปกและรัสเซียไม่มีประโยชน์ เพราะประเทศผลิตน้ำมันได้มากที่สุดไม่ใช่ประเทศที่อยู่ในกลุ่มโอเปกหรือรัสเซีย ทำให้การพยุงราคาน้ำมันโลกที่โอเปกและรัสเซียไม่ได้ผลตามคาด….อ้าวแล้วประเทศไหนผลิตน้ำมันได้มากที่สุด?
โดยประเทศที่สามารถผลิตน้ำมันได้มากที่สุดในตอนนี้ คือ สหรัฐฯมีกำลังผลิต 12.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เหตุที่ทำให้สหรัฐฯก้าวมาเป็นเบอร์หนึ่งเนื่องจากมีเทคโนโลยี Shale Oil หรือการผลิตน้ำมันจากชั้นหินดินดาน คิดเป็น 15.6% ของกำลังผลิตทั้งหมดของโลก ส่วนอันดับที่สองเป็นรัสเซียผลิตได้ 11.2 ล้านบาร์เรลต่อวันหรือ 13.7%ของกำลังผลิตทั้งหมดของโลก และอันดับที่สามคือ ซาอุฯอยุ่ในอันดับที่สามคือ 9.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็น 12.1% ของกำลังผลิตทั้งหมดของโลก
กลับมาที่ประเด็นการแตกหักระหว่างซาอุฯกับรัสเซียที่เป็นสาเหตุหลักทำให้ราคาน้ำมันปรับลงมากกว่า 33% ในช่วงต้นสัปดาห์เดือนมีนาคม ประเด็นดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่า จะเกิดสงครามราคาน้ำมันระหว่างซาอุฯกับรัสเซีย เพราะว่า
ซาอุประกาศเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันให้ถึงระดับ 12 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมผลิตอยู่ที่ 9.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน พร้อมลดราคาขายน้ำมันดิบตลาดเอเชียลง 4-6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และลด 7 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในตลาดสหรัฐฯ จะเริ่มลดราคาและเพิ่มกำลังผลิตในเดือน เม.ย.
ส่วนรัสเซียกำลังจะเพิ่มกำลังการผลิต 5% จากเดิมผลิต 11.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จะเพิ่มเป็น 11.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน
สรุปปริมาณการผลิตน้ำมันมหาศาล แต่ปริมาณความต้องการน้ำมันโลกกำลังลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเจอพิษของโควิด-19 ทำให้การขนส่งลดลง การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัว บางส่วนถึงกับหยุดชะงักทำให้ราคาน้ำมันลงแรงๆ
ส่วนแนวโน้มราคาน้ำมันต่อจากนี้
1.น้ำมันลงต่อต้องเห็นสงครามราคามากกว่านี้?
ถามว่ามีโอกาสได้เห็นมั้ย ก็มีโอกาสได้เห็นเนื่องจากเกมที่ซาอุฯกำลังเล่น เกมนี้ขึ้นอยู่กับความอดทน และซาอุฯมีเป้าหมายในการดึงผู้บริโภคให้มาซื้อเพิ่มมากขึ้น โดยการลดราคาขายน้ำมันดิบตลาดเอเชียลง 4-6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และลด 7 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในตลาดสหรัฐฯ
ทั้งนี้ซาอุฯ สามารถลดราคาน้ำมันได้อีก เนื่องจากต้นทุนการผลิตอยู่ที่ $9.9 บาร์เรลนับเป็นต้นทุนการผลิตที่ต่ำมาก หากถามว่าราคาน้ำมันมีโอกาสต่ำกว่า 20-25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ได้มั้ย มองว่าเป็นไปได้ยาก เพราะต้นทุนการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯอยู่ที่ $36.20บาร์เรล หากราคาน้ำมันต่ำกว่า 30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จะทำให้เอกชนที่ผลิตน้ำมันสหรัฐฯมีโอกาสลดกำลังการผลิต เนื่องจากขายไม่ได้ราคานั่นเอง
2.น้ำมันมีโอกาสรีบาวด์ได้บ้างมั้ย?
มีโอกาส หากรัสเซียและซาอุฯสามารถเจรจา พร้อมได้ข้อตกลง และลดกำลังการผลิต มองเป็นการรีบาวด์ระยะสั้น เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น จากการลดกำลังผลิตจากรัสเซียและซาอุฯ แต่อย่างลืมว่า ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นสร้างแรงจูงใจที่เอกชนสหรัฐฯอาจผลิตน้ำมันเพิ่มมากขึ้น จะกลับมาไปสู่สภาวะน้ำมันล้นตลาด
3.ราคาน้ำมันมีโอกาสปรับตัวเป็นขาขึ้นได้มั้ย?
มีโอกาสน้อย เพราะการเกิดแนวโน้มขาขึ้น ต้องได้เห็นโรคระบาดอย่างโควิด-19 จะจบอย่างเร็วที่สุด ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมการผลิตกลับมาเต็มสูบ แต่เรายังไม่เห็นจุดจบของการระบาดครั้งนี้ได้เลย เนื่องจากใกล้จบการระบาดจากจีน ก็ไประบาดที่ยุโรปต่อ หากจบที่ยุโรป อาจไประบาดต่อที่จีน หรือสหรัฐฯก็ได้ มีความเป็นไปได้ทั้งหมด หรือเราอาจจะเห็นอยู่ดีๆโควิด-19 จบการระบาดไปเฉยๆ เหมือนที่เคยเกิดกับไข้หวัดใหญ่สเปน
ของแถมท้ายบทความ
รู้หรือไม่ว่า !? ทำไมดัชนี SET50 ถึงปรับลงแรงในวันที่ราคาน้ำมันลงแรง
เนื่องจากดัชนี SET50 มีหุ้นมีอย่าง PTT และ PTTEP มี Market Capitalization ติด Top 10
บทความโดย
นายธนะเกียรติ ปฐมะพงษ์ (ฮั่น)
นักวิเคราะห์ด้านการลงทุนปัจจัยพื้นฐานสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ
ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน
Array ( )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732350463 [CAFXSI18NX] => th [_csrf] => 30365fd9e19149f3fb4eb90863f7df09 [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/what-happened-to-the-oil-price-how-is-this-after.html )
Array ( [content] => what-happened-to-the-oil-price-how-is-this-after )
Array ( )