เผยแพร่เมื่อ วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564
มี 3 ประเด็นสำคัญ
1.) จับตาการรับตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯคนที่ 46 ของนายโจ ไบเดน
พร้อมกับการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่มูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่จะลงไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯอย่าง
- ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจากระดับ 7.25 ดอลลาร์/ชั่วโมงในปัจจุบัน สู่ระดับ 15 ดอลลาร์
- เพิ่มวงเงินในการส่งเช็คเงินสดให้แก่ชาวอเมริกันเป็นคนละ 2,000 ดอลลาร์ จากเดิมที่ได้คนละ 600 ดอลลาร์
- เพิ่มวงเงินช่วยเหลือคนตกงานเป็น 400 ดอลลาร์/สัปดาห์ และให้ขยายโครงการช่วยเหลือไปจนถึงสิ้นเดือนก.ย.
- ให้เงินช่วยเหลือรัฐต่างๆ และรัฐบาลท้องถิ่น จำนวน 3.50 แสนล้านดอลลาร์
- ให้เงินช่วยเหลือโรงเรียนและสถาบันการศึกษา จำนวน 1.70 แสนล้านดอลลาร์
- ให้เงินสนับสนุนการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 5 หมื่นล้านดอลลาร์
- ให้เงินช่วยเหลือในโครงการวัคซีนแห่งชาติภายใต้ความร่วมมือกับรัฐและองค์กรต่างๆ วงเงิน 2 หมื่นล้านดอลลาร์
ทั้งนี้การผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมีกระบวนการดังนี้
จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯมากกว่า 50% หากผ่านสภาผู้แทนราษฎร ต้องได้เสียงสนับสนุนจากวุฒิสภาสหรัฐฯ 2 ใน 3 เสียง
หากได้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ
+Gold +Silver +SET50 USD/THB แข็งค่า
หากได้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ
-Gold -Silver -SET50 USD/THB อ่อนค่า
2.) โควิด-19 สายพันธ์ใหม่อีก 3 สาย
1.ไวรัสโควิด-19 มีลักษณะคล้ายกับไวรัสที่มีการกลายพันธุ์ที่พบในอังกฤษและแอฟริกาใต้ ซึ่งเชื่อกันว่าสามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์เดิม
ส่วนสายพันธ์ใหม่ 2 และ 3 มาจากสหรัฐฯ พบโดยคณะนักวิจัยจากศูนย์การแพทย์เวกซ์เนอร์ (Wexner Medical Center) และศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยโอไฮโอ (Ohio State University Wexner Medical Center) ออกแถลงการณ์ต่อสื่อมวลชนว่า ได้ค้นพบไวรัส 2 สายพันธุ์ใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ที่มีแนวโน้มว่ากำเนิดขึ้นในสหรัฐ
ซึ่งหนึ่งในเชื้อไวรัสสายพันธ์ุใหม่นั้นมีการกลายพันธุ์คล้ายกับชนิดที่พบในสหราชอาณาจักร และอีกสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์ เป็นการกลายพันธุ์แบบที่ไม่เคยมีการตรวจเจอมาก่อน เป็นสายพันธุ์ที่ระบาดเป็นวงกว้างในเมืองโคลัมบัสระหว่างช่วง 3 สัปดาห์หลังของเดือน ธ.ค.63 และ ม.ค.64
และยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันได้ว่าการกลายพันธุ์เหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้อยู่หรือไม่
หากวัคซีนใช้ไม่ได้ผล
+Gold +Silver -SET50 USD/THB อ่อนค่า
หากวัคซีนใช้ได้ผล
-Gold -Silve +SET50
3.) ธปท. ประเมินผลกระทบ COVID-19 ระลอกใหม่
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทย ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและผลของมาตรการควบคุม COVID-19 เป็น 3 แบบ
กรณีที่ 1 ใช้มาตรการเข้มงวด ควบคุมการระบาดอย่างรวดเร็ว (เหมือนระลอกแรก) คาดว่าเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบ 2 – 2.5% ของ GDP
กรณีที่ 2 ใช้มาตรการปานกลาง ควบคุมการระบาดได้ผล (คล้ายกับปัจจุบัน) คาดว่าเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบ 1 – 1.5% ของ GDP หรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
กรณีที่ 3 ใช้มาตรการปานกลาง ควบคุมการระบาดไม่ได้ผล จนต้องใช้มาตรการเข้มงวด คาดว่าเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบ 3 – 4% ของ GDP ซึ่งหากสถานการณ์เป็นแบบที่ 3 นี้ เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบมากที่สุด
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการแต่ละประเภทในพื้นที่ต่างๆ พบว่า
ภาคผลิตและบริการ
1.ธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ขนส่งผู้โดยสาร ยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบคราวก่อน และยังถูกซ้ำเติมจาก COVID-19 ระลอกใหม่
2.ธุรกิจค้าปลีก ที่กำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่กลับมาเท่าเดิมก่อน COVID-19 แพร่ระบาด จึงน่ากังวลว่าหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นภายใน 1 – 2 เดือน อาจประสบปัญหาสภาพคล่องเพิ่มขึ้น และถ้าสถานการณ์ยืดเยื้อจะส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน
3.ภาคการผลิตและอสังหาริมทรัพย์ ยังไม่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระลอกใหม่ แม้อาจมีโรงงานบางแห่งต้องหยุดผลิตชั่วคราวเนื่องจากพบผู้ติดเชื้อ แต่โดยรวมแล้วยอดคำสั่งซื้อและกระบวนการผลิตยังดำเนินไปตามปกติ สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้บริโภคอาจเยี่ยมชมโครงการลำบากขึ้น และการขอสินเชื่อจากธนาคารอาจเป็นไปด้วยความเข้มงวด
แต่มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มที่พึ่งพาแรงงานข้ามชาติ
ภาคแรงงาน
1.ลูกจ้างรายวัน (นอกภาคเกษตร) มีอยู่ทั้งสิ้น 5.1 ล้านคน เป็นแรงงานที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัด ทั้งสิ้น 2.8 ล้านคน ในจำนวนนี้อาจมีแรงงานประมาณ 5 แสนคน ตกอยู่ในภาวะเสมือนว่างงาน และอีกประมาณ 5 แสนคน มีรายได้ลดลงอย่างรุนแรง
2.ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (นอกภาคเกษตร) มีอยู่ทั้งสิ้น 8.2 ล้านคน เป็นแรงงานที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัด ทั้งสิ้น 4.2 ล้านคน ในจำนวนนี้อาจมีแรงงานประมาณ 6 แสนคน ตกอยู่ในภาวะเสมือนว่างงาน และอีกกว่า 3 ล้านคน มีรายได้ลดลงอย่างรุนแรง
3.ลูกจ้างในสาขาโรงแรม มีความเสี่ยงจะตกงานเพิ่มประมาณ 1 แสนคน รวมแรงงานที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระลอกใหม่ มีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 4.7 ล้านคน
มองเป็นปัจจัยต่อ
กรณีที่ 1 ใช้มาตรการเข้มงวด ควบคุมการระบาดอย่างรวดเร็ว (เหมือนระลอกแรก)
-SET50เล็กน้อย USD/THB อ่อนค่าเล็กน้อย
กรณีที่ 2 ใช้มาตรการปานกลาง ควบคุมการระบาดได้ผล (คล้ายกับปัจจุบัน)
-SET50น้อย USD/THB อ่อนค่าน้อย
กรณีที่ 3 ใช้มาตรการปานกลาง ควบคุมการระบาดไม่ได้ผล จนต้องใช้มาตรการเข้มงวด
-SET50มาก USD/THB อ่อนค่ามาก
Array ( )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732306407 [CAFXSI18NX] => th [_csrf] => 0fcfdfc8de989cb9362fef75edf5375f [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/weekly-Insight-by-caf-180121.html )
Array ( [content] => weekly-Insight-by-caf-180121 )
Array ( )