เผยแพร่เมื่อ วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ก่อนที่จะไปถึงการ Stop Loss ที่สำคัญต่อนักลงทุน เรามารู้จัก Stop Loss กันก่อน โดย Stop Loss คือ การตั้งจุดตัดขาดทุนที่ผู้ลงทุนสามารถยอมรับความสูญเสียได้ เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการเป็นนักลงทุนที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในอนาคต
ทำไม Stop Loss ถึงสำคัญต่อนักลงทุน
เพราะการลงทุนไม่มีทางที่จะชนะตลอดเวลา แต่แพ้แล้ว หรืออาจผิดทาง Stop Loss จะทำให้มีโอกาสแก้ตัวในการลงทุนครั้งต่อๆไป หากไม่มี Stop Loss อาจไม่มีโอกาสแก้ตัว
ปัญหาหลักของนักลงทุนเกี่ยวกับ การใช้ Stop Loss คือ ถึงจุด Stop Loss แล้ว ไม่ Action ถือว่าไม่มีวินัยในการลงทุนและเพิ่มโอกาสขาดทุนมากขึ้นหากนักลงทุนเริ่มที่จะอยากตั้ง Stop Loss เราจะพาไปดูว่า Stop Loss มีวิธีใช้แบบไหนกันบ้าง
วิธีที่ 1 Stop loss ตามความเสี่ยงตามสัดส่วนของเงินทุน โดยใช้การกำหนดความเสี่ยงจากสัดส่วนของเงินทุนของพอร์ตผู้ลงทุน
ตัวอย่าง ผู้ลงทุนมีเงินทุนอยู่ 1 ล้านบาท ผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงได้ 5% (=50,000หมื่นบาท) ของพอร์ต ทั้งนี้การ Stop Loss ตามสัดส่วนที่นักลงทุนกำหนดอาจไม่เท่ากัน เพราะอัตราผลตอบแทนของการรับความเสี่ยง ของนักลงทุนแต่ละคนไม่เท่ากัน ก็เหมือนกับลักษณะคนที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง
วิธีที่ 2 Stop loss ตามแนวรับหรือแนวต้านทางจิตวิทยา ผู้ลงทุนต้องเลือกใช้ตามสถานการณ์ปัจจุบันเพราะการหลุดหรือทะลุทางแนวต้านหรือแนวรับจิตวิทยา จะเกิดแรงเทขายหรือแรงซื้อมากๆ ทำให้ราคาผันผวน อย่างเช่น ทองคำทะลุ $1,500 หรือ SET หลุด 1,600 จุด
วิธีที่ 3 Stop loss ตามรูปแบบของกราฟ โดยรูปแบบของกราฟในที่นี้ยกตัวอย่างเช่น การเกิดรูปแบบ Ascending triangle หรือ Descending Triangle และยังมีอีกหลายรูปแบบนะครับ
Ascending triangle , Descending Triangle
วิธีที่ 4 Stop loss ตาม แนวโน้มของกราฟ อย่าง Sidway Up และ Sideway Down
Sideway Up , Sideway Down
ตัวอย่าง นักลงทุนมองแนวโน้มของกราฟเป็น Sideway Up จึงทำการ Long และตั้ง Stop Loss ที่กรอบล่างของ Sideway Up เพื่อป้องกันความเสี่ยง
ตัวอย่าง นักลงทุนมองแนวโน้มกราฟเป็น Sideway Down จึงทำการ Short และตั้ง Stop Loss ที่กรอบล่างของ Sideway Up เพื่อป้องกันความเสี่ยง
วิธีที่ 5 Stop loss ก่อนตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ (วิธีนี้ใช้สำหรับการเทรดทองคำ)
การใช้วิธีนี้นักลงทุนต้องรู้ว่าตัวเศรษฐกิจที่สำคัญมีอะไรบ้าง
เราจะยกตัวอย่างใช้ 12 ตัวเลข | |
1. Non-Farm Employment Change | 7. FOMC Statement |
2. Unemployment Rate | 8. Prelim UoM Consumer Sentiment |
3. ISM Manufacturing PMI | 9. New Home Sales |
4. ISM Non-Manufacturing PMI | 10. USA GDP q/q |
5. Trade Balance | 11. FOMC Meeting Minutes |
6. Unemployment Claims | 12. Existing Home Sales |
การ Stop Loss ก่อนตัวเลขเศรษฐกิจถือเป็น การป้องกันความเสี่ยงได้อย่างเพื่อไม่ให้ขาดทุนจากการผันผวนของราคาทองที่เคลื่อนตามตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ
โดยข้อดีและข้อด้อย ของ Stop Loss คือ
ข้อดีของ Stop Loss
1.) สามารถกำหนดการขาดทุนของผู้ลงทุนได้ ตามการยอมรับความเสี่ยง ซึ่งไม่มีผู้ลงทุนรายใดสามารถชนะตลาดได้ทุกครั้ง
2.) สามารถปกป้องกำไรหรือต้นทุน เช่น ในกรณีที่ผู้ลงทุนอยู่ในสถานะซื้อ (Buy) ที่ 19,000 บาท จำนวน 10 บาททองคำ (190,000บาท) และราคาขึ้น 19,500 บาท หรือได้กำไรแล้ว แต่ผู้ลงทุนคาดการณ์ว่าราคาอาจจะขึ้นได้มากกว่านี้ ทั้งนี้ผู้ลงทุนกลัวความเสี่ยงหรือไม่อยากให้ขาดทุนจึงตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 19,300 บาท จำนวน 10 บาททอง เพื่อที่จะมั่นใจว่าในการเทรดครั้งนี้อย่างน้อยที่สุด ผู้ลงทุนจะได้กำไรแน่ๆ ต่อหนึ่งบาททองคำที่ 300 บาท แต่ถ้าราคาขึ้นไปอีกผู้ลงทุนจะได้ส่วนต่างราคาซื้อกับขายได้มากขึ้นไปอีก
ข้อด้อยของ Stop Loss
1.) ในช่วงเวลาที่ราคาสินทรัพย์ที่ลงทุนไร้ทิศทางจะมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินทุนของผู้ลงทุนจากการตั้ง Stop Loss ได้บ่อยครั้ง
2.) การตั้ง Stop Loss ใกล้เกินไป จะมีความเสี่ยงโดน Stop Loss ได้ง่าย ซึ่งส่งผลให้ผู้ลงทุนมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินทุนได้ง่าย ดังนั้นผู้ลงทุนควรจะตั้งเผื่อให้กับความผันผวนของราคาทองเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากาการตั้ง Stop Loss ที่ใกล้เกินไป
สรุป บทความนี้จะบอกว่า การ Stop Loss มีความสำคัญต่อนักลงทุนอย่างมาก และยังมีวิธี Stop Loss อีกมากมายที่เรายังไม่ได้กล่าว การใช้ Stop Loss ขึ้นอยู่กับความถนัดของนักลงทุน และการวาง Stop Loss มีเป้าหมายคือ การรักษษเงินต้น และกำไรจากการลงทุนนั่นเอง
✒️ โดย นายวศิน ดีสุข
⭐️ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
▶️ บลป. คลาสสิก ออสสิริส
Array ( )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732184699 [CAFXSI18NX] => th [_csrf] => 25525c2cb057bf3dbca25232af90c530 [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/stop-loss-naja.html )
Array ( [content] => stop-loss-naja )
Array ( )