เผยแพร่เมื่อ วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
Stagflation คือภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวและอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง แต่เงินเฟ้อกลับเพิ่มสูงขึ้น เป็นภาวะที่ผิดปกติ เพราะช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวและมีอัตราการว่างงานที่สูง ผู้บริโภคจะมีกำลังซื้อลดลงจากรายได้ที่น้อยลง กระทบภาคธุรกิจขายสินค้าและบริการได้ลดลง นำไปสู่การลดราคาสินค้าและบริการ กดเงินเฟ้อลดลง แต่ในช่วง Stagflation ราคาสินค้าและบริการกลับปรับตัวสูงขึ้น ดันเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้นมาจาก Cost Push Inflation หรือ เงินเฟ้อด้านอุปทาน อาจเกิดจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นปัจจัยที่จะทำให้เกิด Stagflation สังเกตได้จาก 3 ปัจจัยคือ
1.อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(GDP) ลดลง
2.แนวโน้มอัตราการว่างงานสูงขึ้น
3.เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง
วันนี้เราจึงใช้ 3 ปัจจัยดังกล่าวมาวิเคราะห์ ว่าปัจจุบันประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิด Stagflation หรือไม่
1.อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(GDP)
มุมมองทางเศรษฐกิจจาก ธนาคารแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)
1.1 ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดเศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.7% ในปี 2566 จาก 1.ภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวชัดเจน สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและเครื่องชี้เร็วภาคการท่องเที่ยวปรับดีขึ้น โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในปี 66 จะอยู่ที่ 22 ล้านคน(ยังไม่ได้ประมาณจีนเปิดประเทศ) 2.การบริโภคภาคเอกชนฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยได้แรงหนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการบริการ รวมถึงการจ้างงานและรายได้แรงงานที่ปรับดีขึ้น แต่ต้องระวังการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะกระทบต่อภาคการส่งออกสินค้า
1.2 คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) คาดเศรษฐกิจไทยในปี 66 ขยายตัว 3.0 ถึง 3.5% โดยได้แรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย 20 ถึง 25 ล้านคน จากจีนเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 66 แต่มีความเสี่ยงจากภาคการส่งออก จากค่าเงินบาทที่แข็งและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งยังมีความเสี่ยงจากต้นทุนที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า รวมถึงแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กระทบผู้ประกอบการส่งผ่านต้นทุนไปยังผู้บริโภค ดันราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
*ที่มา:ธนาคารแห่งประเทศไทย และ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)
2.อัตราการว่างงาน(%)
จากกราฟด้านล่างจะเห็นว่าแนวโน้มอัตราว่างงานของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง
3.อัตราเงินเฟ้อ
เห็นได้ชัดว่าเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง โดยสูงกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ช่วง 1-3% หรือ เฉลี่ย 2% แต่มีแนวโน้มชะลอตัวเล็กน้อย
เมื่อวิเคราะห์ 3 ปัจจัยข้างต้นจะเห็นว่าปัจจุบันความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยจะเกิด Stagflation มีโอกาสต่ำจากแนวโน้มปี 66 เพราะยังเห็นการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ได้รับแรงหนุนการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว จากแนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยมากขึ้น รวมถึงแนวโน้มการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่สูงขึ้น ยังเป็นปัจจัยที่หนุนให้เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวต่อไปได้ และอัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มต่ำลง แสดงถึงกำลังซื้อที่จะเพิ่มสูงขึ้นของแรงงาน แม้เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูงแต่ก็เห็นการชะลอตัวลง ทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 66 ไม่เกิด Stagflation
ทั้งนี้มีความเสี่ยงที่เราต้องเฝ้าระวังคือ
ความเสี่ยงที่สงครามรัสเซีย ยูเครนจะขยายวงกว้าง
โดยเราเห็นความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นจากรัสเซียได้เสริมกำลังเป็น 1.5 ล้านคน จาก 1.15 ล้านคน ที่พรมแดนติดกับฟินแลนด์ และสหรัฐฯ ส่งรถถัง M1A1 abrams จำนวน 31 คัน รถหุ้มเกราะ M88 จำนวน 8 คัน และรถหุ้มเกราะอื่นๆกว่า 500 คัน กับเยอรมนีส่งรถถัง Leopard 2 จำนวน 14 คันให้กับยูเครน ทำให้ประเทศอื่นสามารถส่งรถถังชนิดเดียวกันที่ซื้อจากเยอรมนีให้กับยูเครนได้ ส่งสงครามรัสเซีย ยูเครนมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น แม้ว่าจะยังไม่เกิดความรุนแรงโดยทันที เพราะต้องมีการจัดส่งรถถังและฝึกสอนการใช้งานให้กับทหารยูเครน โดย รัสเซียเผยว่า หากรัสเซียพ่ายแพ้สงครามจะนำไปสู่ส่งครามนิวเคลียร์ได้ ทั้งนี้ถ้าเกิดสงครามนิวเคลียร์ขึ้นจริง จะดันราคาน้ำมันและราคาอาหารให้สูงขึ้นฉับพลัน กระทบเศรษฐกิจชะลอตัวและ ดันเงินเฟ้อให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
Array ( )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732197958 [CAFXSI18NX] => th [_csrf] => 3d3e14ad6cd41810f7b2035c2ba80bd4 [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/stagflation-thai-2023.html )
Array ( [content] => stagflation-thai-2023 )
Array ( )