บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

มาทำความรู้จักอุตสาหกรรมที่สามารถทำ Black Trade ได้ !!!

มาทำความรู้จักอุตสาหกรรมที่สามารถทำ Black Trade ได้ !!!

เผยแพร่เมื่อ วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562


Block Tradeเป็นการซื้อขายหุ้น โดยใช้จำนวนเงินที่น้อยกว่าการซื้อขายหุ้นโดยตรงในตลาดหุ้น เพราะใช้เงินลงทุนเพียงแค่ประมาณ5% ของมูลค่าทั้งหมด ซึ่งจะเป็นการซื้อขาย Single Stock Futures (SSF) ในจำนวนซื้อขายขั้นต่ำที่ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) กำหนดเอาไว้ โดยนักลงทุนสามารถลงทุนได้ทุกสภาวะตลาด ไม่ว่าจะเป็นขาขึ้น หรือขาลงก็ตาม

SSF เป็นการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของหุ้นอ้างอิงที่นักลงทุนให้ความสนใจ โดยมากแล้วหุ้นอ้างอิงเหล่านี้มักจะเป็นสมาชิกของ SET50 แล้วบวกเพิ่มเข้าไปกับหุ้น SET100 อีกส่วนหนึ่งที่ท่านสามารถเลือกเปิดสถานะ Long หรือ Short โดยใช้ SSF เป็นตัวช่วยในการเพิ่มอัตราทดให้พอร์ตการลงทุนของท่านได้

มาทำความรู้จัก Single Stock Futures (SSF) กันก่อน แล้วเราจะได้รู้ว่าหุ้นเหล่านั้นจะ ขึ้น หรือลง จากปัจจัยพื้นฐานอะไรบ้าง

โดยปัจจัยที่มีผลกระทบกับ SSF ในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม 

“ + ” หมายถึง ปัจจัยนั้นมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับราคาของหุ้น

“ – ” หมายถึง ปัจจัยนั้นมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาของหุ้น

“ * ” หมายถึง ปัจจัยนั้นต้องวิเคราะห์เป็นรายครั้งไปว่าจะส่งผลไปในทิศทางใด

  1. กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (AGRO)

1.1 หมวดธุรกิจการเกษตร (AGRI)

+   อัตราการเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าเกษตร เช่น ราคายางพารา

+   อัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณทางด้านอุปสงค์ ของสินค้าเกษตร

–   อัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณทางด้านอุปทาน ของสินค้าเกษตร

+ อัตราการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากส่งผลต่อรายได้ที่ได้รับเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

1.2 หมวดอาหารและเครื่องดื่ม (FOOD)

+   อัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณทางด้านอุปสงค์ เช่น การใช้อาหารสัตว์ การบริโภคเนื้อสัตว์ ยอดส่งออกผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

+   อัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เป็นต้น รวมทั้งราคาขายต่อหน่วย

–  อัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณทางด้านอุปทาน เช่น การเพิ่มปริมาณการผลิตของผู้ประกอบการรายใหญ่ วงจรหรือฤดูกาลการเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

–    อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ

+ อัตราการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากส่งผลต่อรายได้ที่ได้รับเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

  1. กลุ่มธุรกิจการเงิน (FINCIAL)

2.1 หมวดธนาคาร (BANK)

+   อัตราการเปลี่ยนแปลงของจำนวนสินเชื่อ ปัจจัยหลักได้แก่ GDP การลงทุนและการบริโภคของภาครัฐและเอกชน

+   ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ปัจจัยหลักได้แก่ ทิศทางอัตราดอกเบี้ย การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน การแข่งขันในอุตสาหกรรม

+   รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ได้แก่ รายได้ค่าธรรมเนียม กำไรจากเงินลงทุน และการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ

+   คุณภาพสินทรัพย์ ขึ้นกับแนวโน้มสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ความเพียงพอของการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

2.2 หมวดเงินทุนและหลักทรัพย์ (FIN)

–   ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย เพราะรายได้หลักมาจากดอกเบี้ยรับจากการปล่อนสินเชื่อแบบ Fixed Rate ในขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมส่วนใหญ่มาจากสถาบันการเงิน Float Rate ที่ปรับเปลี่ยนตามดอกเบี้ยในตอนนั้น

+   จำนวนสินเชื่อ เช่น สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ

2.3 หมวดประกันภัยและประกันชีวิต (INSUR)

+   ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ปัจจัยหลักได้แก่ ทิศทางอัตราดอกเบี้ย การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน การแข่งขันในอุตสาหกรรม

+   คุณภาพสินทรัพย์ ขึ้นกับแนวโน้มสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ความเพียงพอของการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

  1. กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม (INDUS)

3.1 หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (PETRO)

 –   อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตปิโตรเคมี

  1. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (PROPCON)

4.1 หมวดวัสดุก่อสร้าง (CONMAT)

–   อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ

4.2 หมวดบริการรับเหมาก่อสร้าง (CONS)

–   ราคาต้นทุนเหล็กก่อสร้าง และเครื่องจักรก่อสร้างนำเข้า รวมถึงต้นทุนในการขนส่ง

–   อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ

+   การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ

4.3 หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (PROP)

+   ตัวเลขการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร

+   ตัวเลขการขอจดทะเบียนอาคารชุด

+   สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์

  1. กลุ่มทรัพยากร (RESOURCE)

5.1 หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERG)

+   อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน

+   อัตราการเปลี่ยนแปลงของค่าการกลั่นน้ำมัน

+   ส่วนต่างราคาปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์และโอเลฟินส์

+   ราคาถ่านหิน

+   อัตราการใช้กำลังการผลิตและปริมาณขายผลิตภัณฑ์ของแต่ละบริษัท

+   อัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณทางด้านอุปสงค์

–   อัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณทางด้านอุปทาน

  1. กลุ่มบริการ (SERVICE)

6.1 หมวดพาณิชย์ (COMM)

+    อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP Growth)

+    ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

+    อัตราการเพิ่มประชากรของประเทศ

+    อัตราเงินเฟ้อ

*    การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค

*    การเปลี่ยนแปลงนโยบายของภาครัฐ

+    การขยายสาขาของผู้ประกอบการ

6.2 หมวดการแพทย์ (HELTH)

–   มาตรการการควบคุมราคายา เวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์

+   แนวโน้มการแพร่ระบาดของโรค

+   สภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม

6.3 หมวดสื่อและสิ่งพิมพ์ (MEDIA)

+    อัตราการเติบโตของสื่อโฆษณา

*    การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค

6.4 หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ (TOURISM)

+    อัตราการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ

เนื่องจากส่งผลต่อนักท่องเที่ยวให้อยากมาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น

+    จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย

+    อัตราการเข้าพักของสถานพักแรม (Occupancy Rate)

6.5 หมวดขนส่งและโลจิสติกส์ (TRANS)

–    อัตราการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ

หากค่าเงินบาทแข็งค่าจะเป็นผลดีต่อหุ้นที่มีเงินกู้เป็นดอลลาร์สหรัฐ เช่น THAI และ AAV

–    อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ

+    จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย

7.กลุ่มเทคโนโลยี (TECH)

7.1 หมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (ETRON)

+   มูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศไทย

+   อัตราการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หากค่าเงินบาทอ่อนตัวจะเป็นผลดีสำหรับหุ้นกลุ่มส่งออก

7.2 หมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)

*    พฤติกรรมของผู้บริโภคต่อบริการใหม่ๆ เช่น การสื่อสารความเร็วสูงไร้สาย และ Social
Media Application

*    สภาพการแข่งขันและกลยุทธ์ของแต่ละผู้ประกอบการ

*    แนวทางการกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง โทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

*    แผนงานการออกใบอนุญาต ที่เกี่ยวกับคลื่นความถี่และประกอบกิจการ ของ กสทช.

–    ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย เพราะมีภาระหนี้สินส่วนหนึ่งเป็นแบบดอกเบี้ยลอยตัว

จากข้างต้นที่กล่าวมา คือปัจจัยที่มีผลกระทบกับ SSF ทั้ง 7 กลุ่มอุตสาหกรรม 17 หมวดธุรกิจ ท่านนักลงทุนสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุน Block Trade ได้นะคะ และหากนักลงทุนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ Block Trade สามารถโทรเข้ามาที่ CAF เรายินดีตอบให้ทุกปัญหาเลยค่ะ เบอร์โทรศัพท์ 02-618-0808

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!
Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1732443796
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => b6b600751de799057425b3b101050cb3
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/ssfblocktrade.html
)
		
Array
(
    [content] => ssfblocktrade
)
		
Array
(
)