บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

GULF แตกพาร์ มีโอกาสไปต่อหรือไม่?

GULF แตกพาร์ มีโอกาสไปต่อหรือไม่?

เผยแพร่เมื่อ วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563


ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย นักลงทุนต่างมองหาหุ้นพื้นฐานดีหลังจากตลาดร่วงอย่างหนักในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา กลับมีประเด็นสำคัญที่ทุกคนต้องจับตาเกี่ยวกับหุ้นโรงไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ในบ้านเรา นั่นคือ การแตกพาร์ของ GULF...วันนี้เราจะมาพูดถึงที่มาที่ไป และวิเคราะห์ว่า หลังจาก GULF แตกพาร์แล้ว จะเป็นหุ้นพื้นฐานดีที่ควรถือยาว หรือมีไว้เก็งกำไรระยะสั้นในหุ้นและ Single Stock Futures เท่านั้น

 

GULF แตกพาร์ มีที่มาที่ไปอย่างไร?

เรามาเล่าที่มาที่ไปในการแตกพาร์ของ GULF กันก่อน...ตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นวันที่ 8 เม.ย. 63 ได้มีการอนุมัติให้ GULF แตกพาร์จากเดิม 5 บาท มาสู่พาร์ใหม่ 1 บาท จากนั้นบริษัทก็นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการและประกาศผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เป็นที่เรียบร้อยในวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมา และได้เริ่มต้นเทรดบนพาร์ใหม่ไปแล้วเมื่อสัปดาห์ก่อน ส่วนสาเหตุของการแตกพาร์ เพื่อเสริมสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้น GULF และทำให้ผู้สนใจลงทุนสามารถซื้อได้ในราคาถูกลง

 

หลังแตกพาร์ GULF จะไปต่อหรือพอแค่นี้

ด้วยขนาดธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ของ GULF พร้อมกับมีพัฒนาการที่ดีมาโดยตลอด ทำให้ราคาหุ้น GULF มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและให้ผลตอบแทนที่ดีนับตั้งแต่ IPO เมื่อปี 2560 แต่นั่นเป็นผลตอบแทนที่ผ่านมาแล้วในอดีต...คราวนี้เรามาวิเคราะห์กันว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่เราต้องจับตา และช่วยหาคำตอบให้เราได้ว่าหุ้น GULF จะไปต่อหรือพอแค่นี้

 

1. แนวโน้มการเติบโตขึ้นอยู่กับกำลังการผลิต ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา GULF มีการเติบโตของรายได้จากการขายและบริหารตามกำลังการผลิตที่มีการถือครอง (Equity Installed Capacity) ดังนี้

ปี 2560 กำลังการผลิต 1,964 MW รายได้จากการขาย 4,350 ล้านบาท

ปี 2561 กำลังการผลิต 2,253 MW รายได้จากการขาย 17,181 ล้านบาท

ปี 2562 กำลังการผลิต 2,701 MW รายได้จากการขาย 30,040 ล้านบาท

หมายความว่า ยิ่ง GULF มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเท่าใด ยิ่งทำให้โอกาสทำสัญญาการขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) เพิ่มขึ้น และจะทำให้การรับรู้รายได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นนั่นเอง ปัจจุบัน GULF มีเป้าหมายด้านกำลังการผลิตอยู่ที่ 7,781 MW ในปี 2570 โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ 22.5% ต่อปี (ตามรายงานนำเสนอ Q4/62) หาก GULF ทำได้ตามเป้าหมายที่กำหนดและทำการ COD ทั้งหมด เราอาจได้เห็นแนวโน้มของรายได้จากการขายที่ดีขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน

 

2. P/E Ratio ของ GULF การแตกพาร์ไม่มีผลต่อ P/E Ratio แต่เราจะไม่พูดถึงเลยก็ไม่ได้ เพราะ P/E เป็นตัวเลขที่สะท้อนการเติบโตและความเสี่ยงของราคาหุ้นได้ โดยราคาปัจจุบันของ GULF ที่ 36 บาท* เป็นการซื้อขายที่ P/E เท่ากับ 78 เท่า ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก หากเทียบกับตลาดหรือ SET ที่ซื้อขายกันบน P/E 14 เท่า

เราได้ทำการย้อนอดีตไปค้นหา P/E ของ GULF ที่ผ่านมา พบว่ามีการซื้อขายที่ P/E สูงกว่า SET มาโดยตลอด และมี range ของ P/E อยู่ที่ 32-103 เท่า และเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าด้วยกัน ก็พบว่า GULF มี PE สูงที่สุด (รองลงมา ได้แก่ BGRIM 48 เท่า, GPSC 45 เท่า, และ CKP 37 เท่า)

เราจึงให้ความเป็นไปได้ในเรื่อง P/E ของ GULF เป็น 2 มุมมองทั้งด้านบวกและด้านลบต่อราคา ดังนี้

1) GULF สามารถสร้างกำไรได้ดี มีการเติบโตของกำไรอย่างต่อเนื่องในอนาคตจนทำให้ P/E สะท้อนการเติบโตของในอนาคตที่ดีขึ้น แน่นอนว่ากำไรที่เติบโตต่อเนื่องย่อมส่งผลให้ราคาหุ้นไปต่อได้อีก (ด้าน +)

2) ราคาของหุ้น GULF ร่วงลงมาทำให้ P/E ต่ำลง หากนักลงทุนมองว่า ณ ราคาปัจจุบันของ GULF มีการซื้อขายที่ P/E สูงเกินไป (ด้าน -)

 

3. การแตกพาร์เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงหุ้น GULF มากขึ้น อย่างที่เรากล่าวไว้ข้างต้นว่าการที่หุ้นแตกพาร์ ทำให้มูลค่าหุ้นยังคงเดิม แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับราคาหุ้นที่ถูกลง ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้นักลงทุนทั้งรายย่อยและรายใหญ่สามารถเข้าซื้อหุ้น GULF ได้ในปริมาณที่มากขึ้น จึงเป็น Sentiment บวกต่อหุ้น GULF และเกิดแรงเก็งกำไรระยะสั้นหลังแตกพาร์

 

ลงทุนระยะยาวก็ได้ เก็งกำไรระยะสั้นก็ดี

สรุปจากปัจจัยทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมา ในระยะยาวหาก GULF ทำตามเป้าหมายด้านกำลังการผลิตและทำการ COD โครงการในมือทั้งหมดได้ เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า GULF จะมีรายได้จากการขายอยู่ในแนวโน้มที่ดีในอนาคต ซึ่งจะส่งผลต่อราคาหุ้นที่อาจเพิ่มขึ้นโดยเป็นผลสะท้อนมาจากรายได้จากการขายและกำไรสุทธิที่ดีขึ้นนั่นเอง

แต่ระยะสั้นก็มีความเสี่ยงจาก P/E Ratio ที่อยู่ในระดับสูงมากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าด้วยกันเอง ดังนั้น หากต้องการซื้อขาย GULF ในระยะสั้น ควรนำปัจจัยทางเทคนิคเข้ามาช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ และใช้ Single Stock Futures เข้ามาช่วยเพิ่มโอกาสทำกำไรไม่ว่า GULF จะเป็นขาขึ้นหรือขาลง

 

ทำกำไรใน Single Stock Futures ของ GULF อย่างไร

หากเราวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค พบว่าปัจจุบัน GULF มีทิศทางแนวโน้มเป็นขาขึ้น การเทรดฝั่ง Long ใน GULF Futures จะมีความได้เปรียบกว่าฝั่ง Short โดยเราจะเลือก GULFM20X เนื่องจากเป็นซีรีส์ที่มีสถานะคงค้าง (OI) มากที่สุด บ่งบอกว่ามีสภาพคล่องมากที่สุด การเข้า-ออกทำได้ง่ายกว่าซีรีส์อื่น

 

ด้านกลยุทธ์ เราแนะนำเปิดสถานะ Long บริเวณ 36-37 บาท มีจุด Stop Loss ที่แนวรับ 34 บาท เป้าหมายการทำกำไร 40-41 บาท และที่สำคัญ เมื่อมีการปรับตัวขึ้น อย่าลืมปิดสถานะทำกำไร เนื่องจากตลาดยังมีความผันผวน และ GULF มีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงได้หากแรงเก็งกำไรระยะสั้นหลักแตกพาร์สิ้นสุดลง

หมายเหตุ: ราคาหุ้น ณ วันที่ 22 เม.ย. 63

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!
Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1732313994
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => cb1b6370861cef3b3a8988904975a4a2
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/split-there-chance-to-continue.html
)
		
Array
(
    [content] => split-there-chance-to-continue
)
		
Array
(
)