เผยแพร่เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562
ในเดือนพฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา SET Index มีการปรับตัวลดลงกว่า 3.51% ปิดที่ระดับ 1,620.22 และ S50M19 ปิดที่ระดับ 1,074 หรือปรับตัวลดลงกว่า 3.78% เมื่อเทียบกับระดับดัชนี ณ ต้นเดือน พ.ค. การปรับตัวลดลงนี้ เป็นผลมาจาก
ในส่วนของ Single Stock Futures (อ้างอิงกระดานหุ้น) ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา นอกจากราคาหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีประเด็นสำคัญอีกเรื่อง นั่นคือ การประกาศผลประกอบการ Q1/2562 ที่มีการประกาศต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือน เม.ย. และส่งผลกระทบต่อการปรับตัวขึ้นหรือลงของราคาหุ้นอ้างอิง…แล้ว Single Stock Futures มีตัวไหนบ้างที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นและลดลงมากที่สุดในเดือน พ.ค. และเรามีมุมมองแนวโน้มหุ้นอ้างอิงเหล่านั้นอย่างไร?
PTG : บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน)
จากการประกาศผลประกอบการ Q1/2562 กำไรสุทธิเติบโตเพิ่มขึ้น 93% เมื่อเทียบ YoY และเพิ่มขึ้น 195% เมื่อเทียบ QoQ จากปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเพิ่มขึ้นกว่า 17% เมื่อเทียบกับ Q1/2561 และเราคาดการณ์ว่ากำไรสุทธิมีแนวโน้มเติบโตต่อในไตรมาสที่ 2 เนื่องจากค่าการตลาดมีแนวโน้มที่ดีต่อความสามารถในการทำกำไรของ PTG ประกอบกับบริษัทตั้งเป้าหมายที่จะรักษาระดับการเติบโตของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันไว้ที่ 16-20%
มุมมองทางเทคนิค : ราคาปรับตัวขึ้นแรงกว่า 51.82% ใน 1 เดือน มาปิดที่ 16.70 บาท ราคาบริเวณนี้ถือเป็นแนวต้านในทางเทคนิคที่สำคัญจุดแรก ทำให้เราคาดว่าราคาอาจจะมีการย่อตัวหรือแกว่งตัวลง (Sideway Down) ในเดือน มิ.ย. เพื่อรอเข้าสู่ช่วงประกาศผลประกอบการ Q2/2562 ในช่วงกลางเดือน ส.ค. นักลงทุนอาจใช้กลยุทธ์การเก็งกำไรระยะสั้นในฝั่ง Short ใน PTGM19 เมื่อราคาอ่อนตัวลงมาบริเวณ 16.20-16.50 บาท
ICHI : บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ราคาเพิ่มขึ้นหลังจากบริษัทประกาศกำไรสุทธิ Q1/2562 เพิ่มขึ้นกว่า 247% เมื่อเทียบแบบ YoY เนื่องจากบริษัทมีการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพทั้งต้นทุนขายที่ลดลง 2.5% และต้นทุนการจัดจำหน่ายลดลงมากถึง 32.55% จากการวางแผนใช้โฆษณาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
มุมมองทางเทคนิค : ราคาปรับตัวสูงขึ้น 30.71% ปิดที่ 5.15 บาท ทำ New High ในรอบ 10 เดือน มีแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 5.85 และ 6 บาทตามลำดับ แต่เนื่องจากราคามีการปรับตัวขึ้นเร็ว อาจทำให้ราคา ICHI ในระยะสั้นมีการย่อตัวลงมาบริเวณ 5 บาท จึงเป็นที่น่าสนใจสำหรับการเข้า Short ใน ICHIM19 หากราคาไม่สามารถยืนที่ราคา 5.40 บาทได้
CBG : บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
บริษัทได้มีการประกาศผลประกอบการ Q1/2562 มีกำไรสุทธิเติบโตเพิ่มขึ้น 132.4% เมื่อเทียบแบบ YoY ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่ลดลงกว่า 17% เนื่องจากมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการส่งเสริมการขายและประชาสัมพันธ์ของบริษัท เพื่อบริหารอัตราผลตอบแทนจากการขายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ส่งผลให้กำไรขั้นต้น และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ Q1/2561
มุมมองทางเทคนิค : ราคามีการปรับตัวลดลงหลังจากมีการประกาศผลประกอบการ Q1/2562 ราคาปรับตัวลดลงเล็กน้อย ก่อนที่จะกลับตัวและพุ่งขึ้นมาปิดที่ 66.75 บาท หรือขึ้นมา 14.59% เมื่อเทียบกับต้นเดือน พ.ค. เราคาดว่าราคาจะแกว่งตัวในกรอบแนวรับ-แนวต้าน 65-70 บาท ในเดือน มิ.ย. และนักลงทุนสามารถเลือกกลยุทธ์ Short เมื่อเข้าใกล้แนวต้าน หรือ Long เมื่อเข้าใกล้แนวรับ ใน CBGM19 โดยใช้กรอบ 65-70 บาท เป็นราคาเป้าหมายและจุด Stop เช่น เมื่อราคาลงมาที่ 66 บาท เข้า Long เป้าหมาย 70 บาท และ Stop สั้นๆที่ 65 บาท
BEAUTY : บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน)
ราคาปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางปี 2561 และปรับตัวลงต่อหลังจากประกาศผลประกอบการ Q1/2562 มีกำไรสุทธิลดลง 75.37% เทียบแบบ YoY และลดลง 43.84% เทียบแบบ QoQ โดยเป็นผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ยังไม่ดีขึ้นอย่างชัดเจน และความรุนแรงของการแข่งขันภายในตลาดผลิตภัณฑ์เพื่อความสวยงามที่กดดันรายได้จากการขายให้ลดลงกว่า 39.44% เทียบแบบ YoY และลดลง 16.75% เทียบแบบ QoQ
มุมมองทางเทคนิค : การที่ราคาหุ้นอ้างอิง BEAUTY ปรับตัวลดลงมากถึง 38.13% หลุดแนวรับสำคัญ 6.50 บาท และทำ New Low ในรอบ 3 ปีที่ราคา 3.54 บาท เรายังไม่เห็นสัญญาณการกลับตัวหรือการหลุดที่ชัดเจน คาดว่าราคาจะแกว่งตัวบริเวณ 4 บาทต่อไป จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเข้าสถานะใดๆใน BEAUTYM19 จนกว่าราคาจะมีการเลือกทางที่ชัดเจน หรือปัจจัยพื้นฐานมีการเปลี่ยนแปลง
KCE : บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน)
ผลประกอบการ Q1/2562 มีกำไรสุทธิลดลง 50.4% เมื่อเทียบแบบ YoY โดยมีสาเหตุมาจากผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ชะลอคำสั่งซื้อ ทำให้ปริมาณขายลดลง กระทบต่อรายได้จากการขายลดลง 9.5% และอัตรากำไรขั้นต้นเหลือเพียง 21.1% จาก 25.8% ใน Q1/2561 และผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ประกอบกับค่าเงินบาทแข็งค่า และการปรับลดคาดการณ์การเติบโตของการส่งออกปี 2562 ทำให้ราคาหุ้น KCE ปรับตัวลดลงมากถึง 30.24%
มุมมองทางเทคนิค : ราคาหุ้นปรับตัวลดลงหลุดแนวรับสำคัญ 21 บาท ทำ New Low ในรอบ 4 ปีที่ราคา 16.40 บาท แล้ว Rebound มาปิดที่ 17.30 บาท ภาพรวมแนวโน้มอยู่ในทิศทางขาลง เราจึงมีคำแนะนำ Short สำหรับ Trend Trade ใน KCEM18 เมื่อเข้าใกล้แนวต้านบริเวณ 21 บาท โดยมีเป้าหมาย ที่ 15-18 บาท จนกว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องข้อตกลงของสงครามการค้า หรือค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ซึ่งจะทำให้มุมมองของหุ้นในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการขนส่งดีขึ้น
HANA : บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน)
ผลประกอบการ Q1/2562 กำไรสุทธิลดลง 45.21% เมื่อเทียบแบบ YoY และผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน กับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ประกอบกับมีการปรับลดคาดการณ์การส่งออกเติบโตเหลือเพียง 1% จากเดิมคาดการณ์เติบโตที่ 3% ส่งผลให้ราคาหุ้นในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการส่งออกปรับตัวลดลงทั้ง KCE HANA และ DELTA
มุมมองทางเทคนิค : ราคาปรับตัวลดลงมากถึง 23.69% หลุดแนวรับสำคัญ 30 บาท ทำ New Low ในรอบกว่า 4 ปี ก่อนที่ราคาจะกลับมาปิด 24.80 บาท แนวโน้มราคาอยู่ในขาลง เราแนะนำให้รอการ Rebound เพื่อเข้าลงทุนในฝั่ง Short บริเวณ 27-28 บาท ใช้แนวใกล้ Low ที่ 24.60 เป็นเป้าหมายทำกำไร และ Stop ที่ราคา 30 บาท
สำหรับเดือนมิ.ย. 2562 จะมีหุ้นตัวใดที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น-ลดลงมากที่สุด 3 อันดับ และมาจากประเด็นอะไร แล้วเรามีมุมมองและกลยุทธ์อย่างไร มาติดตามกันต่อในสัปดาห์แรกของทุกเดือน…สุดท้ายนี้ เราขอให้นักลงทุนทุกท่านรักษาสุขภาพและโชคดีกับการลงทุนตลอดเดือน มิ.ย.
Array ( )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732452013 [CAFXSI18NX] => th [_csrf] => 3d951ae8391ddd71c46d516f6cab8dfb [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/single-stock-futures-May-2019-Who-is-outstanding.html )
Array ( [content] => single-stock-futures-May-2019-Who-is-outstanding )
Array ( )