เผยแพร่เมื่อ วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ทองคำหลังจากนี้จะพุ่งหรือลง อยู่ที่...
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสิ่งที่ชี้วัดราคาทองคำที่นักลงทุนพบเห็นได้บ่อยที่สุด คือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะว่า ราคาทองคำโลกซื้อขายผ่านสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯเป็นหลัก และการแข็งหรืออ่อนค่าของดอลลาร์ส่งผลกระทบต่อราคาทองคำเป็นอย่างมาก ขณะปัจจัยที่กระทบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯมีดังนี้
โดยภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯจากตารางด้านล่าง
สรุปจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ (ระยะสั้นลบทอง)
นโยบายการคลัง(ระยะสั้นบวกทอง,ระยะกลางลบทอง)
เริ่มจากช่วงต้นปี 64 สหรัฐฯประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเพียงเงินที่เข้าไปช่วยประชาชนและธุรกิจให้อยู่รอดช่วงที่โรคโควิด-19 แต่ไม่ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะยาว แต่จะกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มก็ไม่ได้เพราะอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงมากๆ
โดยมาตรการแรกจะเน้นไปที่การซ่อมแซมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ประมาณเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการปรับปรุงซ่อมแซมถนน, สะพาน, รางรถไฟ, ท่าเรือ เป็นต้น อีกส่วนคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับ “พลังงานสะอาด” และอุตสาหกรรม “อนาคต”
มาตรการที่สองจะเป็นการปรับปรุง “โครงสร้างพื้นฐาน” เป็นการช่วยเหลือกับประชาชนโดยตรง ประกอบไปด้วย โครงการเรียนวิทยาลัยชุมชนฟรี, โปรแกรมช่วยเหลือการจ้างงานผู้หญิงให้สามารถทำงานและเลี้ยงลูกไปพร้อมกันได้
และมาตรการทั้งสองเป็นปัจจัยทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่า เพราะเป็นมาตรการปล่อยเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่ต้องระวังประเด็นการเพิ่มอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากสูงสุด 37% ไปที่ 39.6% สำหรับผู้ที่มีรายได้มากกว่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี และการขึ้นภาษีนิติบุคคลจาก 21% เป็น 28% รวมถึงการจะขึ้นภาษีจากกำไรในการลงทุนในหุ้น (Capital Gains Tax) หากมีมาตรการเพิ่มการเก็บภาษีจะเป็นช่องทางดูดเงินออกจากระบบ ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า
นโยบายการเงินสหรัฐฯ(ระยะสั้นบวกทอง,ระยะกลางลบทอง)
ธนาคารกลางสหรัฐฯได้ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยลดดอกเบี้ยเหลือ 0-0.25% และใช้ QE 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยใช้แบบไม่มีกำหนด แต่การประชุม FOMC ในเดือน มิ.ย. เริ่มเห็นเงื่อนไขการขึ้นดอกเบี้ย คือ 1.เศรษฐกิจสหรัฐฯขยายตัว 2.อัตราการว่างงานอยู่ที่ก่อนเกิดโควิด-19 (3.5%-3.8%) และ3.อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ 2%
ส่วนเงื่อนไขการลด QE คือ 1.แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯขยายตัว 2.แนวโน้มการระบาดโควิด-19 ลดลงและ3.แนวโน้มการฉีดยาต้านโควิด-19 เพิ่มขึ้น
โดยรวมการลดดอกเบี้ยและการใช้ QE เป็นการส่งเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าเป็นอย่างมาก แต่หากเข้าเงื่อนไขที่ขึ้นดอกเบี้ยและลด QE จะเป็นการดูดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ
และนี่คือ 3 ประเด็น ที่ส่งผลต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ยังไม่จบแค่ 3 ประเด็นดังกล่าว นักลงทุนต้องจับตาอีก 2 ประเด็น ที่สามารถเปลี่ยนเศรษฐกิจสหรัฐฯได้แก่
1.การระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มกลับมาจากที่การระบาดโควิด-19 ในเดือน ก.ค. ของสหรัฐฯ(ระยะสั้นบวกทอง,ระยะกลางบวกทอง)
โดยมีการระบาดเพิ่มแตะ 2 หมื่นรายในเดือน ก.ค. จากเดิมในเดือน พ.ค.ถึง มิ.ย. ไม่เคยแตะ 2 หมื่นราย ทั้งนี้เราได้เจาะลึกว่าเป็นรัฐไหนที่ระบาดเยอะ จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่ารัฐฟลอริดามีการระบาดหนัก และที่น่ากลัวเพราะรัฐดังกล่าวมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ในสหรัฐฯ หากเกิดการแพร่ระบาดโควิด- จะกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงการ boot เข็ม 3 ของทั่วโลกที่ยังไม่มีบทวิจัย และตอนนี้สหรัฐฯจะต้องฉีดเข็มที่ 3 เพื่อที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่อีกครั้ง เนื่องจากยาต้านโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็น The Pfizer/BioNtech ,AstraZeneca ,J&J,Moderna,Sinopharm,และ Sinovac เป็นการวิจัยยาที่ยังไม่จบ เพราะการวิจัยยามี 4 ขั้นตอน คือ
ทั้งนี้เรายังไม่สามารถรู้ถึงความสัมพันธ์อย่าง ผลข้างเคียงในระยะยาวของยาต้านโควิด-19 รวมถึงเพราะเราใช้เวลาแค่ 1 ปี จึงมองว่าเป็นความเสี่ยงต่อมนุษยชาติ
2.การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน(ระยะกลางบวกทอง)
โดยข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน มีความเสี่ยงสูงที่จะเริ่มเห็นการกลับมาขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ที่มีต่อจีน แต่สหรัฐฯต้องระวังเนื่องจากจีนได้ผ่านกฎหมายต่อต้านการคว่ำบาตรจากต่างชาติ โดยอนุญาตให้ศาลจีนลงโทษบริษัทที่ปฏิบัติตามกฎหมายต่างชาติที่สร้างความเสียหายต่อผลประโยชน์แห่งชาติของจีน โดยมาตรการตอบโต้ในกฎหมายฉบับใหม่ รวมถึงการปฏิเสธออกวีซ่า, ปฏิเสธการเข้าประเทศ, เนรเทศ และปิด ยึด และอายัดทรัพย์สินของบุคคลหรือธุรกิจที่ปฏิบัติตามการคว่ำบาตรของต่างชาติต่อธุรกิจหรือเจ้าหน้าที่จีน
Array ( )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732538959 [CAFXSI18NX] => th [_csrf] => 848ef9ca85aa14402c09514bb0ea2a77 [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/overview-gold-2-2021.html )
Array ( [content] => overview-gold-2-2021 )
Array ( )