บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

วิกฤตต่อจากโควิด-19 ที่จะเป็นบวกต่อราคาทองคำ

วิกฤตต่อจากโควิด-19 ที่จะเป็นบวกต่อราคาทองคำ

เผยแพร่เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563


นักลงทุนหลายท่านคงได้เห็นวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 กันแล้ว จริงๆโรคโควิด-19 มีโอกาสจบได้ในหนึ่งเดือน มีตัวอย่างให้เห็นกันแล้วว่า ทำไมจีนถึงคุมอยู่ แต่ยุโรปกับสหรัฐฯคุมไม่อยู่ เพราะอะไร ?

กล่าวได้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะคุมอยู่หรือไม่อยู่ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้นำ และความพร้อมของประเทศ หากผู้นำห่วงเศรษฐกิจมากกว่า สุขภาพของประชาชน ก็สามารถเปรียบได้กับวิธีการรับมือของยุโรปกับสหรัฐฯ แต่จะโทษแต่ผู้นำไม่ได้ เพราะว่าเมื่อผู้นำสั่งแต่ประชาชนไม่ทำตาม ความสำเร็จก็ไม่เกิด

แต่หากย้อนมาที่จีนใช้มาตรการต่างๆ และคำนึงถึงการปกป้อง ช่วยเหลือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มกำลัง ซึ่งสิ่งที่กำลังจะสื่อว่าวิกฤตโควิด-19 จริงๆแล้ว คือ การบริหาร และการเชื่อมั่นในผู้บริหารนั่นเอง และผมต้องขอโทษผู้อ่านจริงๆ เพราะนอกหัวข้อไปไกลมาก

 

กลับมาที่วิกฤตต่อจากโควิด-19 มองเป็นไปเรื่อง “หนี้” ทำไมต้องเป็นเรื่องหนี้ เนื่องจากนักลงทุนคงได้เห็นกันแล้วว่า ธนาคารกลางของหลายประเทศคิดอะไรไม่ออก ก็ไปลงที่ลดดอกเบี้ยนโยบาย แต่จะว่าเขามากก็ไม่ได้เนื่องจาก นายธนาคารมาจากสายเศรษฐศาสตร์เกือบทั้งนั้น โดยนโยบายการเงินมี 4 แบบ คือ

  1. มาตรการดอกเบี้ย
  2. การซื้อหรือขายพันธบัตรรัฐบาล
  3. การใช้อัตราเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์(RRR)
  4. ของใหม่อย่างมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณที่เริ่มใช้โดย FED ในปี 2008 หรือที่นักลงทุนเคยได้ยินว่า QE นั่นเอง
     

โดยตอนนี้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ใช้นโยบายดังนี้

สิ่งที่เห็นจากนโยบายทางการเงินของชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก คือ ลดดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งผลของการลดดอกเบี้ยธนาคารกลางอยากเห็นอะไร ตอบได้เลยว่า อยากเห็นต้นทุนทางการเงินลดลง จะกระตุ้นการลงทุน และเพิ่มการใช้จ่ายมากขึ้น

จึงมองว่าการลดดอกเบี้ยต่ำๆ จะสร้างปัญหาหนี้อย่างแน่นอน และขณะที่นักลงทุนกำลังอ่านบทความนี้อยู่ หนี้ของโลกมีมากกว่า GDP โลกไปแล้วตามรูปนี้เลย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก FT.com

กลับมาที่การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเป็นวงกว้าง ยกตัวอย่างใกล้ตัว ประเทศไทยได้รับผลกระทบตามที่ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยทำวิจัย ผลกระทบต่อธุรกิจ ดังนี้ เรียงจากมากไปหาน้อย
 

มากที่สุด : ทัวร์ , โรงแรม
ปานกลาง : สายการบิน ,ค้าปลีก, สถานบันเทิง
น้อยมาก : รถยนต์และชิ้นส่วน , อสังหาริมทรัพย์ ,เครื่องใช้ไฟฟ้า

 

สิ่งที่พบ คือ ธุรกิจต่างๆได้ผลกระทบไม่มากก็น้อย และธุรกิจเหล่านั่น เกินกว่าครึ่งทำธุรกิจโดยใช้เงินกู้ หากธุรกิจที่โตด้วยเงินกู้ กลับทำรายได้ไม่เท่าต้นทุนของการกู้ยึม  สิ่งที่ตามหลังจากนี้อาจก่อให้เกิดหนี้(NPL) โดยการเกิด NPL มาจากการที่ลูกหนี้ผิดนัดเกิน 3 เดือนติดต่อกัน  ซึ่ง NPL จะมากขึ้นน้อยขึ้นอยู่ที่ โควิด-19 จะอยู่ยาวหรือไม่ หากอยู่ยาวๆ NPL มีความสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ทำให้ธุรกิจเอกชนที่รวมถึง SME กว่าจะฟื้นคงกินเวลามากว่า 2-3 ปี เป็นแน่

 

ในโลกนี้ทุกประเทศมีหนี้เสียเหมือนกัน ทำไมนักลงทุนของกลัวด้วย เพราะว่าการที่เกิด NPL เป็นจำนวทำให้บุคคลที่ทำให้เกิด NPL ต้องใช้เวลานานกว่าที่กลับมาเป็นลูกค้าดีได้ ทำให้ลูกหนี้ NPL ไม่สามารถกลับมากู้ใหม่ได้ในเวลา 1-5 ปี แน่นอน

 

ในเมื่อทุกประเทศก็มีหนี้ นักลงทุนควรจับตาประเทศใด ตอบแบบไม่คิดเลยว่า สหรัฐฯ อ้าวทำไมต้องเป็นสหรัฐฯ.... เพราะเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจแบอร์ 1 ของโลก ซึ่งจะสร้างความเสียหายได้มากที่สุดเองนั่น

แล้วหนี้ในสหรัฐฯที่นักลงทุนต้องกังวลมีส่วนไหนบ้าง

ข้อมูลจาก https://fred.stlouisfed.org

จากตารางหนี้ดังกล่าวต้องจับตา

1.หนี้ต่อ GDP คือ หนี้ที่รัฐสร้างขึ้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 13.557 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้สหรัฐฯใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสู้โควิด-19 อีก 2 ล้านล้าน อาจทำให้หนี้ต่อ GDP หลังจบโควิด-19 อย่างน้อยๆ ขึ้นไปแตะ 25 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อาจสร้างความกังวลแก่นักลงทุน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการถือเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และการลดถือครองดอลลาร์

 

2.ตราสารหนี้เอกชน ที่หลายแบบแต่ที่นักลงทุนต้องรู้จัก คือ หุ้นกู้ และคำถามชวนคิด หากเอกชนไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ยให้กับนักลงทุนที่ซื้อหุ้นกู้จะเกิดอะไรขึ้น? ....เกิดการผิดชำระหนี้หุ้นกู้ และบริษัทนั้นจะมีความน่าเชื่อถือที่ลดลงอาจมีการเทขายหุ้นบริษัทนั้นอย่างมหาศาล ซึ่งราคาหุ้นจะต่ําเตี้ยเรี่ยดิน หรืออาจจะเจ๊งก็เป็นได้ หากเกิดแบบนี้หลายบริษัทแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯมีความเสี่ยงชะลอตัว
 

3.หนี้ครัวเรือนของสหรัฐฯ หมายถึง การที่ประชาชนกู้ยึมกับสถาบันการเงินที่ธนาคารกลางสหรัฐฯรับรอง ซึ่งหนี้ครัวเรือนของสหรัฐฯในตอนนี้ยังไม่น่ากลัว เพราะยังไม่เกิน GDP แต่นักลงทุนต้องจับตาว่า หากจบการแพร่ระบาดของโควิด-19 หนี้ครัวเรือนจะมากกว่า GDP สหรัฐฯ หรือไม่ หากมีมากกว่าการใช้หนี้คืนจะยากมาก เนื่องจากหนี้มากกว่ารายได้

 

สรุปวิกฤตต่อจากโควิด-19 มองเป็นเรื่อง “หนี้” หากหนี้ในสหรัฐฯมีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นความเสี่ยงที่จะเห็นเศรษฐกิจสหรัฐฯขยายตัวลดลง หรืออาจเห็นการชะลอตัว และการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯไม่สดใส มีโอกาสจูงใจให้นักลงทุนลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐฯเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำนั่นเอง


ข้อมูลอ้างอิง
-
https://www.ft.com
- https://fred.stlouisfed.org/
https://www.bot.or.th


บทความโดย
นายธนะเกียรติ  ปฐมะพงษ์ (ฮั่น)

นักวิเคราะห์ด้านการลงทุนปัจจัยพื้นฐานสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 

ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ

ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน

บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!
Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1732340075
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => affc5cf6efa1e5e78d728da067e19600
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/crisis-from-covid19-that-will-be-a-plus-for-the-gold-price.html
)
		
Array
(
    [content] => crisis-from-covid19-that-will-be-a-plus-for-the-gold-price
)
		
Array
(
)