เผยแพร่เมื่อ วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ผู้ว่าธปท. มองเศรษฐกิจไทยกลับสู่ภาวะปกติได้ปลายปี 65-ต้นปี 66
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.มีภารกิจในการกำกับดูแลระบบเศรษฐกิจให้เติบโตต่อเนื่อง โดยปัจจัยที่ต้องดูแล ได้แก่
1.การส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างราบรื่น (Smooth take off) ซึ่งคาดว่าภาวะเศรษฐกิจจะกลับคืนสู่ภาวะปกติก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ได้ราวปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า โดยมาตรการที่ใช้จะคำนึงถึงบริบททางเศรษฐกิจเฉพาะตัว ให้มีการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป เกิดความสมดุลและยั่งยืน
2.การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นในช่วงเกิดวิกฤตโควิด-19 จากระดับ 50% เป็น 88% ของจีดีพี ให้ลดลงมาอยู่ในระดับไม่เกิน 80% ของจีดีพี ซึ่งต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักการ แก้ไขให้ตรงจุด ไม่ใช้การเหวี่ยงแห
3.คำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม (Green) ซึ่งเป็นประเด็นที่ประเทศในยุโรปกำลังหยิบยกมาเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า
4.การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล โดยการจัดวางระบบเศรษฐกิจ (Ecosystem) เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยเพิ่มโอกาสจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก เช่น ระบบพร้อมเพย์ ระบบคิวอาร์โค้ด ที่สามารถต่อยอดเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค
5.การพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร (HROD)
S&P ลดแนวโน้มอันดับเครดิตอังกฤษสู่เชิงลบ เหตุกังวลหนี้พุ่ง
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P) ได้ปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ AA ของอังกฤษลงสู่ "เชิงลบ" จาก "มีเสถียรภาพ" เนื่องจากวิตกว่า แผนการปรับลดภาษีครั้งใหญ่ของนางลิซ ทรัสส์ นายกรัฐมนตรี จะทำให้หนี้สินของอังกฤษเพิ่มสูงขึ้น
โดยมาตรการปรับลดภาษีราว 4.5 หมื่นล้านปอนด์ (5.0 หมื่นล้านดอลลาร์) รวมถึงมาตรการให้เงินช่วยเหลือด้านค่าพลังงานชั่วคราวต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ซึ่งการประกาศมาตรการดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างหนักต่อค่าเงินปอนด์และตลาดพันธบัตรอังกฤษ
แต่ค่าเงินปอนด์แข็งขึ้น หลังจากธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ได้เริ่มโครงการซื้อพันธบัตรฉุกเฉินเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (28 ก.ย.) เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดการเงิน และ BoE ยังเตือนว่า อาจจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างมากในเดือนพ.ย.
คาดว่าการโดน S&P ปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ AA ของอังกฤษลงสู่ "เชิงลบ" จาก "มีเสถียรภาพ" จะกดค่าเงินปอนด์อ่อน และแนวโน้มเศรษฐกิจอังกฤษมีความเสี่ยงชะลอตัวหลังจากจบการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีโอกาสส่งค่าเงินดอลลาร์แข็งและกดราคาทองคำ
มุมมองสงครามรัสเซียกับยูเครน
สถานการณ์ปัจจุบันรัสเซียได้ประกาศผนวกดินแดน 4 แคว้นยูเครน ได้แก่ โดเนตสก์ ลูฮันสก์ เคอร์ซอน และซาปอริซเซีย แต่ชาติตะวันตกมองว่าการลงประชามติในครั้งนี้เป็นการหาเหตุผลของรัสเซียเพื่อยึดครองดินแดนดังกล่าวทำให้สหรัฐฯประกาศมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่อรัสเซียในวันศุกร์ (30 ก.ย.) มุ่งเป้าที่ประชาชนและบริษัทจำนวนหลาย 100 ราย ซึ่งรวมถึงบุคคลในกองทัพและภาคอุตสาหกรรม และสมาชิกสภานิติบัญญัติของรัสเซีย ทั้งสหรัฐฯส่งสัญญาณจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จำเป็นให้กับยูเครนต่อไปเพื่อป้องกันตนเอง ขณะที่ปธน.ปูตินอ้างว่าหากยูเครนโจมตีดินแดนดังกล่าวก็จะถือเสมือนการโจมตีรัสเซีย และรัสเซียจะไม่ลังเลในการใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อปกป้องดินแดนและอธิปไตยของประเทศ
ส่วนยูเครนได้ยื่นสมัครเป็นสมาชิกนาโตแบบ fast track แต่ไม่ได้ fast track สมชื่อ เนื่องจากการเข้านาโตต้องมีเงื่อนไขสำคัญ คือ ประเทศสมาชิกนาโตทั้งหมดต้องมีมติเป็นเอกฉันท์ ที่จะรับประเทศใดประเทศหนึ่งในการเข้าร่วม ซึ่งอาจใช้เวลา 1 ปีขึ้นไป
หากมองความต้องการของรัสเซียคาดว่า ไม่ต้องการให้ยูเครนที่เคยกับส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตอยู่ในมือของชาติตะวันตก ทำให้สงครามอาจมีต่อไป(+ทองคำ)
Array ( )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1733302127 [CAFXSI18NX] => th [_csrf] => a212de88178f9c65377a0110634686fd [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/caf-update-03-10-65.html )
Array ( [content] => caf-update-03-10-65 )
Array ( )