บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

แบงก์ชาติปรับดอกเบี้ย-ค่าฟี กระทบต่อกลุ่มธนาคารอย่างไร

แบงก์ชาติปรับดอกเบี้ย-ค่าฟี กระทบต่อกลุ่มธนาคารอย่างไร

เผยแพร่เมื่อ วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2563


แบงก์ชาติปรับดอกเบี้ย-ค่าฟี กระทบต่อกลุ่มธนาคารอย่างไร

7 ม.ค. 63 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีการประกาศให้สถาบันการเงินปรับปรุงการคิดดอกเบี้ยและการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใน 3 เรื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาระของประชาชน, ธุรกิจ SME และปรับปรุงการดำเนินงานของสถาบันการเงินให้เป็นธรรมมากขึ้น มีรายละเอียด ดังนี้

1. ค่าปรับการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด (Prepayment) สำหรับสินเชื่อ SME และสินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีลักษณะการผ่อนชำระเป็นงวด
เดิมสถาบันการเงินบางรายคิดค่าปรับจากวงเงินสินเชื่อทั้งก้อน แต่เกณฑ์ใหม่ให้คิดค่าปรับจากยอดเงินต้นคงเหลือ และให้สถาบันการเงินกำหนดช่วงระยะเวลาที่จะยกเว้นการเรียกเก็บค่าปรับการไถ่ถอน การที่ค่าปรับไม่สูงมากจะช่วยให้ประชาชน และ SME มีโอกาสเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุด เพิ่มการแข่งขัน และทำให้ตลาด Refinancing เกิดขึ้นในประเทศไทย

2. ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อ SME และสินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีลักษณะการผ่อนชำระเป็นงวด
เดิมการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จะคิดจากเงินต้นคงเหลือ เกณฑ์ใหม่ให้คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากค่างวด (Installment) ที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระ เฉพาะส่วนที่เป็นเงินต้นของค่างวดนั้น หากสถาบันการเงินมีลูกหนี้เดิมที่อยู่ระหว่างการเรียกเก็บดอกเบี้ยตามวิธีเดิม ขอให้สถาบันการเงินพิจารณาปรับลดหรือยกเว้นดอกเบี้ยตามสมควร

นอกจากนี้ สถาบันการเงินต้องกำหนดช่วงระยะเวลาการผ่อนผันไม่คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ (Grace period) ในกรณีที่ลูกหนี้อาจมีเหตุสุดวิสัย ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด และให้แจ้งรายละเอียดของยอดหนี้ค้างชำระ เช่น ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ ค่าธรรมเนียมทวงถามหนี้ ให้ลูกหนี้ทราบอย่างชัดเจน

3. ค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิต หากผู้ใช้บริการยกเลิกการใช้บัตร เดิมจะไม่มีการคืนส่วนต่างหรือคืนเมื่อมีการร้องขอเท่านั้น แต่เกณฑ์ใหม่กำหนดให้สถาบันการเงินคืนค่าธรรมเนียมรายปีตามสัดส่วนระยะเวลาคงเหลือของบัตรโดยไม่ต้องให้ผู้ใช้บริการร้องขอ และกรณีต้องออกบัตรหรือรหัสบัตรทดแทน เดิมจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมทุกกรณี เกณฑ์ใหม่ให้ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมการออกบัตรหรือรหัสบัตรทดแทน ยกเว้นกรณีที่ออกบัตรหรือรหัสทดแทนที่มีต้นทุนสูงอาจพิจารณาจัดเก็บได้ตามความเหมาะสม

อ้างอิง: ธนาคารแห่งประเทศไทย / The Standard / กรุงเทพธุรกิจ

คาดการณ์ผลกระทบต่อกลุ่มธนาคาร

1. กลุ่มแบงก์ เช่น BBL, KBANK, SCB เป็นต้น มีโอกาสรับรู้รายได้ลดลง ทั้งส่วนที่เป็นรายได้จากดอกเบี้ย และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย
2. แบงก์ที่มีพอร์ทสินเชื่อ SME มาก จะได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ เนื่องจาก SME จะมีตัวเลือกในการขอสินเชื่อมากขึ้น หากข้อเสนอแพงกว่า หรือไม่ดึงดูดใจเท่ากับที่อื่น อาจทำให้ผู้ใช้บริการมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะส่งผลให้รายได้มีแนวโน้มลดลงตามมา เราคาดว่า KBANK จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะมีสัดส่วนสินเชื่อ SME มากกว่า 30%

การรับมือสำหรับนักลงทุน

1. ติดตามผลประกอบการกลุ่มธนาคารนับตั้งแต่ Q1/62 เป็นต้นไปอย่างใกล้ชิด
2. ติดตามนโยบายการเงิน และการกำกับดูแลสถาบันการเงินของ ธปท. ที่อาจส่งผลกระทบกับราคาหุ้นกลุ่มแบงก์
3. หากราคาหุ้นกลุ่มแบงก์เปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาลง...การเปิดสถานะ Short ทั้ง Single Stock Futures หรือ Block Trade เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุนของท่าน

 

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!
Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1734851311
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => f0f645c07ecbf065413b41618f2d25f6
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/bot-bank-7Jan.html
)
		
Array
(
    [content] => bot-bank-7Jan
)
		
Array
(
)