บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

กนง. คงดอกเบี้ย-ลดคาดการณ์เศรษฐกิจ Single Stock Futures กลุ่มไหนที่ต้องจับตา

กนง. คงดอกเบี้ย-ลดคาดการณ์เศรษฐกิจ Single Stock Futures กลุ่มไหนที่ต้องจับตา

เผยแพร่เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2564


ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 64 ที่ผ่านมา มีหลายประเด็นที่ต้องโฟกัสเป็นพิเศษ เพราะรอบนี้ เป็นรอบที่มีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 64 ต่อเนื่องจากที่เคยปรับในการประชุมครั้งก่อน ซึ่งตัวเลขที่ปรับลดลงมานั้น สร้างความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปี 64 และมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่อาจทำให้เกิดแรงเทขายหุ้นออกมาอีกก็เป็นได้

คำถามคือ กนง. ทิ้งข้อความอะไรไว้ให้นักลงทุนบ้าง? ประเด็นแรก กนง. มีมติ 4:2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ซึ่งเป็นมติที่ไม่เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากมีคณะกรรมการ 2 ท่าน เสนอให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เพื่อพยุงเศรษฐกิจในปัจจุบัน และรองรับภาวะเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงสูงในอนาคต ส่วนอีก 4 ท่านที่เป็นเสียงข้างมากในการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% มองว่าการใช้มาตรการทางการเงิน จะให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อเศรษฐกิจ มากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ย

มาตรการทางการเงินที่ กนง. มองว่ามีผลดีต่อเศรษฐกิจ ได้แก่ การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบของโควิด-19 ให้มีสภาพคล่องทางการเงิน และลดภาระหนี้ของผู้ที่ได้รับผลกระทบ ผ่านมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู และมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ รวมไปถึงมาตรการอื่นๆที่สถาบันการเงินเป็นคนดูแล จากจุดนี้ เราตีความได้ว่า ธปท. ให้ความสำคัญกับการลดภาระหนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากการระบาดที่นำไปสู่การยกระดับมาตรการควบคุม ทำให้ธุรกิจต่างๆมีแนวโน้มขาดสภาพคล่องเป็นเวลานาน ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคต ประเด็นนี้กระทบกับหุ้น และ Single Stock Futures กลุ่มธนาคาร (BANK) กับกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ (FIN) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ย้อนกลับไปในรายงานผลการดำเนินงานกลุ่มธนาคาร Q2/64 ที่ผ่านมา จะพบว่า NPLs ของกลุ่มธนาคาร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ Q1/64 สอดคล้องกับทิศทางกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคาร เริ่มชะลอตัวเมื่อเทียบกับ Q1/64 

จุดนี้สะท้อนภาพรวมของรายได้หลักกลุ่มธนาคาร หรือรายได้จากดอกเบี้ย เริ่มมีการชะลอตัวลงไป หลังฟื้นตัวขึ้นมาได้ 3 ไตรมาสต่อเนื่อง และการระบาดของโควิด-19 กลับมาอีกครั้ง นำไปสู่การใช้มาตรการควบคุมขั้นสูง ทำให้หลายธุรกิจได้รับผลกระทบ และอาจส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ ทั้งนี้ ธนาคารก็ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ไปก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งต้องติดตามกันต่อไปว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคารจะเป็นอย่างไรในครึ่งปีหลัง

อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าผลประกอบการครึ่งหลังของกลุ่มธนาคาร จะมีทิศทางชะลอตัวมากขึ้นจาก Q2/63 ด้วยเหตุผลด้านความเปราะบางของเศรษฐกิจ และหนี้สินที่ควรได้รับการช่วยเหลือผ่านมาตรการต่างๆ อาจทำให้รายได้จากดอกเบี้ยของกลุ่มธนาคารลดลง นำไปสู่การปรับเพิ่มผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECLs) ซึ่งจะกดกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารลง ดังนั้น กลุ่มธนาคารจึงเป็นกลุ่มที่น่าจับตาสำหรับฝั่ง Short ในช่วงครึ่งปีหลัง

ประเด็นที่ 2 ที่ประชุม กนง. ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ไทยปี 64 จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 1.8% ลดลงเหลือ 0.7% ซึ่งเป็นการปรับคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยลง ต่อเนื่องจากการประชุมในเดือน มิ.ย. ที่ปรับจาก 3% เหลือ 1.8% สาเหตุที่มีการปรับคาดการณ์ลง เพราะการระบาดของโควิด-19 รุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ในตอนแรก อาจนำไปสู่การเปิดประเทศล่าช้า และความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวลดลง

การประชุมครั้งนี้ กนง. ได้ยกประเด็นการกระจายวัคซีน และประสิทธิภาพของวัคซีน รวมไปถึงนโยบายหรือมาตรการควบคุมการระบาดในประเทศ ขึ้นมาเป็นสิ่งที่ต้องติดตามในช่วงครึ่งปีหลัง เพราะเป็นตัวกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจ ในแง่ของการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เนื่องจาก GDP ไทยในช่วงก่อนที่มีการระบาดของโควิด-19 มีสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวราว 15-20% หากการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้ เศรษฐกิจไทยก็จะฟื้นตัวได้เช่นกัน

ด้านการส่งออก ถือเป็นพระเอกของเศรษฐกิจในปีนี้ เนื่องจากหลายประเทศเริ่มฟื้นตัว ทำให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์กลับมา และยังได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนอื่นๆที่ กนง. กังวล คือ ตลาดแรงงานและการจ้างงานที่มีความเปราะบาง โดยเฉพาะภาคบริการ อาจกระทบกับรายได้ของผู้บริโภค และจะกระทบกับการบริโภคภาคเอกชนในลำดับต่อมา 

นอกจากนี้ กนง. ได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 65 ลงจาก 3.9% เหลือ 3.7% โดยคาดว่าการระบาดของโควิด-19 จะมีความรุนแรงและอาจยืดเยื้อไปถึงปี 65 เลยทีเดียว เราคาดว่า หากการระบาดของโควิด-19 ยืดเยื้อ รวมถึงมาตรการควบคุมการระบาดที่ยาวนาน อาจทำให้ กนง. ปรับลดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 64 และ 65 ลงอีกก็เป็นได้ โดยการประชุมครั้งที่เหลือ ถูกกำหนดไว้วันที่ 29 ก.ย. 64, 10 พ.ย. 64 และ 22 ธ.ค. 64

หากวิเคราะห์ข้อความที่ กนง. ส่งมาข้างต้น จะพบว่า หุ้นหรือ Single Stock Futures กลุ่มที่ยังน่าสนใจในฝั่ง Long ก็จะเป็นกลุ่มที่เกี่ยวกับการส่งออก เช่น กลุ่มอาหาร (FOOD), กลุ่มสินค้าเกษตรฯ (AGRI) และกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (ETRON) ส่วนกลุ่มอื่นๆที่มีการส่งออก แต่ยังต้องระวังปัจจัยด้านอื่นกระทบ เช่น กลุ่มปิโตรเคมี (PETRO) ที่มีราคาน้ำมันเป็นตัวกำหนดราคาต้นทุน และราคาขายสินค้า ก็เป็นกลุ่มที่น่าสนใจรองลงมา

ส่วนกลุ่มที่น่าสนใจหากต้องการเข้า Short เพิ่มเติมจากกลุ่มธนาคาร (BANK) ก็จะเป็นกลุ่มที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น กลุ่มการบริการ ศูนย์การค้า โรงแรม สายการบิน โดยมีหุ้นที่เป็นที่รู้จักหลายตัวด้วยกัน เช่น AAV, AOT, BA, CENTEL, CRC, ERW, MINT เป็นต้น กลุ่มเหล่านี้ หากการระบาดของโควิด-19 ยังไม่ดีขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ ก็ยังเป็นกลุ่มที่อยู่ใน Watchlist ฝั่ง Short มากกว่าฝั่ง Long

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!

บทความที่เกี่ยวข้อง

Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1732310823
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => 80ad6b93f7818d7df129088b006159f9
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/analyze-thaibank-sock-2021.html
)
		
Array
(
    [content] => analyze-thaibank-sock-2021
)
		
Array
(
)