บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

Sell in May ต้องพักฝั่ง Long แล้วมองฝั่ง Short จริงหรือไม่?

Sell in May ต้องพักฝั่ง Long แล้วมองฝั่ง Short จริงหรือไม่?

เผยแพร่เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564


เข้าสู่เดือนพฤษภาคมปี 64 เดือนที่นักลงทุนหลายคน เชื่อว่าจะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Sell in May, and Go Away ซึ่งหมายถึง ดัชนีมักมีการปรับตัวลงในเดือน พ.ค. โดยมีสาเหตุมาจากการเทขายทำกำไรของนักลงทุน หลังจากที่ผ่านช่วงของการประกาศผลการดำเนินงาน Q1 รวมไปถึงการที่หุ้นของหลายบริษัทขึ้นเครื่องหมาย XD พอจบจากการได้สิทธิการรับปันผลแล้ว นักลงทุนก็มักจะขายหุ้นออกเพื่อทำกำไร

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงาน Q1 สำหรับหลายบริษัท เป็นตัวที่สามารถตัดสินได้เลยว่า ผลการดำเนินงานทั้งปีเป็นอย่างไร แนวโน้มการดำเนินงานของปีนั้นทั้งปีจะดีหรือไม่ สามารถสะท้อนผ่านผลการดำเนินงาน Q1 ของปีนี้ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าได้เลย อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานของแต่ละบริษัทก็มีช่วง High Season ที่ต่างกัน นักลงทุนสามารถวิเคราะห์ได้จากการนำผลการดำเนินงานแต่ละไตรมาสของทุกปี มาเทียบดูว่าไตรมาสใดเป็นช่วง High Season ของบริษัท

สำหรับวันนี้ เรามีสถิติที่น่าสนใจมาให้ดูกันว่า SET Index มีการปรับตัวลงตาม Sell in May จริงหรือไม่ และคำแนะนำสำหรับนักลงทุนที่ซื้อขายหุ้น หรือ Single Stock Futures ว่าควรปิดทำกำไรฝั่ง Long แล้วเปลี่ยนมาถือฝั่ง Short แทนเลยหรือไม่? เรามาวิเคราะห์ไปพร้อมๆกันเลย

ก่อนและหลัง Sell in May

ภาพของ SET Index ย้อนหลัง 10 ปี ในแต่ละลูกศรแสดงแท่งของเดือน พ.ค. จะเห็นว่า ส่วนใหญ่แท่งจะมีลักษณะเป็นสีแดง แสดงว่า  SET index มักมีการปิดสิ้นเดือน พ.ค. ต่ำกว่าตอนต้นเดือน หมายถึง แรงเทขายมักจะเกิดขึ้นในเดือน พ.ค. จริง โดยมีเพียง 2 จาก 10 ครั้งเท่านั้น ที่ SET Index ปิดสิ้นเดือน พ.ค. สูงกว่าต้นเดือน และจะเกิดขึ้นหากช่วงก่อนหน้ามีการเทขายอย่างหนักออกมาก่อน แต่ถ้าปีใดที่มีแรงซื้อจำนวนมากในช่วงก่อนหน้า ก็มักจะเกิดแรงเทขายภายในเดือน พ.ค. ซึ่งเกิดขึ้นถึง 8 ครั้ง จาก 10 ครั้งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

เราจึงได้ข้อสรุปว่า Sell in May มีโอกาสเกิดขึ้นจริง ดังนั้น สำหรับนักลงทุน ช่วงเดือน พ.ค. จึงเป็นช่วงที่ควรขายทำกำไรฝั่ง Long ออกมาบ้าง และเปลี่ยนไปเฝ้ารอการเปิดสถานะ Short แทน และถ้าเราขยายภาพออกมาอีก เป็นช่วงก่อนและหลัง Sell in May จะพบสิ่งที่น่าสนใจจากสถิติ ดังนี้

1. เปรียบเทียบ SET Index สิ้นเดือน พ.ค. และ สิ้นเดือน เม.ย. หาการเปลี่ยนแปลงแบบ %MoM

จากสถิติพบว่า SET Index ในเดือน พ.ค. มักมีการปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย. โดยเป็นการปรับตัวลง 7 ครั้งในรอบ 10 ปี เราสามารถใช้ประโยชน์จากตารางนี้ได้ว่า ควรมีการขายทำกำไรบางส่วน ตั้งแต่เดือน เม.ย. เพื่อให้พอร์ตได้รับความเสียหายลดลงจาก Sentiment ลบในเดือน พ.ค

2. เปรียบเทียบ SET Index สิ้นเดือน พ.ค. และ SET Index สิ้นปีก่อนหน้า หาการเปลี่ยนแปลงแบบ %YTD

จากสถิตินี้ พบว่า SET Index ในเดือน พ.ค. มักปิดสิ้นเดือน สูงกว่า SET Index ต้นปี หมายความว่า หลังผ่านช่วง Sell in May ไปแล้ว นักลงทุนที่ถือสถานะซื้อข้ามมาจากวันสุดท้ายของปีก่อนหน้า จะยังคงมีกำไรอยู่ อย่างไรก็ตาม การขายทำกำไรออกไปบางส่วนในช่วงก่อนหน้า ก็เป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากเราจะขายในจุดที่สูงกว่าเดือน พ.ค. (โดยเฉพาะในเดือน เม.ย.) และสร้างโอกาสการลงทุนรอบใหม่ด้วย

3. เปรียบเทียบ SET Index เดือน พ.ค. และ SET Index สิ้นปีเดียวกัน หาการเปลี่ยนแปลงหลังจบ Sell in May

สถิติสุดท้าย พบว่า SET Index หลังการเกิด Sell in May จนถึงสิ้นปี มี 5 ครั้งที่ปรับตัวขึ้น และ 5 ครั้งที่ปรับตัวลงในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ในส่วนนี้ เราอาจจะต้องวิเคราะห์ภาพรวมว่าเกิดอะไรขึ้น ในแต่ละปีอาจมีปัจจัยกระทบที่ต่างกันไป การกำหนดกลยุทธ์การซื้อขายหลังจากจบ Sell in May จนถึงสิ้นปี ก็มีความแตกต่างกัน

จากทั้ง 3 สถิติที่เรานำมาให้ดูกัน รวมไปถึงภาพของ SET Index ที่นำเสนอไปในช่วงแรก ก็ได้ข้อสรุปที่นำไปสู่คำแนะนำว่า ก่อนเข้าสู่เดือน พ.ค. ควรมีการทำกำไร ปิดสถานะ Long ออกไปบ้าง เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ Sell in May ส่วนนักลงทุนที่ถือหุ้นยาวมาตั้งแต่ต้นปี การขายเพื่อลดการถือหุ้นในพอร์ต ก็เป็นทางเลือกที่ดี ในแง่ของการบริหารความเสี่ยง และการรับรู้กำไรเพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุนรอบใหม่ได้ด้วย

 

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!

บทความที่เกี่ยวข้อง

Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1732327619
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => b3156968deac37ba22a4f8da2a4ba65f
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/analyze-ssf-2021.html
)
		
Array
(
    [content] => analyze-ssf-2021
)
		
Array
(
)