เผยแพร่เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ปัจจุบันเงินเฟ้อของสหรัฐฯได้เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 40 ปี แตะ 9.1% กระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในด้านการบริโภคและการลงทุน กดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อลดเงินเฟ้อ จึงกระทบต่อราคาสินทรัพย์ต่างๆในปัจจุบัน ก่อนจะมองถึงอนาคตเรามาเรียนรู้ว่าเกิดจากอะไร
เงินเฟ้อคือภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง วัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคหรือ CPI โดยเงินเฟ้อ มีสาเหตุมาจาก 2 ประเด็น
1.เงินเฟ้อจากอุปสงค์ เกิดจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการสินค้าและบริการมาก แต่ผู้ผลิตไม่สามารถผลิตได้ตามความต้องการ ทำให้เกิดการขาดแคลน และผลักดันให้ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ทั้งนี้ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น มาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายภาครัฐ การเพิ่มอุปสงค์ในต่างประเทศ และพฤติกรรมการบริโภคประชาชน
2.เงินเฟ้อจากอุปทาน เกิดจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น เร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพการผลิต ผู้ผลิตจึงผลักภาระให้ผู้บริโภค ด้วยการปรับราคาสินค้าและบริการ ทั้งนี้อาจมาจาก ค่าจ้างแรงงาน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ผู้ประกอบการต้องการกำไรมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้านำเข้า เช่น ราคาน้ำมัน ซึ่งปรับตามราคาในตลาดโลก หรือผลการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน
สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อรอบนี้มีทั้ง 2 ประเด็น
1.ประเด็นจากอุปสงค์
การใช้นโยบาย QE ของ FED ในช่วงโควิด-19 เป็นการเพิ่มเงินในระบบเศรษฐกิจโดยการพิมพ์เงิน เพื่อไปซื้อสินทรัพย์ เช่น ตราสารหนี้ ทำให้เงินในระบบมากขึ้น ผลักดันให้ราคาตราสารหนี้แพงสูงขึ้น กดดันให้อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ลดลง และทำให้อัตราดอกเบี้ยต่ำลง ส่งผลให้ธนาคารปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง เอื้อต่อการระดมทุนในตลาดทุน ทั้งนี้การอัดฉีดเงินในระบบ ก็ยังส่งผลให้เม็ดเงินไหลไปที่การลงทุนทางการเงิน และกระตุ้นการจับจ่ายในระบบเศรษฐกิจ โดยตั้งแต่ ม.ค. 63 ถึง ก.ค. 65 ปริมาณเงินสดที่หมุนเวียนในระบบ(M1) เพิ่มเข้ามาในระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯประมาณ 4 เท่า ตามรูปด้านล่าง
แต่การใช้นโยบาย QE ของ FED ก็ไม่ใช่ปัจจัยเดียว เพราะสหรัฐฯยังมีการจ้างงานที่แข็งแกร่ง จากตัวเลขการว่างงานปัจจุบันเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ที่ 3.5% สะท้อนให้เห็นว่า รายได้ผู้บริโภคกลับมาเท่ากับช่วงก่อนโควิด
2.ประเด็นจากอุปทาน
การเกิดสงครามรัสเซีย ยูเครน มีผลกับห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากมีสัดส่วนการส่งออกอาหารและพลังงาน ในปริมาณที่มีนัยยะสำคัญกับระบบเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนอาหารและพลังงาน เนื่องจากยูเครนไม่สามารถส่งออกอาหารไม่ได้เพราะรัสเซียยึดเมืองท่าสำคัญของยูเครน และชาติตะวันตกใช้มาตรการแบนพลังงานที่มาจากรัสเซีย ทำให้อุปทานพลังงานและอาหารลดลง และปัจจุบันราคาอาหารและพลังงาน ปรับตัวลดลงมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนรัสเซียบุกแล้วเพราะว่าตัวกลางอย่าง UN สามารถไกล่เกลี่ยระหว่างรัสเซีย ยูเครน ว่าให้ทั้งคู่ส่งออกสินค้าได้ ส่วนเรื่องของพลังงานที่ปรับตัวลงเกิดจากการกังวลในเรื่องเศรษฐกิจโลกถดถอย ทำให้ราคาพลังงานปรับตัวลดลงในระยะสั้น แต่ทิศทางราคาน้ำมันยังต้องติดตามการประชุมโอเปกพลัส เพราะเป็นผู้กำหนดปริมาณการผลิตน้ำมันในตลาดโลก
จะเห็นว่าประเด็นต่างๆ ในปัจจุบัน ทั้งประเด็นเรื่องของอุปสงค์ จากการทำ QE ของ FED ในอดีต ที่ทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ(M1) เพิ่มสูงขึ้น กับอัตราการว่างงานที่ลดลงมาเท่ากับ ช่วงก่อนเกิดโควิด-19 และประเด็นอุปทานที่เกิดจากสงครามรัสเซีย ยูเครน ที่ยังต้องจับตามอง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 40 ปี แตะระดับ 9.1% เนื่องจากการที่อัตราเงินเฟ้ออยู่สูงเกินไป ทำให้ FED ใช้นโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดเงินเฟ้อ ส่งผลต่อดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าและค่าเงินบาทอ่อน กระทบต่อหนี้ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีผลในเชิงลบต่อกลุ่มหุ้น ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีผลบวกต่อกลุ่มท่องเที่ยวและส่งออกรวมถึงกลุ่มโรงพยาบาลที่มีสัดส่วนผู้ป่วยต่างประเทศสูงอย่างเช่น BH BDMS
Array ( )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732208157 [CAFXSI18NX] => th [_csrf] => 10a9066196673368cba78dbab2ca9d90 [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/analyze-inflation-stock-2022.html )
Array ( [content] => analyze-inflation-stock-2022 )
Array ( )