เผยแพร่เมื่อ วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2566
หลังจากเดือน มีนาคม 2566 (ณ วันที่เขียน 20 มี.ค. 66) ราคาทองคำโลกแตะ 2,009 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ และราคาทองแท่ง 96.5% แตะ 32,405 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ นับเป็นเดือนที่วุ่นวายเพราะนักลงทุนกังวลกับภาคธนาคารของสหรัฐฯและยุโรป โดยจุดเริ่มต้นเกิดจากการล้มของธนาคาร Silvergate ซึ่งดำเนินการด้านคริปโทเคอร์เรนซี ประกาศเลิกกิจการ เพราะขาดสภาพคล่อง จากการถอนสินทรัพย์ออกของลูกค้ารายใหญ่ถึง 5 หมื่นล้านดอลลาร์ และผลพวงจากภาวะขาลงคริปโทฯ และต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ตามมาด้วย Silicon Valley Bank (SVB) และลามไป SVB Financial Group ยื่นล้มละลาย รวมถึง signature bank ที่ล้มตามไปติดๆ จาก 10 ถึง 15 มีนาคม 66 ล้มไปตามกันถึง 3 ธนาคารในสหรัฐฯ ทำให้ประชาชนที่ฝากเงินเริ่มวิตกกังวลว่า เงินที่ฝากไว้ในธนาคารพาณิชย์อาจไม่ปลอดภัยถึงแห่ถอนเงินจนทำให้ธนาคารขาดสภาพคล่อง
แต่ประเด็นของ Credit Suisse มีความคล้ายกับธนาคารที่ล้มในสหรัฐฯที่เหมือน คือ ขาดสภาพคล่อง และที่ต่าง คือ Credit Suisse ได้ขาดทุน 5 ไตรมาสติด เริ่มตั้งแต่ 2564 Credit Suisse ได้ปล่อยกู้ เงินให้กู้ยืมคงค้าง (margin loan) แก่ Archegos Capital เป็นเฮดจ์ฟันด์ของสหรัฐฯและได้ที่ผิดนัดชำระหนี้การเพิ่มเงินประกัน (Margin Call) โดยการผิดนัดชำระหนี้ของ Archegos มีแนวโน้มเป็นผลจาก การถือหุ้นที่บริษัทถือครองอยู่อย่างหุ้นสื่อของสหรัฐฯ เช่น ViacomCBS และหุ้นบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติจีนหลายตัวที่จดทะเบียนในตลาดสหรัฐฯ เช่น Baidu, VipShop เป็นหุ้นทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบจากการเทขายครั้งใหญ่จนปรับตัวร่วงลงอย่างหนักในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน มีนาคม 64 ทำให้ Credit Suisse ขาดทุน 5 พันล้านดอลลาร์ รวมถึง Credit Suisse ยังได้รับความเสียหายทางชื่อเสียงจากการปิดกองทุน 4 กองทุนที่บริหารร่วมกับ Greensill Capital หลังจากบริษัทล้ม
ทั้งนี้ Credit Suisse ได้ประกาศปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ในเดือนตุลาคม 65 มีแผน 4 อย่าง
1.การลดขนาด investment bank
2.ขายกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันให้กับ Apollo Global Management
3.เพิ่มทุน 4 พันล้านเหรียญ (มีการลงทุนจาก Saudi National Bank)
4.มุ่งเน้นไปยังธุรกิจบริหารความมั่นคั่งและวาณิชธนกิจแทน
แต่การปรับโครงสร้างองค์กรไม่ค่อยได้ผล ประกอบกับสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนทำให้รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์และชาติตะวันตกทำการอายัดทรัพย์สิน ในรูปแบบต่างๆ ของชาวรัสเซีย ที่มีอยู่ในประเทศ ทำให้ชาวรัสเซีย และประชาชนของประเทศต่างๆที่ไม่ถูกกับชาติตะวันตกถอนเงินออกจากธนาคารที่เป็นของชาติตะวันตก ทำให้เงินทุนของ Credit Suisse ในปี 65 ออก 1.33 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปัจจัยที่รวมกันเป็นที่มาของการเทขายหุ้น Credit Suisse และประชาชนแห่ถอนเงิน (Bank Run) ทำให้ธนาคารขาดสภาพคล่องและไม่สามารถดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ Credit Suisse ได้ขอเงินกู้ยืมเงินทางธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์เป็นวงเงิน 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อเป็นสภาพคล่องให้กับธนาคารแต่ยังไม่พอกับประชาชนที่ถอนเงิน ทำให้ Credit Suisse จะล้มให้ได้
ย้อนมาดูธุรกิจ Credit Suisse มีการทำธุรกิจใน 50 ประเทศ และมีพนักงานมากกว่า 45,000 ราย บีบให้ Credit Suisse ล้มไม่ได้ เพราะจะกระทบกับเศรษฐกิจทั่วโลก แต่แล้วหวยมาออกที่ UBS เพราะตัดสินใจเข้าซื้อ Credit Suisse ใช้วงเงิน 3.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ได้ให้คำสัญญาว่าจะจัดสรรเงินกู้ยืมจำนวนสูงถึง 1.08 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนการเทกโอเวอร์กิจการ และรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้อนุมัติเงินค้ำประกันจำนวนสูงถึง 9 พันล้านดอลลาร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงให้กับยูบีเอส และการควบรวมกิจการในครั้งนี้ จะทำให้ UBS มีสินทรัพย์ทั้งสิ้น 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และภายใต้ข้อตกลงนั้น กลุ่มผู้ถือหุ้นของเครดิต สวิส จะได้รับหุ้นของยูบีเอสจำนวน 1 หุ้นต่อหุ้นเครดิต สวิส ทุก ๆ 22.48 หุ้นที่ถือครองอยู่ ซึ่งการล้มของธนาคารให้สหรัฐฯและยุโรปเป็นที่มาของราคาทองคำที่ขึ้นในเดือนมีนายน 66
หลังจากทราบว่า ปัจจัยที่ส่งให้ราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 66 มีอะไรบ้าง เราจะวิเคราะห์ปัจจัยกระทบราคาทองคำในเดือนเมษายน 66 เริ่มที่
1.ประเด็น Credit Suisse มีแนวโน้มจบลง แม้ว่าจะมีประเด็น ตราสารหนี้ Additional Tier 1 (AT1)ของ Credit Suisse มูลค่า 1.73 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีมูลค่าเป็นศูนย์ เพราะหุ้นกู้ประเภทนี้ของ Credit Suisse มีเงื่อนไขเพิ่มเติม ที่ระบุในหนังสือชี้ชวนว่า“หน่วยงานกำกับดูแลการเงินของสวิตเซอร์แลนด์ (FINMA) อาจไม่จำเป็นต้องทำตามลำดับความสำคัญของทุน” ผลกระทบที่ตามมา คือ ผู้ที่ถือ AT1 ของ Credit Suisse ต้องติดตามว่า ใครถือ Additional Tier 1 บ้าง หากเป็นประเด็นที่ลบต่อเศรษฐกิจ ราคาทองคำมีโอกาสปรับขึ้น แต่หากการเทกโอเวอร์กิจไม่มีปัญหาเพิ่มจะจบปัญหาของ Credit Suisse มองเป็นลบต่อราคาทองคำ
2.ประเด็นปัญหาสภาพคล่องของธนาคารในสหรัฐฯอย่าง First Republic Bank(FRB) ที่ขาดสภาพคล่องทำให้ 11 ธนาคาร ทั้งเจพีมอร์แกน และโกลด์แมน แซคส์ ประกาศอัดฉีดเงินรวมกันมูลค่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับ FRB แต่ S&P สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลกได้ลดความน่าเชื่อถือของ FRB สู่ระดับ “ขยะ” เพราะมองว่าอัดฉีดเงินรวมกันมูลค่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์ ไม่ได้ช่วยอะไร จึงเกิดแรงเทขายหุ้น FRB อีกครั้ง ทำให้เจพีมอร์แกนประกาศจะซื้อ FRB เพื่อจบความกังวลของประชาชนที่กลัว FRB จะล้ม และในเดือน เม.ย. 66 หากเจพีมอร์แกนซื้อ FRB จริงหรือไม่ ถ้าซื้อจริงๆ จะจบปัญหาที่ประชาชนกลัว FRB ล้ม มองเป็นปัจจัยลบต่อราคาทองคำ แต่หากเจพีมอร์แกนไม่ได้ซื้อ FRB รอประเด็นธนาคารล้มได้เลยซึ่งเป็นประเด็นบวกต่อราคาทองคำ
อีกหนึ่งประเด็นการล้มของธนาคารในสหรัฐฯประเมินการล้มของธนาคาร Silvergate , Silicon Valley Bank (SVB) , SVB Financial Group ,และ signature bank ทำให้แรงงานในสหรัฐฯตกงานราว 13,000 ราย รวมถึงภาคธนาคารของสหรัฐฯจะทำธุรกิจแบบรัดกุม กระทบต่อการบริโภคและการลงทุนของเอกชนในไตรมาส 2/66 ของสหรัฐฯและมีความเสี่ยงทำให้เศรษฐกิจอาจเกิดเข้าสู่ภาวะถดถอยได้เลย
ทั้งนี้นักลงทุนต้องติดตามว่านางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯที่แถลงต่อสภาคองเกรสว่า บรรษัทค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FDIC) ไม่มีการพิจารณาเรื่องการคุ้มครองเงินฝากทั้งหมดของภาคธนาคาร ทำให้การคุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 250,000 ดอลลาร์เท่านั้น จากเดิมที่คาดกว่า FDIC จะคุ้มครองเงินฝาก 100% ซึ่งมีความเสี่ยงที่ทำให้อีก 2 ธนาคารอาจล้มอย่าง 1. Western Alliance Bancorp และ 2.Pacific Western Bank หากล้มจะทำให้นักลงทุนมองทองคำเป็น Safe Haven
3.อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯที่จะประกาศในวันที่ 12 เมษายน 66 ที่คาดการณ์ว่าจะลดลงต่ำกว่า 6% เนื่องจากราคาสูงสุดของน้ำมันดิบ WTI มี.ค. 65 แตะ 129.42 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และ มี.ค. 66 สูงสุดเพียง 80.97 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งการลดลงของอัตราเงินเฟ้อ จะกดดันให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า FED มีโอกาสชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยนับเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ
4.ติดตามรายงานประชุม FOMC วันที่ 13 เม.ย. 66 เป็นการนำเนื้อหาการประชุม FOMC ครั้งที่ 2/66 ซึ่ง FED มีมุมมองด้านการใช้จ่าย ,การผลิต ,การจ้างงานเพิ่มขึ้น ,อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับต่ำ ,อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้นในเดือน ม.ค. และ ก.พ. ทำให้มองแนวโน้มว่า FED ยังขึ้นดอกเบี้ยปี 66 อาจแตะ 5.25% เป็นปัจจัยส่งค่าเงินดอลลาร์แข็งและกดราคาทองคำ
5.ผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ (GDP) Q1/66 ของสหรัฐฯซึ่งจะประกาศในวันที่ 27 เมษายน 66 คาดการณ์ว่าจะขยายตัวจากการบริโภค และการลงทุนในสหรัฐฯเพิ่ม ซึ่งบ่งชี้จากการจ้างงานนอกภาคการเกษตรทั้งเอกชนและรัฐ ,ภาคผลิต,รวมถึงการค้าปลีกที่ขยายตัว ซึ่งกดราคาทองคำ จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า
สรุปในเดือน เม.ย. 66 มีปัจจัยบวกเป็นราคาทองคำได้แก่ ประเด็นปัญหาสภาพคล่องของธนาคารในสหรัฐฯ และอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯที่มีแนวโน้มชะลอตัว ขณะที่ปัจจัยลบที่พบกับรายงานประชุม FOMC และผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ(GDP) Q1/66 ที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัว
ส่วนแนวโน้มราคาทองคำเป็นรูปแบบ Sideway Up
ต้าน 2,050
รับ 1,850
Array ( )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1734848527 [CAFXSI18NX] => th [_csrf] => cc671e2a739863c9bb915cbb113fbdfc [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/analyze-gold-songkran-2023.html )
Array ( [content] => analyze-gold-songkran-2023 )
Array ( )