บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

ส่องตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก่อนการประชุม FOMC ครั้งแรกของปี 66

ส่องตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก่อนการประชุม FOMC ครั้งแรกของปี 66

เผยแพร่เมื่อ วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2566


เนื่องจากในวันที่ 1 ก.พ. 66 ธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED) จะมีการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน(FOMC) ซึ่งเราคาดการณ์ว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ 0.25% เป็น 4.50% ถึง 4.75% ทำไมเราถึงคิดอย่างนั้น วันนี้เราจะมาอธิบายให้กับนักลงทุนผ่านตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ดังนี้


อัตราเงินเฟ้อ
ดัชนีวัดการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าและบริการ แบ่งเป็น ดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI) วัดจากการซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้บริโภค โดย CPI สหรัฐฯ เดือน ม.ค. 66 ขยายตัว 6.5% ขยายตัวลดลงจากครั้งก่อน 7.1% เป็นการขยายตัวลดลงติดต่อกันถึง 6 เดือน และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล(PCE) วัดจากการขายสินค้าและบริการจากภาคธุรกิจ โดย PCE สหรัฐฯ ในเดือน ธ.ค. 65 ขยายตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 1 ปี แตะระดับ 5.5% บ่งชี้ถึงแนวโน้มของเงินเฟ้อชะลอตัว


อัตราการว่างงาน
เป็นตัวเลขที่สามารถบ่งชี้ถึงเศรษฐกิจโดยรวมได้ หากอัตราการว่างงานต่ำจะทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อที่สูง ส่งผลให้เศรษฐกิจมีการขยายตัว แต่ถ้าอัตราการว่างงานสูง จะกระทบผู้บริโภคมีกำลังซื้อที่ต่ำลง กดการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยอัตราการว่างงานสหรัฐฯ ในเดือน ม.ค. 66 ลดลงเหลือ 3.5% จาก 3.6% แสดงถึงภาคธุรกิจและการบริโภคของสหรัฐฯยังคงแข็งแกร่ง
ต้นทุนต่อหน่วยแรงงาน
ต้นทุนแรงงานถือเป็นหนึ่งในต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ หากมีการเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น กระทบเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น แต่ถ้าลดลงจะกระทบให้ต้นทุนการผลิตลดลง และกดให้เงินเฟ้อต่ำลง ทั้งนี้ ต้นทุนต่อหน่วยแรงงานที่ออกมาในเดือน ธ.ค. 65 เพิ่มขึ้นเพียง 2.4% น้อยกว่าครั้งก่อนที่เพิ่มขึ้น 3.5% กระทบแนวโน้มต้นทุนการผลิตชะลอการเพิ่มขึ้น


ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
เป็นข้อมูลที่วัดมูลค่าของการผลิตสินค้าและบริการทั้งหมดที่เกิดขึ้นในประเทศ ประกอบด้วย 1.การบริโภคภาคเอกชน(+) 2.การลงทุนภาคเอกชน(+) 3.การใช้จ่ายภาครัฐฯ(+) 4.การส่งออก(+) 5.การนำเข้า(-) ซึ่งสามารถบอกแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศ โดย GDP ไตรมาส 4 ปี 65 ของสหรัฐฯ ออกมา 2.9% ขยายตัวลดลงจากครั้งก่อน 3.2% บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจมีการขยายตัวลดลง
ผลผลิตอุตสาหกรรม
เป็นดัชนีวัดการเปลี่ยนแปลงมูลค่าผลผลิตของอุตสาหกรรม บอกถึงทิศทางแนวโน้มทางเศรษฐกิจ โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสหรัฐฯ เดือน ม.ค. 66 หด 1.3% มากกว่าครั้งก่อนที่หดตัว 1.1% หดตัวมากที่สุดในรอบ 22 เดือน บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มชะลอตัวจากการลดลงของผลผลิตในอุตสาหกรรม


ดัชนีราคาผู้ผลิต(PPI) 
คือดัชนีที่วัดการเปลี่ยนแปลงต้นทุนวัตถุดิบของผู้ผลิต ส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการ กระทบเงินเฟ้อทางด้านอุปทาน ทั้งนี้ดัชนีราคาผู้ผลิต(PPI)สหรัฐฯ เดือน ม.ค. 66 พลิกหดตัว 0.5% จากครั้งขยายตัว 0.2% บ่งนี้ถึงต้นทุนสินค้ามีแนวโน้มลดลง


ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคบริการ(Manufacturing PMI & Service PMI)
เป็นดัชนีที่แสดงถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของภาคการผลิตและบริการ วัดจากความคาดการณ์การเปลี่ยนแปลง 5 อย่างในอนาคต คือ 1.คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ 2. ผลผลิต 3.การจ้างงาน 4.สินค้าคงคลัง 5.ระยะเวลาขนส่งวัตถุดิบ และใช้ระดับ 50 จุดในการวัดว่าขยายตัวหรือหดตัว
เดือน ม.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 46.8 จุด และ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน ม.ค. 66 อยู่ที่ 46.6 จุด แสดงถึงภาคการผลิตและบริการของสหรัฐฯยังคงชะลอตัว 

เมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เราเห็นการชะลอตัวของเงินเฟ้อสหรัฐฯ ทั้งในเดือน ธ.ค. 65 และเดือน ม.ค. 66 แม้ว่าตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งผ่านอัตราการว่างงานน้อยลง แต่ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยมีแนวโน้มชะลอตัวลง รวมทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯในไตรมาส 4 ปี 65 เห็นการขยายตัวที่ชะลอลง และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่บ่งชี้ถึงแนวโน้มในอนาคตอย่าง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม พบว่ามีการหดตัวมากขึ้น และดัชนีที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มต้นทุนของผู้ผลิตอย่าง ดัชนีราคาผู้ผลิตก็มีการหดตัว แสดงถึงแนวโน้มของต้นทุนสินค้าที่ลดลง รวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคบริการ ยังคงเห็นการหดตัวอยู่ แสดงถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED ในปี 65 กระทบเศรษฐกิจสหรัฐฯให้ขยายตัวได้น้อยลง แต่อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับสูงแตะ 6.5% สูงกว่าเป้าหมายเฉลี่ยที่ 2% มาก เราจึงคาดการณ์ว่า FED มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยเราคาดการณ์ว่า FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25% เป็น 4.50% ถึง 4.75% ในการประชุม FOMC รอบนี้เพราะที่ผ่านมาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯไปบางส่วนแล้ว
ทั้งนี้เนื่องจากต้นทุนธุรกิจส่วนนึงมาจากต้นทุนการกู้ยืมการที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นจะทำให้ภาคธุรกิจมีต้นทุนเพิ่มขึ้นตาม ทั้งนี้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจ ย่อมมีผลกระทบให้ประเทศอื่นมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตาม ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกขยายตัวชะลอตัวลง และกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดทั่วโลก จากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!
Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1732186593
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => 3bc3d6650f845acf659ef231337bc70a
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/analyze-fomc-stock-2023.html
)
		
Array
(
    [content] => analyze-fomc-stock-2023
)
		
Array
(
)