บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

FED ขึ้นดอก แต่ดอลลาร์ดันอ่อน เพราะอะไรมาดู?

FED ขึ้นดอก แต่ดอลลาร์ดันอ่อน เพราะอะไรมาดู?

เผยแพร่เมื่อ วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2566


นักลงทุนคงกำลังตั้งข้อสงสัยกันอยู่ใช่ไหม ทำไม!ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าสุดในรอบ 6 สัปดาห์

ทั้งที่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 4.75% ถึง 5.00% ในวันที่ 23 มี.ค. 66 (ตามเวลาไทย) ควรทำให้เงินไหลเข้าดอลลาร์ เพราะแนวโน้มผลตอบแทนในการฝากเงินที่สูงขึ้น แล้วส่งดอลลาร์แข็งค่าสิ?

นั่นสิ? เพราะอะไรค่าเงินดอลลาร์ถึงได้อ่อนแบบนี้ได้หละ
ก่อนที่ผมจะอธิบาย ผมขอพานักลงทุนไปดูเหตุผลในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED ในการประชุม FOMC รอบนี้ และการคาดการณ์เศรษฐกิจของ FED
เหตุผล
FED เผยการใช้จ่ายและการผลิตยังมีการขยายตัว, การจ้างงานยังคงแข็งแกร่ง, อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ, และเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งยังยืนยันว่าระบบธนาคารสหรัฐฯ ยังมีความแข็งแกร่ง แม้มีแนวโน้มที่ปัญหาภาคธนาคารก่อนหน้านี้ จะกระทบธนาคารปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนลดลง นำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจ, การจ้างงาน และเงินเฟ้อ แต่ผลกระทบนั้นยังไม่ชัดเจน ทำให้ FED มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% แตะระดับ 4.75% ถึง 5.00% เพื่อลดเงินเฟ้อลงสู่เป้าหมายที่ 2% ทั้งนี้ FED พร้อมที่จะปรับนโยบายตามความเหมาะสม หากมีความเสี่ยงที่จะทำให้เงินเฟ้อ ไม่สามารถลดลงสู่ระดับเป้าหมายได้
คาดการณ์เศรษฐกิจของ FED

แม้ FED คาดการณ์อัตราการว่างงานในปี 66 ต่ำลง และเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อ PCE สูงขึ้นในปี 66 รวมทั้งคงคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย ปี 66 และเพิ่มคาดการณ์ในปี 67 แสดงให้เห็นว่า FED จะปรับลดดอกเบี้ยปี 67 น้อยกว่าคาดการณ์ครั้งก่อน แต่ FED ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ทั้งปี 66 และ 67 ลง บ่งชี้ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ เสี่ยงชะลอตัวมากขึ้น

อีกปัจจัยที่จะกดเศรษฐกิจสหรัฐฯ
นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ เผยบริษัทค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ(FDIC) ไม่มีการพิจารณาการคุ้มครองเงินฝาก 100% ของภาคธนาคารสหรัฐฯ สร้างความเสี่ยงนักลงทุนกลับมากังวลปัญหาภาคธนาคารของสหรัฐฯอีกครั้ง เพราะปัญหาภาคธนาคาร จะลดปริมาณการปล่อยกู้ให้ภาคธุรกิจและประชาชนต่ำลง กระทบภาคธุรกิจขยายตัวได้น้อยลง สร้างความเสี่ยงให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว

สรุป
แม้ FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% แตะระดับ 4.75% ถึง 5.00% แต่เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เสี่ยงชะลอตัว จากคาดการณ์เศรษฐกิจของ FED ประกอบกับนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ เปิดเผยว่าบริษัทค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ(FDIC) ไม่มีการพิจารณาการคุ้มครองเงินฝาก 100% ของภาคธนาคารสหรัฐฯ สร้างความเสี่ยงให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวมากขึ้น จากแนวโน้มการปล่อยกู้ของภาคธนาคารที่ลดลง เป็นการย้ำให้ FED สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 66 ได้อีกเพียง 0.25% ก่อนที่จะปรับลดดอกเบี้ยในปี 67

กระทบตลาดหุ้น
การที่เงินไหลออกจากดอลลาร์ สร้างโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น เพราะไทยมีปัจจัยบวกอย่างการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวหลังจีนกลับมาเปิดประเทศและการที่ทางการจีนอนุญาตให้ทัวร์จีนเข้าไทย หนุนปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยมากขึ้น โดยสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คาดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยปี 66 มากถึง 30 ล้านคน มากกว่าปีก่อนที่ 11.8 ล้านคน หรือ คาดเพิ่มขึ้น 154% ประกอบกับประเทศไทยมีการประกาศยุบสภา และกำหนดวันเลือกตั้งไว้วันที่ 14 พ.ค. 66 คาดว่าจะสร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากถึง 1-1.2 แสนล้านบาท ช่วง 1 เดือนก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งสามารถกระตุ้น GDP ไทยได้ 0.5% ถึง 0.7% รวมถึงค่า FT เดือน พ.ค. ถึง ส.ค. 66 ภาคธุรกิจที่ปรับตัวลดลงมากถึง 36.56% แตะ 0.9827 บาทต่อหน่วย จาก 1.5492 บาทต่อหน่วย กดต้นทุนค่าไฟฟ้าของผู้ประกอบการไทยลดลง

กลุ่มหุ้นอะไรน่าสนใจที่สุด
นักลงทุนน่าจะเห็นแล้วว่านักลงทุนต่างชาติมีโอกาสเข้ามาลงทุนในหุ้นไทยมากขึ้น ส่งแรงเก็งกำไรในตลาดหุ้นไทย โดยเรามีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นค้าปลีกมากที่สุด เพราะยอดขายมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศ และเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนการเลือกตั้ง รวมทั้งต้นทุนค่าไฟฟ้าที่กำลังจะลดลง สร้างโอกาสการทำกำไรให้หุ้นค้าปลีก
หุ้นค้าปลีกใน Single Stock Futures BJC, CPALL, CRC, COM7, JMART

 

 

 

 

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!
Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1734830423
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => c7e278af7fad7868c3bff71660b9233b
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/analyze-fed-stock-2023.html
)
		
Array
(
    [content] => analyze-fed-stock-2023
)
		
Array
(
)