เผยแพร่เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
อย่างที่นักลงทุนได้ทราบว่าเมื่อวันที่ 15 ก.พ.65 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวาระพิจารณาจากกระทรวงพลังงาน เสนอมติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) เป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า รถ EV หรือ รถ EV ทั้งระบบ โดยเฉพาะการสนับสนุนดีมานต์ผู้ใช้รถอีวีในประเทศ โดยแพคเกจที่บอร์ดอีวีจะมีการเสนอนั้นครอบคลุม ทั้งรถยนต์ รถกระบะ และรถจักรยานยนต์ ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
1.เริ่มปี 2565 – 2566 เป็นมาตรการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศอย่างกว้างขวางโดยเร็ว ทั้ง Completely Built Up (CBU) เป็นรถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ และนำเข้ามาทั้งคัน และแบบ Completely Knocked Down (CKD) เป็นรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ ไม่ว่าอะไหล่ที่นำมาประกอบจะเป็นอะไหล่นำเข้าหรืออะไหล่ที่ผลิตในประเทศ
- ราคาขายปลีกไม่เกิน 2 ล้านบาท ลดอากรสูงสุด 40% ลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% โดยเงินอุดหนุน 70,000 บาท สำหรับ (10-30 กิโลวัตต์) และเงินอุดหนุน 150,000 บาท สำหรับ (มากกว่า 30 กิโลวัตต์)
- ราคา 2-7 ล้านบาท ลดอากรสูงสุด 20% (30 กิโลวัตต์ขึ้นไป)
- รถยนต์กระบะ (CKD) ได้รับเงินอุดหนุน ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ลดภาษีสรรพสามิต 0% เงินอุดหนุน 150,000 บาท (30 กิโลวัตต์ขึ้นไป)
ช่วงที่ 2 ปี 2567 – 2568 จะใช้มาตรการสนับสนุนฯ จะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศเป็นหลัก โดยยกเลิกการยกเว้น/ลดอากรนำเข้า รถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศทั้งคัน (CBU) แต่ยังคงมาตรการลดอัตราภาษีสรรพสามิต และ/หรือให้ เงินอุดหนุนตามเงื่อนไขที่กำหนดต่อไป เพื่อทำให้ต้นทุนรถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูปทั้งคันที่นำเข้าสูงกว่ารถยนต์/ รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศ
- ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท อากรขาเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) 0% ลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% เงินอุดหนุน 70,000 บาท (10-30 กิโลวัตต์) เงินอุดหนุน 150,000 บาทต่อคัน (30 กิโลวัตต์ขึ้นไป)
- ราคา 2-7 ล้านบาท อากรขาเข้าชิ้นส่วน BEV 0% (30 กิโลวัตต์ขึ้นไป)
- รถยนต์กระบะ (ต้องผลิตในประเทศเท่านั้น) ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท
- อากรขาเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) 0% ภาษีสรรพสามิต 0% เงินอุดหนุน 150,000 บาท (30 กิโลวัตต์ขึ้นไป)
โดยมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายที่การผลิตรถอีวีให้ได้ 30% ของการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยภายในปี 2573
ซึ่งเราวิเคราะห์ว่า การกระตุ้นดังกล่าวจะสร้างกำลังซื้อได้ดี และนักลงทุนจะมีมุมมองเชิงบวกเพราะมีความเชื่อมั่นในหุ้นที่ทำธุรกิจรถ EV ว่าจะสามารถสร้างการเติบโต รวมถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่
1.กลุ่มผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (DELTA, EA, GPSC, BANPU, BPP และ BCPG)
2.ผู้ให้บริการสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (PTT, OR, BCP, CPALL, EA และ DELTA)
3.ผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ (EPG)
4.ผู้ผลิตแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (KCE, HANA, DELTA)
Array ( )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732255517 [CAFXSI18NX] => th [_csrf] => 66032f57aa6cbb5db9f84d4685d708f0 [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/analyze-ev-stock-2022.html )
Array ( [content] => analyze-ev-stock-2022 )
Array ( )