เผยแพร่เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565
หลังจากข่าวโครงการ CDM AMLO ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) บังคับให้การฝากเงินที่ตู้ต้องใช้บัตร ATM , บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตด้วย นักลงทุนคงอยากที่จะรู้แล้วว่ากลุ่มธนาคารจะได้ประโยชน์จากโครงการนี้มากน้อยและมีนัยยะสำคัญต่อรายได้ของธนาคารหรือไม่
ก่อนอื่นเรามาดูสัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมในแต่ละธนาคารว่ามีสัดส่วนเท่าใด ซึ่งจะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมบัตรรวมอยู่ โดยใช้ข้อมูลในปี 64 ที่เป็นปีล่าสุด
สัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 21.9% อาจมองว่า หากมีการเพิ่มขึ้นของการสมัครบัตรต่างๆมากขึ้นก็จะส่งผลให้รายได้ของธนาคารเพิ่มสูงขึ้นมาก แต่เราต้องไม่ลืมว่าในรายได้จากค่าธรรมเนียมก็ยังมาจากส่วนอื่นๆด้วย โดยมีดังนี้
เมื่อเราดูสัดส่วนของรายได้จากค่าธรรมเนียมจากบัตร พบว่ามีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 32% ของรายได้จากค่าธรรมเนียม เทียบกับสัดส่วนรายได้ทั้งหมดจะอยู่ที่ 7%
ย้อนเวลาไปในช่วงปี 62 เป็นปีที่มีจำนวนบัตรมากที่สุดหลังจากนั้น เริ่มมีการหันไปใช้ Internet Banking มากขึ้นทำให้ปริมาณบัตรลดลง 14.6% ดังนั้นเราจึงขอตั้งสมมุติฐานให้ปริมาณบัตรเพิ่มขึ้นไปเท่ากับปี 62 นั้นคือให้ปริมาณบัตรเพิ่มขึ้น 17.1% จากปี 64 ซึ่งจะทำให้รายได้รวมธนาคารเพิ่มขึ้นเพียง 1.2% เท่านั้น
ดังนั้นหลังจากเริ่มโครงการ CDM AMLO ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ในวันที่ 15 พ.ย. 65 จะทำให้ธนาคารได้ประโยชน์ไม่มากเพราะว่ารายได้จากค่าธรรมเนียมบัตรต่างๆที่จะเพิ่มขึ้นมานั้น เพิ่มขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมด
Array ( )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732224778 [CAFXSI18NX] => th [_csrf] => 8c259edc435c827062044c5eec49c9be [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/analyze-cdm-stock-2022.html )
Array ( [content] => analyze-cdm-stock-2022 )
Array ( )