เผยแพร่เมื่อ วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เมื่อเศรษฐกิจไทยกำลังชะลอตัว และธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเหลือ 2.8% จากเดิม 3.8% พร้อมลดดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้น 0.25% เหลือ 1.5% น่าจะเป็นปัจจัยทำให้เงินบาทอ่อนค่าด้วยซ้ำ แต่ทำไมเงินบาทถึงแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 6 ปี แตะระดับ 30.30 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งในปี 2562 เงินบาทต่อดอลลาร์แข็งค่ามากกว่า 6% ผู้อ่านทราบกันอยู่แล้วว่าการที่เงินบาทแข็งแสดงว่า มีความต้องการเงินบาทมาก ทำให้เราเกิดความสงสัยว่า ใครต้องการเงินบาทกันแน่ เราจะหาคำตอบไปพร้อมกันผ่านการอธิบายจากดุลการชำระเงินของไทย
ดุลการชำระเงินคืออะไร?
ธุรกรรมทางการค้าและการเงินระหว่างประเทศผว่าการอธิบายแบบนักเศรษฐศาสตร์เข้าใจยากไป ผมขออธิบายภาษาคนดีกว่า ดุลการชำระเงิน คือ การแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินสกุลอื่นๆ ผ่านทางสินค้า,บริการหรือการลงทุน แบบนี้น่าจะเข้าใจง่ายกว่า ซึ่งดุลการชำระเงินประกอบด้วย
เรากำลังจะอธิบายโครงสร้างดังกล่าวแบบง่าย คือ ดุลการชำระเงิน แบ่งเป็น 3 หัวข้อใหญ่
และนี่คือ โครงสร้างของดุลการชำระเงินและเราจะวิเคราะห์ไปพร้อมกันว่า ความต้องการเงินบาทมาจากไหน จะไล่ไปทีละหัวข้อเลย
1.ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงปี 2556-2562 เกินดุลเฉลี่ย 23,685.47 ล้านดอลลาร์ต่อปี ดุลเกินจาก 2 อย่าง
1.1 ดุลการค้าเป็นปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่า เพราะการส่งออกของไทยเกินดุลการค้ามาโดยตลอด ยิ่งการส่งออกทองคำของไทยมีมูลค่าเฉลี่ยสูงขึ้น 7,807.54 ล้านดอลลาร์ต่อปี ทำให้ผู้ส่งออกของไทยขายสินค้าได้เงินเป็นดอลลาร์และนำมาแลกเป็นเงินบาทมากขึ้น ทำให้ความต้องการค่าเงินบาทเพิ่มขึ้น
1.2 ดุลบริการเกินดุลมาตลอดเช่นกัน เนื่องจากปริมาณการใช่จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทยมีมูลค่าเฉลี่ยสูงถึง 42,677.22 ล้านดอลลาร์ต่อปี แต่ปริมาณการจ่ายของนักท่องเที่ยวไทยในต่างประเทศเฉลี่ยเพียง 8,552.61 ล้านดอลลาร์ต่อปี แสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวต่างชาติในไทยมีความต้องการเงินบาทมาก ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่า
2.ดุลบัญชีเงินทุนในช่วงปี 2556-2562 ขาดดุลเฉลี่ย 13,172.67 ล้านดอลลาร์ต่อปี ขาดดุลจาก 2 อย่าง
2.1.การลงทุนโดยตรง เฉลี่ย -3,882.83 ล้านดอลลาร์ต่อปี เพราะการลงทุนในต่างประเทศเฉลี่ยที่ -11,988.60 ล้านดอลลาร์ต่อปี และการลงทุนจากต่างประเทศ +8,105.77 ล้านดอลลาร์ต่อปี ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้เงินบาทอ่อน เนื่องจากเงินไหลออกมากกว่าไหลเข้า
2.2.การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เม็ดเงินของต่างชาติไหลออกอย่างต่อเนื่องจากเฉลี่ย 6,495.71 ล้านดอลลาร์ต่อปี
3.เงินสำรองระหว่างประเทศ แสดงให้เห็นว่า ไทยมีรายรับเงินสกุลอื่นๆมากขึ้นทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น เท่ากับว่าเงินไหลเข้าไทยมากกว่าเงินไหลออก
4.ดุลการชำระเงินเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทต่อดอลลาร์
สังเกตจากกราฟดุลการชำระเงินก่อนเทียบกับค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ ตอนนี้เกินดุลการชำระเงินจะเห็นว่าค่าเงินบาทจะแข็งและขณะที่ขาดดุลการชำระเงินค่าเงินบาทจะอ่อน ทั้งนี้การต้องการเงินบาทเกิดจากการส่งออกและนักท่องเที่ยวต่างชาติใช้จ่ายในไทยเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ข้อมูลประกอบ
– https://www.bot.or.th/Thai/Statistics/EconomicAndFinancial/Pages/StatBalanceofPayments.aspx
– https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=644&language=th
– หนังสือเศรษฐศาสตร์การเงินและธนาคาร ของอาจารย์นวลละออ อานามวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ
✒️ บทความโดย ธนะเกียรติ ปฐมะพงษ์
⭐️ นักวิเคราะห์ด้านการลงทุนปัจจัยพื้นฐานสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
▶️ บลป. คลาสสิก ออสสิริส
Array ( )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1732190409 [CAFXSI18NX] => th [_csrf] => 15a8b0bf67dd3fd99e4e2ca2a2d4e9e7 [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/Whyisthebahtstronger.html )
Array ( [content] => Whyisthebahtstronger )
Array ( )