เผยแพร่เมื่อ วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562
นักลงทุนทุกท่านอาจจะเคยได้ยินข่าวค่าเงินบาทแข็งค่าหรือค่าเงินบาทอ่อนค่ากันอยู่บ่อยครั้ง อันที่จริงแล้วค่าเงินหรืออัตราแลกเปลี่ยนนี้มีความสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจในระดับโลกเป็นอย่างมาก เพราะในปัจจุบันมีจำนวนสินค้าอยู่ทั่วโลกที่ผลิตในประเทศหนึ่งและส่งออกไปขายในอีกประเทศหนึ่ง ราคาของสินค้าเหล่านี้จึงอาจจะปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนได้ ทำให้ผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการนำสินค้าส่งออกและนำเข้ามีมูลค่าที่เปลี่ยนแปลงไป หรือแม้แต่ผู้ที่นิยมท่องเที่ยวหรือเดินทางในต่างแดนบ่อยครั้ง ก็อาจมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมากน้อยตามการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาท
เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่แข็งค่าหรืออ่อนค่า เราจะมายกตัวอย่างให้เข้าใจกันอย่างง่ายๆก่อนเพื่อเข้าสู่เนื้อหาถัดๆไป
เงินบาทอ่อนค่า หมายถึง เงินบาทมีค่าลดลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น(ในที่นี้คือเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) ทำให้เราใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเปลี่ยนเงินสกุลอื่น เช่น ค่าเงินบาทอยู่ที่ 30 บาท/ดอลลาร์ และเปลี่ยนเป็น 33 บาท/ดอลลาร์ หมายความว่า
เดิม เงิน 1 ดอลลาร์ ต้องใช้เงิน 30 บาท ในการแลก ในวันที่ 01/07/2018
เปลี่ยนเป็น เงิน 1 ดอลลาร์ ต้องใช้เงิน 33 บาท ในการแลก ในวันที่ 19/07/2018
จะเห็นได้ว่า “มีการใช้เงินบาทเพิ่มขึ้น” หรือ “เงินบาทมีค่าลดลง” จึงเรียกได้ว่า “เงินบาทอ่อนค่า”
เงินบาทแข็งค่า หมายถึง เงินบาทมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น(ในที่นี้คือเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) ทำให้เราใช้เงินบาทในจำนวนน้อยลงในการแลกกับเงินสกุลอื่น เช่น ค่าเงินบาทอยู่ที่ 34 บาท/ดอลลาร์ และเปลี่ยนเป็น 30 บาท/ดอลลาร์ หมายความว่า
เดิม เงิน 1 ดอลลาร์ ต้องใช้เงิน 34 บาท ในการแลก ในวันที่ 01/09/2019
เปลี่ยนเป็น เงิน 1 ดอลลาร์ ต้องใช้เงิน 30 บาท ในการแลก ในวันที่ 20/09/2019
จะเห็นได้ว่า “มีการใช้เงินบาทน้อยลง” หรือ “เงินบาทมีค่าเพิ่มขึ้น” จึงเรียกได้ว่า “เงินบาทแข็งค่า”
สรูุปใจความสำคัญของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
ถ้าเงินบาทอ่อนค่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ถ้าเงินบาทแข็งค่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ปรับตัวลดลง
จากข้างต้นที่กล่าวมาจะทำให้สามารถเข้าใจได้ถึง ผลกระทบต่อผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการนำสินค้าส่งออกและนำเข้า และผู้ที่นิยมท่องเที่ยวหรือเดินทางในต่างแดนบ่อยครั้ง
การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ส่งผลกระทบต่อรายรับรายจ่ายของผู้ที่ทำธุรกิจหรือนักเดินทางหรือนักลงทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนถือเป็นความเสี่ยงที่ธุรกิจสามารถจัดการได้ โดยใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆ เช่น USD Futures (อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ) โดยเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยป้องกันความเสี่ยงรายได้หรือต้นทุนให้อยู่ในระดับที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ผู้ทำธุรกิจไม่ต้องกังวลกับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนอีก และสามารถทุ่มเทเวลาที่เหลือไปกับการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจและวางแผนกิจการได้ดียิ่งขึ้น
Array ( )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1733246922 [CAFXSI18NX] => th [_csrf] => c614c3e5a040ba52d567a1914e1b5e19 [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/Thai-Baht-Volatility-Important.html )
Array ( [content] => Thai-Baht-Volatility-Important )
Array ( )