บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

ปัจจัยอะไร ?? ที่ทำให้ เงินบาทแข็งค่า และเงินบาทอ่อนค่า

ปัจจัยอะไร ?? ที่ทำให้ เงินบาทแข็งค่า และเงินบาทอ่อนค่า

เผยแพร่เมื่อ วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2562


เงินบาทแข็งค่า หรือเงินบาทอ่อนค่า เกิดจากความต้องการของมนุษย์เป็นหลักหรือก็คือ ความต้องการซื้อ (อุปสงค์) และความต้องการขาย (อุปทาน) เงินสกุลไหนที่มีความต้องการมากหรือไม่มีความต้องการ ปริมาณเสนอซื้อและเสนอขายก็จะขยับไปตามความต้องการของมนุษย์หมู่มาก โดยจะมีปัจจัยต่างๆที่เข้ามากระทบทำให้ความต้องการของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

ดุลการค่าและการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

– หากประเทศไทยเกินดุลการค้า คือ มีมูลค่าส่งออกมากกว่ามูลค่านำเข้า หรือ มีเงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศมากๆ ประเทศก็จะมีเงินดอลลาร์ฯ “มากขึ้น” เงินทุนที่ย้ายเข้ามาจะถูกแลกจากเงินดอลลาร์ฯเป็นเงินบาท ทำให้อุปสงค์หรือความต้องการเงินบาทเพิ่มขึ้นส่งผลให้เงินบาทมีค่าเพิ่มขึ้น (ค่าเงินบาทแข็งขึ้น)
– ประเทศไทยขาดดุลการค้า คือ มีมูลค่าส่งออกน้อยกว่านำเข้า หรือ มีเงินทุนเคลื่อนย้ายออกจากประเทศมากๆ ก็จะทำให้ประเทศมีเงินดอลลาร์ฯ “น้อยลง” มีความต้องการแลกเงินบาทเป็นเงินดอลลาร์ฯ เพื่อนำออกนอกประเทศมากขึ้น ส่งผลให้เงินบาทมีค่าลดลง (ค่าเงินบาทอ่อนค่า)

อัตราดอกเบี้ย

โดยปกติเงินทุนจะเคลื่อนไหวจากประเทศที่อัตราดอก “เบี้ยต่ำ” กว่าไปประเทศที่อัตราดอกเบี้ย “สูงกว่า” เนื่องจากนักลงทุนมองว่าผลตอบแทนให้มากกว่าจากความเสี่ยงประเภทเดียวกัน แต่ในท้ายที่สุดแล้วอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนของทั้งสองประเทศ เช่น

– หากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกาปรับตัว “ลดลง” จะทำให้อัตราดอกเบี้ยไทย “ไม่ได้เปลี่ยนแปลง” โดยเปรียบเทียบ ทำให้ส่งผลให้มีเงินลงทุนเคลื่อนย้ายเข้าประเทศไทยมากขึ้น เงินทุนที่เคลื่อนย้ายเข้ามาจะถูกแลกเป็นเงินบาททำให้ความต้องการซื้อเงินบาทสูงขึ้น ค่าเงินบาทจึงแข็งค่าขึ้น
– ในทางตรงกันข้าม หากอัตราดอกเบี้ยไทยปรับตัวลดลง ก็จะทำให้อัตราดอกเบี้ยโดยเปรียบเทียบของไทยกับต่างประเทศที่ยัง “ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย” ส่งผลให้มีเงินทุนไหลออก จึงมีความต้องการขายเงินบาทเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินดอลลาร์ฯเพิ่มขึ้นค่าเงินบาทจึงอ่อนค่าลง

นโยบายการเงินของธนาคารกลาง

ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถกำหนดปริมาณเงินบาทในระบบการเงินผ่านมาตรการต่างๆ เช่น มาตรการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง และการดำเนินการผ่านตลาดการเงิน เป็นต้น ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะส่งผลให้อุปสงค์และอุปทานของเงินบาทเปลี่ยนแปลงไป และทำให้ค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลงตาม เช่น
– ธนาคารกลางเห็นว่าเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงเกินไป จึงกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมายเพิ่มขึ้น ทำให้เงิน ที่ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้มีจำนวนลดลง ส่งผลให้ปริมาณเงินบาทในประเทศลดลงตาม จึงเปรียบเสมือนกับการลดอุปทานหรือปริมาณของเงินบาททำให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะแข็งขึ้น
– ธนาคารกลางเห็นว่าเงินฝืดอยู่ในระดับสูงเกินไป จึงกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ลดระดับอัตราดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น เปรียบเสมือนการเพิ่มอุปทานของเงินบาท ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลง

ปัจจัยอื่นๆ

นอกเหนือจากปัจจัยข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อค่าเงินบาท เช่น ความไม่มั่นคงทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และ เสถียรภาพทางการเงินของประเทศ เป็นต้น

อ่านบทความ "เงินบาทผันผวน (แข็งค่าหรืออ่อนค่า) สำคัญอย่างไร"

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!
Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1732179748
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => 30b2c257f7f73839b4e15b17c89bd41a
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/Exchange-rate-factors.html
)
		
Array
(
    [content] => Exchange-rate-factors
)
		
Array
(
)